ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนธันวาคม 2564   

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนธันวาคม 2564   
Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนธันวาคม 2564              

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

 

              ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนธันวาคม เปรียบเทียบ

เดือนพฤศจิกายน และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

 

รายการข้อคำถาม พฤศจิกายน ธันวาคม คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 25.20 45.40 29.40 25.80 46.70 27.50 30.40 48.90 20.70
2. รายได้จากการทำงาน 24.80 45.10 30.10 25.30 45.60 29.10 33.50 49.40 17.10
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 25.60 47.80 26.60 25.90 46.30 27.80 37.80 47.50 14.70
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 34.30 48.50 17.20 35.90 46.70 17.40 36.20 47.60 16.20
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 26.60 47.10 26.30 26.70 48.50 24.80 36.70 51.30 12.00
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 26.70 45.80 27.50 26.90 45.60 27.50 32.60 39.50 27.90
7. การออมเงิน 26.30 46.40 27.30 26.50 46.80 26.70 34.60 45.20 20.20
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 32.90 45.50 21.60 32.60 45.30 22.10 36.80 48.60 14.60
9. การลดลงของหนี้สิน 31.30 48.40 20.30 30.70 48.10 21.20 34.70 51.70 13.60
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 25.20 45.20 29.60 25.60 45.60 28.80 32.80 54.10 13.10
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 28.30 48.10 23.60 28.20 47.40 24.40 39.70 45.10 15.20
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 27.10 47.20 25.70 27.20 45.10  27.70 32.70 47.80 19.50
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 31.80 46.70 21.50 31.70 47.70 20.60 35.50 46.90 17.60
                       

 

 ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม 2564

รายการข้อคำถาม ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 42.10 42.40 42.70
2. รายได้จากการทำงาน 38.90 39.00 39.20
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 49.60 49.80 49.90
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 39.40 39.80 40.30
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 47.20 47.30 47.40
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 38.50 38.50 38.80
7. การออมเงิน 39.60 39.80 39.90
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 44.70 44.10 43.60
9. การลดลงของหนี้สิน 49.20 49.40 49.30
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 34.90 35.30 35.80
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 47.80 47.70 47.50
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 36.80 36.60 36.50
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 32.50 32.70 32.90
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม 40.20 41.60 42.20

                ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนธันวาคม 2564 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนธันวาคม (42.20) ปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน (41.60)  เดือนตุลาคม (40.20) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภค  รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) การออมเงิน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยปัจจัยบวกที่ส่งผล ได้แก่ สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ     โควิด -19 เดือนธันวาคมมีแนวโน้มที่ดีขึ้นกว่าเดือนพฤศจิกายน โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตลดลงเป็นอย่างมาก ทำให้ภาครัฐผ่อนคลายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดต่าง ๆ เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่กลับมาดำเนินการเป็นปกติ ส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน รวมถึงการท่องเที่ยวในช่วงปลายปี ซึ่งเป็นฤดูการท่องเที่ยวให้สามารถกลับมาคึกคักอีกครั้ง ทำให้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

                อย่างไรก็ตามท่ามกลางความเสี่ยงที่มีมากขึ้นจากการแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและประเทศไทยกลับมีความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดเกี่ยวกับอัตราการแพร่เชื้อและประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้อยู่ว่าสามารถป้องกันได้มากน้อยเพียงใด  ซึ่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจะขึ้นอยู่กับอัตราการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในประเทศ ความรุนแรงของโรค ประสิทธิภาพของวัคซีน และความพร้อมของระบบสาธารณสุขภายในประเทศ  ทั้งนี้ จากการตั้งข้อสังเกต พบว่า ในหลายประเทศเริ่มคุมเข้มมาตรการจำกัดการเดินทางและสุขอนามัยต่าง ๆ ที่มากขึ้น ตลอดจนบางประเทศมีการประกาศปิดประเทศ  ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอาจทำให้การฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวไทยได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน อันอาจนำไปสู่การประกาศล็อกดาวน์ประเทศอีกครั้ง หากภาครัฐไม่มีแนวทางการป้องกัน และมาตรการรองรับที่ถูกต้อง เหมาะสม และรวดเร็ว  

                ในช่วงไตรมาสที่ 3 ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มกลับมาประกอบอาชีพ และดำเนินธุรกิจได้ค่อนข้างเป็นปกติ จึงทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยและท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น ส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเริ่มดีขึ้น แต่หากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนอย่างหนัก จนมีผู้ติดเชื้อเป็นหลัก 2 หมื่นคนต่อวันหรือมากกว่านั้น จนสาธารณสุขล่มสลาย  ประเทศไทยย่อมต้องมีมาตรการล็อกดาวน์ประเทศอีกครั้ง ซึ่งเป็นการตอกย้ำความบอบซ้ำให้กับประชาชน และประเทศไทยก็จะเกิดวัฏจักรเช่นนี้ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  ดังนั้น ภาครัฐจึงควรมีแผนและมาตรการที่ดีในการรองรับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงประชาชนในประเทศควรร่วมมือกันในการตั้งการ์ดให้สูง เพื่อป้องกันการได้รับเชื้อ และการนำเชื้อไปแพร่สู่ผู้อื่น

จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น  แนวทางการแก้ไข และความคิดเห็นต่อมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมถึงข้อเสนอแนะต่าง ๆ มีดังนี้

  1. ประชาชนมีความกังวลต่อการแพร่ระบาดผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธ์โอมิครอน ที่ก้าวกระโดดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้แพร่ระบาดในหลายจังหวัดของประเทศไทย ทั้งนี้ ภาครัฐควรมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม รวมถึงกำหนดมาตรการทางสังคมเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างปลอดภัยของประชาชน ทั้งนี้ การตัดสินใจของภาครัฐในครั้งนี้ หากเกิดความผิดพลาด ย่อมเกิดความเสียหายต่อประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้น ภาครัฐควรตัดสินใจบนพื้นฐานที่ว่า “ยอมให้เกิดความเสียหายน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายที่มาก”
  2. ประชาชนมีความต้องการให้ภาครัฐช่วยสนับสนุนสินเชื่อของภาคธุรกิจในการกลับมาดำเนินธุรกิจหลังคลายล็อกดาวน์ รวมถึงสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการบริโภคของประชาชนทั่วไป เพื่อเพิ่มการใช้จ่ายครัวเรือนและลดภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น
  3. ประชาชนมีความกังวลในเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาล อันจะส่งผลต่อความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรคการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาล แนวร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน เช่น การลงพื้นที่พบปะประชาชนมากขึ้น เริ่มมีการเคลื่อนย้ายกลุ่มการเมือง เพื่อเตรียมการในการเลือกตั้งครั้งต่อไป  ทั้งนี้ ประชาชนต้องการให้ภาครัฐสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน โดยเฉพาะการจัดตั้งทีมเศรษฐกิจที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และมีความน่าเชื่อถือทั้งต่อคนในประเทศและต่างประเทศในการเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศหลังวิกฤตโควิด-19
  4. การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธ์โอมิครอน ทำให้มีการปิดประเทศชั่วคราว ซึ่งประชาชนมองว่า อาจจะปิดประเทศถึงครึ่งปี ส่งผลให้ธุรกิจการท่องเที่ยวที่เริ่มจะเปิดตัวได้ไม่นาน กลับต้องปิดกิจการอีกครั้ง ทั้งนี้ จึงเสนอให้ภาครัฐสนับสนุนการท่องเที่ยวแบบไทยเที่ยวไทยอย่างจริงจัง โดยการเพิ่มสิทธิและผลประโยชน์ให้มากขึ้น และให้สิทธิ์แก่ผู้ที่ใช้สิทธิ์ครบจำนวนแล้วในเฟส 3  รวมถึงขยายเวลาการใช้สิทธิ์จากเดิมซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนเมษายน เป็นสิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2565  เพื่อให้ประชาชนได้วางแผนการท่องเที่ยว ทั้งในช่วง High Season (มกราคม-เมษายน) และช่วง Low Season (พฤษภาคม-มิถุนายน) 2565  อันจะทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจ และสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจการท่องเที่ยว

                ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 30.40 และ 33.50 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 37.80 และ 36.20 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 36.70

32.70 และ 35.50 ตามลำดับ

                ปัจจัยที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ามีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันมากที่สุด คือ ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ27.40 รองลงมา คือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และมาตรการควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ 23.30 และ 20.50 ตามลำดับ ขณะที่ปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ารัฐบาลควรรีบดำเนินการและให้ความช่วยเหลือ อันดับแรก คือ การแก้ปัญหาค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น รองลงมา คือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ  มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน  และการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ  ตามลำดับ

 

 

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics