ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ เดือนกุมภาพันธ์ 2563

Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกุมภาพันธ์ 2563           

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

              ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือน กุมภาพันธ์ เปรียบเทียบเดือนมกราคม และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

 

รายการข้อคำถาม มกราคม กุมภาพันธ์ คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 24.60 49.30 26.10 24.10 44.70 31.20 34.70 51.70 13.60
2. รายได้จากการทำงาน 25.40 46.50 28.10 24.50 45.80 29.70 32.80 54.10 13.10
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 37.10 42.60 20.30 36.70 44.40 18.90 39.70 45.10 15.20
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 26.80 44.60 28.60 24.40 42.10 33.50 28.80 57.20 14.00
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 29.40 49.30 21.30 29.10 47.20 23.70 24.20 53.10 22.70
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 26.90 47.20 25.90 26.30 45.80 27.90 28.40 60.30 11.30
7. การออมเงิน 28.40 46.60 25.00 27.70 48.20 24.10 37.40 45.20 17.40
8. ค่าครองชีพ 28.70 45.20 26.10 29.50 44.60 25.90 36.10 52.00 11.90
9. ภาระหนี้สิน 28.40 46.20 25.40 28.90 48.60 22.50 36.20 47.60 16.20
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 24.50 48.40 27.10 22.70 45.80 31.50 36.70 51.30 12.00
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 25.70 47.50 26.80 26.10 48.20 25.70 22.70 51.20 26.10
12. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 24.20 45.90 29.90 24.10 44.60 31.30 34.60 45.20 20.20
13. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 26.10 48.80 25.10 24.70 46.20 29.10 30.40 48.90 20.70
                       

  

     ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือน ธันวาคม 2562  มกราคม และกุมภาพันธ์ 2563

รายการข้อคำถาม ธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 47.20 46.40 44.30
2. รายได้จากการทำงาน 41.30 42.40 42.10
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 46.60 48.20 47.50
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 44.30 43.40 40.70
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 47.10 48.30 47.60
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 42.10 42.80 41.50
7. การออมเงิน 44.80 44.10 43.60
8. ค่าครองชีพ 35.50 37.20 38.70
9. ภาระหนี้สิน 34.70 35.10 37.80
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 40.20 38.60 36.10
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 48.30 47.90 49.20
12. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 40.20 39.50 38.80
13. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 35.10 36.40 35.10
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม 45.80 44.20 43.40

 

                ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมปรับตัวลดลง โดยดัชนีที่ปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคมได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ความสุขในการดำเนินชีวิต ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) การออมเงิน การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยปัจจัยลบเกิดจากหลายปัจจัย อาทิ ความขัดแย้งทางการค้าระว่างสหรัฐฯ และจีน  ค่าเงินบาทผันผวน  ภัยแล้ง แต่ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสภาพคล่องของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน คือ ความวิตกกังวลของเชื้อไวรัสโควิค-19 ในประเทศไทย ที่พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ทำให้เกิดความกังวลว่าจะมีผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนระมัดระวังตนเอง หลีกเลี่ยงการไปในพื้นที่ผู้คนพลุกพล่าน เช่น แหล่งท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า  นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติ อาทิ จีน มาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่กำลังจะเดินทางมาท่องเที่ยวในภาคใต้ ได้ยกเลิกการเดินทางแบบไม่มีกำหนด  ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงกว่า 50%  ส่งผลให้การค้าขายในภาคใต้ซบเซาอย่างหนัก ผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก อาทิ โรงแรม รีสอร์ท บริษัทนำเที่ยว  มัคคุเทศก์ โลจิสติกส์พาหนะโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว ธุรกิจบันเทิง ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร  ร้านขายของที่ระลึก สินค้าโอท็อป และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ อีกมากมายที่พึ่งพิงการท่องเที่ยว  อีกทั้งผลกระทบดังกล่าวยังส่งผลต่อประชาชนรากหญ้าที่หาเช้ากินค่ำจำนวนมาก ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนับเป็นปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้น โดยไม่มีใครคาดการณ์ไว้ก่อน ซึ่งในขณะนี้นับเป็นวิกฤตอย่างมากกับประชาชนส่วนหนึ่งในภาคใต้ และจะวิกฤตหนักมากกว่านี้ หากภาครัฐไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้  ทั้งนี้ภาครัฐควรบอกกับประชาชนถึงวิธีการป้องกันโรคที่ถูกต้อง อีกทั้งไม่ควรกระจายข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จนทำให้ประชาชนตื่นตระหนกและเกิดความหวาดกลัวจนเกินไป  แต่ควรสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตโดยปกติสุข

                ทั้งนี้ ธุรกิจในภาคใต้หลายภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดไวรัสโควิค-19 ส่งผลให้ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ทำให้ไม่มีเงินจ่ายค่าจ้างแก่พนักงาน จึงวอนขอให้ภาครัฐช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โดยออกมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ อาทิ การให้กู้ยืมเงินแบบไม่มีดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ยต่ำ การผ่อนผันการชำระหนี้  การร่วมมือระหว่างภาครัฐและผู้ประกอบการท่องเที่ยวในการจัดรายการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว  การจัดโปรโมชั่นการท่องเที่ยวในวันธรรมดา ส่งเสริมให้คนไทยเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น นโยบายลดหย่อนภาษี เพื่อให้คนไทยออกมาท่องเที่ยวและใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจ  อีกทั้ง การช่วยเหลือลูกจ้าง และพนักงานของธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงผู้ค้าขาย หาบเร่ แผงลอย  เป็นต้น

ขณะที่ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 34.70 และ 32.80 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 39.70 และ 28.80 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 24.20 , 34.60 และ 30.40 ตามลำดับ

                 ปัจจัยที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ามีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันมากที่สุด คือ ค่าครองชีพ คิดเป็นร้อยละ 28.40 รองลงมา คือ ราคาสินค้าสูง และราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ คิดเป็นร้อยละ 25.30 และ 17.40 ตามลำดับ ขณะที่ปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ารัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือเป็นอันดับแรก คือ ค่าครองชีพ รองลงมา คือ ราคาสินค้าสูง ตามลำดับ

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics