วันผู้ลี้ภัยโลก (World Refugee Day)

วันผู้ลี้ภัยโลก (World Refugee Day)
Spread the love

 

วันผู้ลี้ภัยโลก (World Refugee Day) ตรงกับวันที่ 20 มิถุนายนของทุกปี โดยวันนี้เริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2544 โดยมีสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (The United Nations High Commissioner for Refugees: UNHCR) เป็นผู้รับผิดชอบ

วันผู้ลี้ภัยโลก (World Refugee Day)

ก่อนหน้าที่จะเริ่มมีวันผู้ลี้ภัยโลกนี้ แต่ละประเทศหรือระดับภูมิภาคจะมีวันผู้ลี้ภัยโลกของตนเอง ที่รู้จักกันกว้างขวางมากที่สุดก็คงเป็น Africa Refugee Day ซึ่งตรงกับวันที่ 20 มิถุนายน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีน้ำหนึ่งใจเดียวกันของทวีปแอฟริกา ที่มีจำนวนประชากรผู้ลี้ภัยอยู่มากที่สุด

โดย Africa Refugee Day จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี จนที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้ยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดคุยกันในสภา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2542 (ค.ศ.2000) (resolution 55/76) ที่ประชุมเห็นว่าในปี 2001 เป็นวาระครบรอบ 50 ปีของอนุสัญญาเกี่ยวกับสถานะของผู้ลี้ภัย ซึ่งประกาศใช้ในปี 2494 (1951)

ทาง Organization of African Unity ก็เห็นด้วยที่จะให้มีวันผู้ลี้ภัยโลกขึ้นให้พ้องกับวันผู้ลี้ภัยของแอฟริกา ในที่สุดที่ประชุมสมัชชาแห่งสหประชาชาติก็ประกาศให้วันที่ 20 มิถุนายน ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นไป เป็นวันผู้ลี้ภัยโลก (World Refugee Day)

วันผู้ลี้ภัยโลก (World Refugee Day)

ในทุกปี วันผู้ลี้ภัยโลก จะมีการจัดกิจกรรมหลากหลายเพื่อเฉลิมฉลองให้กับพลังใจที่ยิ่งใหญ่ของผู้ลี้ภัยทุกประเทศในโลก ซึ่งในแต่ละปีจะมีรูปแบบการจัดงานแตกต่างกันไป และจะจัดให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกในแต่ละปีด้วย

นายอันโตนิโอ กูเตอรเส (Antonio Guterres) เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวถึงวันผู้ลี้ภัยโลกปี 2564 โดยเน้นย้ำถึงพลังแห่งการรวมตัว ประสบการณ์ร่วมกันของ COVID-19 แสดงให้เราเห็นว่าเราจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อเรายืนหยัดร่วมกัน เราทุกคนต้องทำส่วนของเราเพื่อรักษาให้กันและกันปลอดภัย และถึงแม้จะมีความท้าทาย ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นก็ได้ก้าวขึ้นมา

เมื่อได้รับโอกาส ผู้ลี้ภัยจะยังคงมีส่วนร่วมในโลกที่เข้มแข็ง ปลอดภัย และมีชีวิตชีวามากขึ้น ดังนั้น UNHCR ซึ่งเป็นการรณรงค์วันผู้ลี้ภัยโลกของหน่วยงานผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติในปีนี้ จึงเรียกร้องให้มีการรวมผู้ลี้ภัยในระบบสุขภาพ โรงเรียน และการกีฬามากขึ้น การทำงานร่วมกันเท่านั้นที่เราจะสามารถฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่ได้ เรารักษา เรียนรู้ และเปล่งประกายร่วมกัน

วันผู้ลี้ภัยโลก (World Refugee Day)

ประเทศไทย : สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (The United Nations High Commissioner for Refugees: UNHCR) ได้เริ่มทำงานในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2518 และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเป็นครั้งที่ 2 ในปี 2524 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการทำงานด้านมนุษยธรรมในช่วงวิกฤติผู้ลี้ภัยโดยทางเรือจากสงครามอินโดจีน ที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยและทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปัจจุบัน ประเทศไทยให้ที่พักพิงที่ปลอดภัยแก่ผู้ลี้ภัยจากประเทศเมียนมา 91,755 คน (อยู่ระหว่างการตรวจสอบ ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2564) ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวซึ่งดำเนินการโดยรัฐบาลไทยจำนวน 9 แห่งบริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา

นอกจากนี้ยังมีผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมืองประมาณ 5,000 คนจาก 40 ประเทศทั่วโลก และบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติที่ได้ขึ้นทะเบียนกับรัฐบาลไทยอีกราว 475,000 คน

นับตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2559 ผู้ลี้ภัยกว่า 1,000 คน ในค่ายที่ให้การพักพิงชั่วคราวตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา เดินทางกลับมาตุภูมิผ่านโครงการเดินทางกลับมาตุภูมิโดยสมัครใจนำโดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลเมียนมา ด้วยการสนับสนุนของ UNHCR และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

แต่อย่างไรก็ตามผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการเดินทางกลับมาตุภูมิ และ UNHCR ยังคงทำงานร่วมกับรัฐบาลทั้งสองประเทศรวมถึงชุมชนผู้ลี้ภัยและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างใกล้ชิด เพื่อหาทางออกที่ยั่งยืนและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพื่อยุติภาวะการลี้ภัยที่ยาวนานของผู้ลี้ภัยในประเทศไทย

ภาพ : ข่าว : Internet : WWW.Facebook.com/เกษม ลิมะพันธุ์ : สมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics