เปิดเดินรถรางสายแรกแห่งสยาม   22 กันยายน พ.ศ. 2431

Spread the love

                     เปิดเดินรถรางสายแรกแห่งสยาม   22 กันยายน พ.ศ. 2431

     

     สยามเป็นประเทศแรกๆในเอเชียก่อนญี่ปุ่นและก่อนยุโรปบางประเทศ มีการเปิดเดินรถรางครั้งแรกเส้นทางหลักเมืองถึงบางคอแหลม เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2431 โดยใช้ม้าลากไปตามราง เจ้าของกิจการเป็นบริษัท รถรางของชาวเดนมาร์ก มีนายอัลเฟรด จอห์น ลอฟตัส, นายอังเดร ลู เปลสิ เดอ ริเชอลิเออ และนายอาเก เวสโตนโฮลซ์ ขอพระราชทานราชานุญาตรัชกาลที่ 5 จัดตั้งขึ้น แต่คนไม่นิยมใช้เนื่องจากค่าตั๋วแพง ใช้เวลาเดินทางนาน ต้องมีการพักให้ม้ากินหญ้าบ้าง หรือให้คนกินข้าวบ้าง

         แรกๆเปิดให้ทดลองนั่งฟรี เมื่อดำเนินกิจการได้พักหนึ่งก็ประสบภาวะขาดทุน ผู้โดยสารไม่นิยมใช้จนต้องโอนกิจการให้ บริษัท บางกอกแทรมเวย์ คอมปะนี ลิมิเต็ด บริษัทสัญชาติอังกฤษเข้ามาปรับปรุงกิจการรถรางให้สะดวกขึ้นเล็กน้อยแต่ยังใช้ม้าลากอยู่เช่นเดิม ดำเนินการอยู่ได้ไม่นานก็ขาดทุน เลยต้องโอนกิจการรถรางไปให้บริษัทของชาติเดนมาร์กอีกเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2435

เปิดเดินรถรางสายแรกแห่งสยาม   22 กันยายน พ.ศ. 2431
.
           ต่อมาได้มีการปรับปรุงรถรางใหม่   เปลี่ยนจากการใช้ม้าลากมาใช้กำลังกระแสไฟฟ้าแทน   โดยตกลงเช่ากระแสไฟฟ้าจากบริษัท อิเลคทริค ซิตี้ คอมปะนี ลิมิเต็ด   เมื่อวางสายไฟฟ้าและปรับปรุงระบบการเดินรถเสร็จเรียบร้อยแล้ว  รถรางไฟฟ้าจึงทำพิธีเปิดเดินขบวนเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2437 ถือได้ว่าการใช้กำลังไฟฟ้าในกิจการรถรางนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้กำลังไฟฟ้าในการเดินทาง เพราะแม้แต่ประเทศอังกฤษซึ่งเป็นประเทศที่จัดระบบการเดินรถรางที่เจริญก้าวหน้าที่สุดของโลก ก็เพิ่งเริ่มงานรถรางเมื่อปี พ.ศ. 2464 หลังจากที่ประเทศไทยมีรถรางไฟฟ้าใช้แล้ว สมัยนั้นมีรถรางถึง 7 สาย ได้แก่ สายบางคอแหลม, สามเสน, ดุสิต, บางซื่อ, หัวลำโพง, สีลม, ปทุวัน รางมีลักษณะเป็นรางเดี่ยว ทุก 500 เมตรจึงต้องมีรางสับหลีกให้รถสวนกัน

เปิดเดินรถรางสายแรกแห่งสยาม   22 กันยายน พ.ศ. 2431

        รถรางไฟฟ้าของบริษัทชาติเดนมาร์กดำเนินกิจการมาถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2443 ก็โอนกิจการเข้าไปรวมเป็นบริษัทเดียวกับบริษัท สยาม อิเลคทริค ซิตี้ คอมปะนี ลิมิเต็ด ซึ่งผลิตไฟฟ้าทำให้กิจการของบริษัทมั่นคงขึ้น

     

         ต่อมา พ.ศ. 2448 มีผู้ตั้งบริษัทรถรางขึ้นอีกบริษัทหนึ่ง คือ บริษัท รถรางไทย โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้เดินรถรางในกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จไปงานพระราชพิธีฝังนอตรางอันสุดท้าย  เพื่อเป็นการแสดงว่าการก่อสร้างรางสำเร็จเรียบร้อย  เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๘  และได้เสด็จประทับรถรางพิเศษซึ่งได้จัดเป็นรถพระที่นั่ง รถรางที่เปิดเดินสายใหม่ คือ รถรางสายรอบเมือง หรือที่เรียกว่า “สายดุสิต” ตัวรถทาด้วยสีแดง จึงเรียกว่า “รถรางสายแดง” ส่วนรถของบริษัทเดิมทาสีเหลืองจึงเรียกว่า “รถรางสายเหลือง” กิจการของบริษัทรถรางได้ดำเนินต่อมา จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2451 ก็ได้โอนกิจการไปรวมกับบริษัทรถรางฝรั่ง สายเจริญกรุงและสายสามเสน เปลี่ยนนามใหม่เป็นบริษัทไฟฟ้าสยาม จำกัด


     

        กิจการรถรางเกิดความเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2470 ไปสู่มือ บริษัท ไฟฟ้าไทย คอปอเรชั่น จำกัด ซึ่งดำเนินกิจการทั้งการรถรางและการจำหน่ายกระแสไฟฟ้า  เมื่อดำเนินกินการมาถึงวันที่ 1 มกราคม ปี พ.ศ. 2493   ก็สิ้นสุดสัมปทาน กิจการรถรางถูกโอนกิจการมาเป็นของรัฐบาล แต่ในที่สุดแล้วกิจการรถรางในมือรัฐบาลก็ไปไม่รอด ด้วยข้ออ้างมีรถยนต์ประจำทาง รถยนต์ส่วนตัว ทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น จึงได้เลิกกิจการเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2511

Cr 50+

Posted by Onnie 🦋

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics