ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนเมษายน 2567
ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมีนาคม 2567 เปรียบเทียบเดือนกุมภาพันธ์ 2567 และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า
รายการ | มีนาคม 2567 | เมษายน 2567 | คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า | ||||||
เพิ่มขึ้น/ | คงที่/ | ลดลง/ | เพิ่มขึ้น/ | คงที่/ | ลดลง/ | เพิ่มขึ้น/ | คงที่/ | ลดลง/ | |
ดีขึ้น | เท่าเดิม | แย่ลง | ดีขึ้น | เท่าเดิม | แย่ลง | ดีขึ้น | เท่าเดิม | แย่ลง | |
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม | 29.20 | 47.30 | 23.50 | 29.40 | 47.20 | 23.40 | 36.10 | 52.00 | 11.90 |
2. รายได้จากการทำงาน | 27.40 | 46.70 | 25.90 | 27.50 | 46.90 | 25.60 | 35.80 | 52.10 | 12.10 |
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว | 31.20 | 47.30 | 21.50 | 32.10 | 47.40 | 20.50 | 30.60 | 52.40 | 17.00 |
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ | 29.50 | 45.10 | 25.40 | 29.90 | 46.20 | 23.90 | 32.20 | 47.50 | 20.30 |
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต | 27.40 | 47.60 | 25.00 | 27.60 | 47.50 | 24.90 | 34.50 | 51.30 | 14.20 |
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) | 28.40 | 47.20 | 24.40 | 28.60 | 47.50 | 23.90 | 36.80 | 49.20 | 14.00 |
7. การออมเงิน | 27.10 | 45.30 | 27.60 | 27.00 | 45.10 | 27.90 | 34.20 | 57.20 | 8.60 |
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ | 27.30 | 45.60 | 27.10 | 27.20 | 45.20 | 27.60 | 30.10 | 54.60 | 15.30 |
9. การลดลงของหนี้สิน | 27.40 | 47.20 | 25.40 | 27.30 | 46.40 | 26.30 | 30.40 | 48.90 | 20.70 |
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน | 26.00 | 46.20 | 27.80 | 26.20 | 45.10 | 28.70 | 30.30 | 48.60 | 21.10 |
11. การแก้ปัญหายาเสพติด | 24.60 | 45.20 | 30.20 | 24.30 | 45.50 | 30.20 | 30.80 | 46.40 | 22.80 |
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ | 26.10 | 46.20 | 27.70 | 26.10 | 46.20 | 27.70 | 34.30 | 45.60 | 20.10 |
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ | 28.70 | 48.00 | 23.30 | 28.30 | 47.40 | 24.30 | 35.60 | 45.80 | 18.60 |
ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายน 2567
รายการ | 2567 | ||
กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | |
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม | 50.20 | 49.80 | 50.50 |
2. รายได้จากการทำงาน | 44.50 | 44.10 | 44.60 |
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว | 60.40 | 60.10 | 60.70 |
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ | 51.00 | 50.30 | 52.10 |
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต | 51.30 | 50.70 | 51.80 |
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) | 43.70 | 43.40 | 44.00 |
7. การออมเงิน | 41.60 | 41.20 | 41.90 |
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ | 39.20 | 39.10 | 39.00 |
9. การลดลงของหนี้สิน | 48.80 | 47.90 | 47.40 |
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน | 44.10 | 44.00 | 43.60 |
11. การแก้ปัญหายาเสพติด | 38.70 | 38.50 | 38.20 |
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ | 35.50 | 35.10 | 35.10 |
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ | 41.50 | 40.80 | 41.60 |
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม | 46.80 | 45.70 | 47.50 |
ผศ.ดร.วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนเมษายน 2567 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนเมษายน (47.50) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม (45.57) และเดือนกุมภาพันธ์ (46.80) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ความสุขในการดำเนินชีวิต ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) และการออมเงิน โดยปัจจัยบวกที่สำคัญ คือ ในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลวันสงกรานต์ ตั้งแต่วันที่ 13-16 เมษายน ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย ประชาชนส่วนหนึ่งได้เดินทางกลับภูมิลำเนา และได้จับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าเพื่อนำมาเลี้ยงสังสรรค์จำนวนมาก ในขณะที่ประชาชนส่วนหนึ่งได้เดินทางท่องเที่ยว โดยสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเล และสถานที่ที่จัดเทศกาลสงกรานต์มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวจำนวนมาก รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในหลายพื้นที่ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมประเพณีสงกรานต์ ขบวนแห่ การสาดน้ำ และการจัดกิจกรรมสันทนาการเล่นน้ำ ประแป้ง ปาร์ตี้โฟม ซึ่งเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก อีกทั้งมาตรการวีซ่าฟรีให้แก่นักท่องเที่ยวต่างประเทศ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวยังประเทศไทยในช่วงดังกล่าว ทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของภาคใต้จำนวนมาก
ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโดยภาพรวมจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ส่วนใหญ่จะขยายตัวเฉพาะในเขตเมืองและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ในขณะที่พื้นที่ในเขตนอกเมืองและพื้นที่ห่างไกลจากแหล่งท่องเที่ยว พบว่า สภาพเศรษฐกิจยังตกต่ำเช่นเดิม ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจและประชาชนที่ทำอาชีพค้าขายจำนวนมากยังประสบกับปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย และมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนหนึ่งคาดหวังว่า โครงการดิจิทัลวอลเล็ตจะทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจจำนวนมาก และเม็ดเงินสามารถกระจายไปทั่วถึงในทุกอำเภอ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น และอาจทำให้หนี้สินของประชาชนลดลงได้
จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับความกังวล ความคาดหวัง และความต้องการของประชาชน มีดังนี้
- 1. ประชาชนต้องการความชัดเจนของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต โดยเฉพาะผู้ประกอบการและร้านค้าขนาดเล็กที่มีเงินทุนหมุนเวียนน้อย และมีรายได้ต่ำ ทำให้ไม่ได้อยู่ในระบบภาษี โดยประชาชนกลุ่มนี้ต้องการให้ภาครัฐออกข้อกำหนดในการเข้าร่วมโครงการดิจิทัลวอลเล็ตที่ง่าย และสามารถเบิกเงินที่ค้าขายได้มาหมุนเวียนได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
- 2. จากราคาน้ำมันที่มีการปรับราคาขึ้น ส่งผลต่อการขึ้นราคาสินค้าและบริการ ทำให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มแรงงานที่มีรายได้น้อยได้รับผลกระทบ และต้องการให้ภาครัฐทยอยปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้ถึง 400 บาทอย่างเร่งด่วน โดยให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอาชีพ เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
- สถานการณ์ภัยแล้งติดต่อกันหลายเดือนในหลายจังหวัดภาคใต้ เริ่มสร้างความเสียหายให้กับพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มีผลผลิตลดลงอย่างมาก ทำให้ประชาชนมีรายได้ลดลง อีกทั้ง แหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคลดลงอย่างมาก ประชาชนจึงต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือในการจัดหาแหล่งน้ำในระยะสั้น และช่วยหาแนวทางฟื้นฟู ปรับปรุง และจัดสร้างแหล่งกักเก็บน้ำในระยะยาว
- จากการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานบันเทิงครบวงจรและคาสิโนถูกกฎหมาย สรุปประเด็นได้ ดังนี้
ความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานบันเทิงครบวงจรและคาสิโนถูกกฎหมาย | |
กลุ่มที่เห็นด้วย (เหตุผล) | กลุ่มที่ไม่เห็นด้วย (เหตุผล) |
– ช่วยดึงดูดนักพนัน และนักลงทุนต่างชาติ
– มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น – สนับสนุนการท่องเที่ยวของประเทศ – ภาครัฐสามารถจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น – ภาครัฐมีเงินพัฒนาประเทศมากขึ้น – ลดปัญหาเจ้าหน้าที่รัฐรับส่วยการพนัน – เกิดการจ้างงานในประเทศมากขึ้น – สร้างความเจริญในจังหวัดและประเทศ – มีบริการเพิ่มขึ้น เช่น ห้างสรรพสินค้า ศูนย์สุขภาพ ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า ที่พักแรม สวนสนุก ร้านอาหาร ฯลฯ |
– คาสิโนเป็นอบายมุข ผิดศีลธรรม ตามหลักพุทธศาสนา
– ไม่ควรเอาเงินที่ได้จากการพนัน เพราะเป็นเงินบาป – ทำให้เกิดปัญหาสังคม เช่น หนี้สิน หย่า ฆ่าตัวตาย – ทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น – ทำให้เกิดการค้าประเวณี ค้ายาเสพติด ค้าอาวุธ – เป็นแหล่งฟอกเงินของเจ้าหน้าที่รัฐ นักการเมือง – ไม่เชื่อมั่นต่อภาครัฐในการบังคับใช้กฎหมาย – ทำให้คนไทยติดการพนันเพิ่มขึ้น – ไม่เชื่อว่าจะลดจำนวนบ่อนการพนันให้น้อยลงได้ – ทำให้เกิดธุรกิจสีเทาเพิ่มขึ้น – ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ขยะ มลพิษ |
ความกังวลและข้อเสนอแนะของประชาชนต่อการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร |
1. ควรศึกษาผลกระทบและแนวทางป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นก่อนการตัดสินใจดำเนินการ
2. ควรออกกฎหมายควบคุมเกี่ยวกับสถานบันเทิงครบวงจร โดยเฉพาะคาสิโนถูกกฎหมายอย่างเข้มงวด 3. ควรมีหน่วยงานที่กำกับดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น 4. การเปิดคาสิโนถูกกฎหมายจะต้องไม่สร้างปัญหาใหม่ให้เกิดในประเทศ 5. สถานที่ตั้งของ “สถานบันเทิงครบวงจร” ควรห่างไกลจากชุมชน สถานศึกษา และศาสนสถาน 6. ควรตรวจสอบนักลงทุนต่างชาติอย่างละเอียด เพื่อป้องกันนักลงทุนสีเทา เช่น ทุนจีนสีเทา 7. ควรกำหนดมาตรการป้องกันเจ้าหน้าที่รัฐ และนักการเมืองในการหาผลประโยชน์ 8. ควรจัดตั้งหน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานอิสระที่ไม่ขึ้นต่อภาครัฐ ในการตรวจสอบการดำเนินงาน 9. ควรเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชนในทุกภาคส่วนต่อการเปิดคาสิโนถูกกฎหมาย โดยเฉพาะประชาชนในจังหวัดที่จะเปิดสถานบันเทิงครบวงจร |
ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 36.10 และ 35.80 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 30.60 และ 32.20 ตามลำดับ ในขณะที่ความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 34.50, 34.30 และ 35.60 ตามลำดับ