แบ๊งค์ชาติสรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่4 ปี2561

Spread the love

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์  2562 ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ นายสันติ  รังสิยาภรณ์รัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สนง.ภาคใต้ ได้จัดแถลงข่าวแก่สื่อมวลชน โดยเปิดเผยว่า

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อน

โดยการท่องเที่ยว  ขยายตัวต่อเนื่องตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวเอเชียซึ่งไม่รวมจีนและนักท่องเที่ยวยุโรป ส่งผลดีต่อกาลังซื้อในพื้นที่ท่องเที่ยว อีกทั้งปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยของภาครัฐ ทำให้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม รายได้เกษตรกรที่หดตัวยังกระทบต่อกาลังซื้อผู้บริโภคฐานราก
สาหรับการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวจากภาคก่อสร้างและการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขณะที่การผลิตในอุตสาหกรรมยางแปรรูป ไม้ยางและผลิตภัณฑ์ อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป รวมถึงน้ามันปาล์มดิบยังคงหดตัว จากผลของปัจจัยลบภายนอกประเทศเป็นสาคัญ ส่งผลให้มูลค่าส่งออกสินค้าสาคัญลดลง
ขณะเดียวกันการลงทุนภาครัฐหดตัว ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อชะลอลงจากไตรมาสก่อนตามราคาพลังงาน สาหรับอัตราการว่างงานหลังปรับฤดูกาลทรงตัว


รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้มีดังนี้

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.1 จากจำนวนนักท่องเที่ยวมาเลเซียที่เร่งตัวขึ้น ประกอบกับการขยายตัวของนักท่องเที่ยวสัญชาติอื่น อาทิ อินเดีย ยุโรป และรัสเซีย ขณะที่นักท่องเที่ยวจีนยังคงหดตัวต่อเนื่องจากปัจจัยลบที่กระทบความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวจีน  อย่างไรก็ดี เริ่มทยอยฟื้นตัวในช่วงปลายไตรมาส หากพิจารณาตามพื้นที่ การท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่องในภาคใต้
ชายแดน ขณะที่ฝั่งอันดามันชะลอตัว และฝั่งอ่าวไทยหดตัว 

 เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4 ตามการขยายตัวของภาคก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์และพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างโดยเฉพาะหมวดที่อยู่อาศัยและหมวดโรงแรมที่ขยายตัว รวมถึงการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการจาหน่ายเครื่องจักรในประเทศหมวดวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้สาหรับงานก่อสร้างเชิงโครงสร้างเป็นสาคัญ สอดคล้องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีการลงทุน
โครงการใหม่ต่อเนื่อง


เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.6
ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายในหมวดบริการที่เกี่ยวเนื่องกับท่องเที่ยว นอกจากนี้ 
การใช้จ่ายในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัว ส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยของ ภาครัฐ อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายในหมวดยานยนต์หดตัว ทั้งนี้ รายได้เกษตรกรที่อยู่ในระดับต่ายังคงเป็นปัจจัยกดดันการบริโภคครัวเรือน


ผลผลิตเกษตรหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 ตามผลผลิตปาล์มน้ามันที่หดตัวสูงผล
จากฐานสูง เนื่องจากผลผลิตที่ออกมากผิดปกติในปลายปีก่อนจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ขณะที่ผลผลิต2
ยางพาราและกุ้งขาวขยายตัว ด้านราคาสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 16.3 โดยหดตัวในทุกสินค้าสาคัญ ราคา
ยางพาราลดลงเนื่องจากสต๊อกยางจีนอยู่ในระดับสูง ประกอบกับความต้องการใช้ยางในจีนชะลอลง
ขณะเดียวกันราคาปาล์มน้ามันและกุ้งขาวลดลงตามราคาตลาดโลก เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดจานวนมาก
ส่งผลให้รายได้เกษตรกรหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 17.3


มูลค่าการส่งออกลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.6 โดยลดลงในทุกหมวดสินค้าสาคัญ
ภาคใต้ ทั้งจากปริมาณและราคา ขณะเดียวกันการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ
4.1 ตามการผลิตยางพาราแปรรูปที่ลดลงเนื่องจากความกังวลจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ
ประกอบกับเศรษฐกิจจีนชะลอตัว ทาให้ความต้องการใช้ยางลดลง การผลิตไม้ยางและผลิตภัณฑ์ยังค งได้รับ
ผลกระทบจากมาตรการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในจีน อย่างไรก็ดี การผลิตถุงมือยางขยายตัวดีตามความต้องการ
จากตลาดสหรัฐฯ สาหรับการผลิตอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปลดลงต่อเนื่อง จากปัญหาวัตถุดิบตึงตัว
ทั้งหมึกและปลา ประกอบกับการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของสินค้ากุ้ง ทั้งนี้ การผลิตอาหารทะเล
กระป๋องขยายตัวตามความต้องการจากคู่ค้าที่มีต่อเนื่อง รวมถึงราคาวัตถุดิบทูน่าที่ลดลงมาก สาหรับการผลิต
น้ามันปาล์มดิบยังคงหดตัว

 


การใช้จ่ายภาครัฐหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4 ตามรายจ่ายลงทุนที่ลดลงร้อยละ
10.3 ในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างของกรมชลประทานและกรมทางหลวง และหมวดครุภัณฑ์ของสานักงาน
ตารวจแห่งชาติและการเบิกจ่ายของกลุ่มจังหวัด อย่างไรก็ดี รายจ่ายประจาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ตามการเบิกจ่าย
หมวดเงินอุดหนุนทั่วไปของมหาวิทยาลัยในกากับของรัฐที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการเบิกจ่ายในหมวดค่าใช้สอยของ
กรมการพัฒนาชุมชน และหมวดค่าวัสดุของสานักงานตารวจแห่งชาติและกรมการพัฒนาชุมชน


เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.76 ลดลงจากร้อยละ 1.51 ในไตรมาสก่อน
ตามการลดลงของราคาพลังงานเป็นสาคัญ สาหรับอัตราการว่างงานหลังปรับฤดูกาลอยู่ที่ร้อยละ 1.3 ใกล้เคียง
กับไตรมาสก่อน สอดคล้องกับการจ้างงานหลังปรับฤดูกาลที่ทรงตัว


ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 ปี 2561 เงินฝากทั้งระบบเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0 จากเงิน
ฝากประเภทออมทรัพย์และประจา ด้านสินเชื่อคงค้างทั้งระบบเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ตามการขยายตัวของสินเชื่อ
ธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากมีการรับโอนพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อจากบริษัทในเครือ

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics