แถลงข่าวอุปสมบทหมู่

Spread the love

มรภ.สงขลา ผนึกภาคีเครือข่ายจัดเทศกาลของดีเกาะยอ 18-22 พ.ค. 67

Spread the love

มรภ.สงขลา ผนึกภาคีเครือข่ายจัดเทศกาลของดีเกาะยอ 18-22 พ.ค. 67  นำองค์ความรู้ทางวิชาการต่อยอดพัฒนาท้องถิ่น

มรภ.สงขลา จับมือ จ.สงขลา องค์กรท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย จัดงานเทศกาลของดีเกาะยอ ระหว่างวันที่ 18-22 พฤษภาคม 2567 ณ วัดโคกเปี้ยว นำองค์ความรู้ทางวิชาการร่วมพัฒนาท้องถิ่น พร้อมแถลงข่าวเตรียมความพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว

วันที่ 14 พฤษภาคม 2567 รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ร่วมแถลงข่าวโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะยอ (เทศกาลของดีเกาะยอ) ประจำปี 2567 ณ ลานประติมากรรม รูปปั้นมโนราห์ สถาบันทักษิณคดีศึกษา ต.เกาะยอ อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา โดยได้แถลงข่าวร่วมกับ นายเศวต เพชรนุ้ย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายไพเจน มากสุวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ร.ต.ท.โกวิทย์ รัชนียะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ (อบต.เกาะยอ) นายจำแลง มนต์ประสาธน์ รองประธานสภาวัฒนธรรมตำบลเกาะยอ อาจารย์เทพรัตน์ จันทพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา และ นายถาวร เสนเนียม ตัวแทนผู้ประกอบการในพื้นที่เกาะยอ

สำหรับงานเทศกาลของดีเกาะยอ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 18-22 พฤษภาคม 2567 ณ วัดโคกเปี้ยว หมู่ที่ 5 ต.เกาะยอ ภายในงานมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย อาทิ การจัดนิทรรศการของดีเกาะยอในมิติต่าง ๆ การออกร้านจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน การแสดงทางวัฒนธรรม การประกวดสาวงามเกาะยอ การแข่งขันทำสำรับเกาะยอ การอาบมนต์ศักดิ์สิทธิ์จากบ่องอ พิธีสมโภชผ้าห่มเจดีย์เขากุฏ การรำถวายสมเด็จเจ้าเกาะ แสดงดนตรี แสง สี เสียงจากนักร้องชื่อดัง และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย

รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี มรภ.สงขลา กล่าวว่า ต.เกาะยอ เป็นพื้นที่บริการวิชาการภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมีนโยบายให้แต่ละคณะลงพื้นที่ที่จะลงไปพัฒนาชุมชนต่าง ๆ โดยได้มีการน้อมนำหลักการทรงงาน เข้าใจ เข้าถึง และ พัฒนา กล่าวคือ ต้องลงไปสำรวจชุมชนและสอบถามความคิดเห็นของชุมชนว่าต้องการให้พัฒนาชุมชนของตนเองอย่างไร ซึ่งคณาจารย์ในคณะต่าง ๆ ของ มรภ.สงขลา ได้ร่วมมือกันนำองค์ความรู้ทางวิชาการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตามศักยภาพของคณะ

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา มรภ.สงขลา มีการทำวิจัยในพื้นที่ชุมชนเกาะยออย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีแล้ว โดยล่าสุดทางมหาวิทยาลัยได้รื้อฟื้นประเพณีลากพระสรงน้ำ ซึ่งจัดไปเมื่อวันที่ 10-12 เมษายน ที่ผ่านมา เป็นมติของประชาคมที่เราลงมาร่วมมือกันรื้อฟื้นประเพณีเก่าแก่นี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าประเพณีลากพระสรงน้ำจะต่อยอดเป็นอัตลักษณ์ของชาวชุมชนเกาะยอต่อไป ซึ่งในการจัดงานของดีเกาะยอในปีนี้ มรภ.สงขลา มีส่วนร่วมในหลายภาคส่วนด้วยกัน ทั้งในส่วนของการแสดงและการประกวดสำรับเกาะยอที่ มรภ.สงขลา ลงมาช่วยในการขับเคลื่อน มีทั้งของหวาน ของคาว และเครื่องดื่ม เชื่อว่าน่าจะมีเมนูแปลกใหม่ที่หลากหลาย เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและเพิ่มมูลค่าให้กับของดีของชาวเกาะยอ

ด้าน ร.ต.ท. โกวิทย์  รัชนียะ นายก อบต.เกาะยอ กล่าวว่า การจัดโครงการในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่มาร่วมคิดออกแบบกิจกรรม เพื่อให้งานออกมาอย่างดีที่สุด วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการร้านค้าและประชาชนในตำบลเกาะยอ ตลอดจนเพื่อให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้มีโอกาสรู้จักแหล่งท่องเที่ยวและสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนของ ต.เกาะยอ และเพื่อบูรณาการการทำงานด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

การจัดงานในครั้งนี้ตนและชาวเกาะยอทุกคนมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้ผู้ที่มาร่วมงานได้รู้จักเกาะยอมากขึ้น เราต้องการนำเสนอความเป็นเกาะยอในทุกมิติให้ได้เห็นว่าชาวเกาะยอมีศักยภาพและมีความพร้อมในการจะเป็นเจ้าบ้านที่ดีเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้สมกับที่ได้รับรางวัลการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอาเซียน ภายใต้แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ประจำปี 2567 อยากเชิญชวนมาเที่ยวงานเทศกาลของดีเกาะยอ เพราะเกาะยอรอให้ท่านหลงรัก

Facebook Comments Box


Spread the love

มรภ.สงขลา ส่งอาจารย์ร่วมบ่มเพาะนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) รุ่นที่ 4

มรภ.สงขลา ส่งอาจารย์ร่วมบ่มเพาะนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) รุ่นที่ 4
Spread the love

มรภ.สงขลา ส่งอาจารย์ร่วมบ่มเพาะนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) รุ่นที่ 4

            สถาบันวิจัยฯ มรภ.สงขลา คัดเลือกตัวแทนอาจารย์ส่งเข้าร่วมฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) รุ่นที่ 4 จัดโดย วช. ร่วมกับ ม.วลัยลักษณ์ เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์วิจัยและนวัตกรรมอย่างมีระบบ

มรภ.สงขลา ส่งอาจารย์ร่วมบ่มเพาะนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) รุ่นที่ 4

           มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้เปิดรับสมัครและคัดเลือกนักวิจัยเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) รุ่นที่ 4 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 29 เมษายน- 3 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องภัทรธรรมาภรณ์ ชั้น 9 อาคาร B มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช โดยมี อาจารย์เพียรผจง อินต๊ะรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาจารย์วรกร ภูมิวิเศษ อาจารย์อริสา ถาวรประเสริฐ อาจารย์พิมใจ พรหมสุวรรณ อาจารย์เปรมภาว์ ด้วงทอง อาจารย์ผกามาศ ไพโรจน์ จากคณะวิทยาการจัดการ และ อาจารย์นรารัตน์ ทองศรีนุ่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมการอบรม

           การอบรมดังกล่าวจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย ให้มีความรู้และประสบการณ์ในการทำวิจัยอย่างมีระบบ ถือเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการวิจัยและนวัตกรรมในมิติใหม่ที่มีการบูรณาการระหว่างสาขา และส่งเสริมให้นักวิจัยมีวิสัยทัศน์กว้างไกล การจัดฝึกอบรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนานักวิจัย รวมถึงเป็นการสร้างเครือข่ายนักวิจัยที่จะสามารถทำงานวิจัยร่วมกันได้ อันจะนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอโครงการที่มีลักษณะบูรณาการและนำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้ โดยมีผู้ผ่านการสมัครจำนวน 65 คน ผู้เข้าอบรมจะต้องผ่านหลักสูตรภาคทฤษฎี 19 ชั่วโมง ภาคปฏิบัติ 19 ชั่วโมง และกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2 ชั่วโมงตามที่ วช. กำหนด

            อาจารย์เปรมภาว์ ด้วงทอง คณะวิทยาการจัดการ มรภ.สงขลา หนึ่งในผู้เข้าอบรม กล่าวถึงความรู้สึกในการเข้าอบรมโครงการลูกไก่ว่า ถือเป็นโครงการที่เข้มข้นมาก ผู้เข้าอบรมต้องใช้พลังค่อนข้างมาก วิทยากรพร้อมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยโดยเน้นการหาแหล่งทุนสนับสนุนการทำวิจัย เพื่อให้ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ และช่วยเพิ่มโอกาสในการหาแหล่งเงินทุนวิจัย คิดว่าเป็นโครงการที่เหมาะสำหรับนักวิจัยเชิงพื้นที่ เน้นช่วยแก้ปัญหาชุมชนซึ่งสอดคล้องกับ มรภ.สงขลา แต่เนื่องจากหลักสูตรค่อนข้างใช้เวลานาน และมุ่งเน้นงานที่ตอบโจทย์ของ วช. ดังนั้น จึงอาจไม่เหมาะกับนักวิจัยที่ใหม่มากๆ หรือวิจัยเชิงทฤษฎี หากต้องการมาเพิ่มความรู้ในงานวิจัยอาจไม่ตรง แต่หากต้องการมาหาวิธีหาแหล่งทุนถือว่าเหมาะสมมาก

Facebook Comments Box


Spread the love

การแถลงข่าวการจับกุมเรือประมงเวียดนามของผู้บังคับบัญชา

การแถลงข่าวการจับกุมเรือประมงเวียดนามของผู้บังคับบัญชา
Spread the love

การแถลงข่าวการจับกุมเรือประมงเวียดนามของผู้บังคับบัญชา ในอาทิตย์ที่ 12 พ.ค. 67

                  ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2567  ทัพเรือภาคที่ 6 ได้รับแจ้งเบาะแสจากแหล่งข่าวในพื้นที่ว่ามีกลุ่มเรือประมงต่างชาติ เข้ามาทำการประมงผิดกฎหมายในน่านน้ำไทย บริเวณแบริ่ง 132 ระยะ 43.1 ไมล์จากปากร่องน้ำสงขลา ซึ่งอยู่ในเขตน่านน้ำภายใน

                   พลเรือโท พิจิตต ศรีรุ่งเรือง ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2ได้สั่งการให้ เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง หมายเลข 236 ทำการลาดตระเวนตรวจสอบ โดยร่วมกับศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค2 และ กองกำกับการ กองบังคับการตำรวจน้ำ จัดกำลังประกอบด้วย เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง หมายเลข 236 ชุดปฏิบัติการพิเศษ จำนวน 4 นาย พร้อมด้วยเรือยางและอุปกรณ์ จำนวน 1 ลำ เรือตำรวจน้ำหมายเลข 352 และเรือ RHIB โดยระหว่างเวลา 13.30 – 19.00 ได้ตรวจพบกลุ่มเรือประมงสัญชาติเวียดนาม จำนวน 5 ลำ ผู้ควบคุมพร้อมลูกเรือรวม 25 คน บริเวณบริเวณแบริ่ง 143 ระยะ 40 ไมล์ จากปากร่องน้ำสงขลา จึงได้ควบคุมเรือพร้อมลูกเรือทั้งหมด มายังท่าเทียบเรือฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2 เพื่อสอบสวนเพิ่มเติม และส่งดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

                 การดำเนินคดีกับเรือประมงสัญชาติเวียดนามในครั้งนี้ เนื่องจากเป็นการจับกุมในพื้นที่เขตน่านน้ำ ภายในจึงได้ตั้งข้อกล่าวหาผู้กระทำความผิดไว้ 3 ข้อหา ดังนี้
1. ใช้เรือประมงไร้สัญชาติทำการประมงในเขตการประมงไทย (ตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 ประกอบ มาตรา 123)
2. ร่วมกันทำการประมงพาณิชย์โดยไม่มีใบรับอนุญาตทำการประมง (ตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 36 ประกอบ มาตรา 129)
3. ทำการประมงในเขตการประมงไทยโดยทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมเรือโดยไม่ได้รับอนุญาต (ตาม พ.ร.ก.ว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย พ.ศ.2482 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 11 วรรคหนึ่ง) 

              สำหรับการจับกุมเรือประมงต่างชาติในพื้นที่ทัพเรือภาคที่ 2 ในปีงบประมาณ2567 ตั้งแต่ตุลาคม 2566 จนถึงปัจจุบัน มีการจับกุมรวมในครั้งนี้แล้วจำนวน 7 ครั้ง จับกุมเรือทั้งหมด 12 ลำ  ผู้ควบคุมเรือพร้อมลูกเรือรวม จำนวน 61 คน

             ทั้งนี้การปฏิบัติดังกล่าว เป็นไปตามนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือ ปี 2567 โดยร่วมกับ ศรชล.ภาค2 ในการประสานการปฏิบัติ ตั้งแต่ด้านการข่าว และจัดกำลังทางเรือ และอากาศนาวีลาดตระเวน เฝ้าตรจ และคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นย้ำการรุกล้ำน่านน้ำไทยของเรือประมงต่างชาติ เพื่อเข้ามาทำการประมงโดยผิดกฎหมาย จนประสบความสำเร็จในการจับกุมในครั้งนี้

               ท้ายนี้ ทัพเรือภาคที่ 2 ขอขอบคุณพี่น้องขาวประมง ในความร่วมมือที่ได้แจ้งเบาะแสของเรือที่กระทำความผิด และขอให้ความมั่นใจกับพี่น้องประชาชนและชาวประมงไทยว่า “ในพื้นที่รับผิดชอบของทัพเรือภาคที่ 2 ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 113,275 ตารางกิโลเมตร นั้น เราจะปกป้อง และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างเต็มความสามารถ โดยมิยอมให้เรือประมงต่างชาติรุกล้ำเข้ามาแย่งชิงทรัพยากรใน การทำการประมงเป็นอันขาด ทั้งนี้เพื่อให้ทรัพยากรของประเทศไทย คงอยู่กับลูกหลานของคนไทยตลอดไป

CR/23

Facebook Comments Box


Spread the love

กอ.รมน.ภาค 4 สน. ขอความร่วมมือ ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมการใช้อากาศยานที่ใช้การควบคุมการบินจากภายนอก (Drone : โดรน)

กอ.รมน.ภาค 4 สน. ขอความร่วมมือ ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมการใช้อากาศยานที่ใช้การควบคุมการบินจากภายนอก (Drone : โดรน)
Spread the love

📣 กอ.รมน.ภาค 4 สน. ขอความร่วมมือ ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมการใช้อากาศยานที่ใช้การควบคุมการบินจากภายนอก (Drone : โดรน)
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา
.
📍 ห้ามอากาศยานที่ใช้การควบคุมการบินจากภายนอก ทำการบินเข้าไปในบริเวณฐานปฏิบัติการ จุดตรวจ รวมทั้งที่ตั้งของหน่วยงานด้านความมั่นคง ฝ่ายปกครอง ตำรวจ และทหาร หรือห้ามการใช้อากาศยานในลักษณะใช้ติดตาม เฝ้าตรวจ สอดแนมการปฏิบัติงานของหน่วยงานด้านความมั่นคง โดยให้ยึดถือตามประกาศอย่างเคร่งครัด
.
📝 ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
📌 ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบุคคล และของรัฐ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
 
Facebook Comments Box


Spread the love

วันพืชมงคล : The Royal Ploughing Ceremony

Spread the love

วันพืชมงคล : The Royal Ploughing Ceremony

วันพืชมงคล ประจำปี 2567 ตรงกับวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม (ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 6) เป็นวันสำคัญที่กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย มีการจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธีโบราณ สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

ประวัติวันพืชมงคล

วันพืชมงคล หมายถึง วันที่กำหนดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีเก่ามาแต่โบราณที่เสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรของชาติ เพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย โดยมีการจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งพระราชพิธีนี้จะกระทำที่ท้องสนามหลวง ประกอบด้วย 2 พระราชพิธีคือ พระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีพืชมงคล เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน เป็นต้น ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัย และให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงามดี

พิธีแรกนาขวัญ เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พิธีแรกนา เป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถนาเอง เป็นแต่เพียงเสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จไปเป็นองค์ประธาน แต่จะมอบอาญาสิทธิ์ให้โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจจากกษัตริย์ และจะทรงจำศีลเงียบ 3 วัน ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้ตลอดมาถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา

ต่อมา สมัยรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 1 ได้โปรดให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้ประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญแทนพระองค์ และมิได้ถือว่าเป็นพิธีหน้าพระที่นั่ง เว้นแต่เมื่อมีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตร สถานที่ประกอบพิธีในตอนแรก ๆ จึงไม่ตายตัว แล้วแต่จะทรงกำหนดให้ ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดมีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่าง ๆ ทุกพิธี ดังนั้น “พระราชพิธีพืชมงคล”จึงได้เริ่มมีขึ้นแต่บัดนั้นมา โดยได้จัดรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และมีชื่อเรียกรวมกันว่า “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” ส่วนพิธีกรรมนอกเหนือจากการทำให้เป็นตัวอย่าง ตามที่ทรงจำแนกไว้ 3 อย่าง 2 อย่างแรก ที่ว่า “อาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคลตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง” นั้น ทรงหมายถึง “พิธีพืชมงคล” อันเป็นพิธีสงฆ์ที่กระทำ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนอีกอย่างหนึ่งที่ว่า “บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง” นั้น ทรงหมายถึงพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญอันเป็นพิธีพราหมณ์ ดังนั้น จึงพอจะสรุปความมุ่งหมายอันเป็นมูลเหตุให้เกิดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นี้ได้ว่าพิธีแรกนามุ่งหมายที่จะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร เพื่อชักนำให้มีความมั่นใจในการทำนา อันเป็นอาชีพหลักที่สำคัญของคนไทยที่มีมาแต่ช้านานสืบมาจนปัจจุบันยังคงเป็นอยู่อย่างนั้น เพราะการเกษตรซึ่งมีการทำนาเป็นหลักนั้น เป็นสิ่งสำคัญแก่ชีวิตความเป็นอยู่และการเศรษฐกิจของประเทศทุกสมัย

ส่วนวันประกอบพิธีนั้น ต้องเป็นวันที่ดีที่สุดของแต่ละปี ประกอบด้วย ขึ้น แรม ฤกษ์ยาม ให้ได้วันอันเป็นอุดมฤกษ์ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ต้องอยู่ในระหว่างเดือน 6 เพราะเดือนนี้เริ่มจะเข้าฤดูฝน เป็นระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา จะได้เตรียมทำนา เมื่อโหรหลวงคำนวณได้วันอุดมมงคลพระฤกษ์ ที่จะประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแล้ว สำนักพระราชวังจะได้ลงไว้ในปฏิทินหลวง ที่พระราชทานในวันขึ้นปีใหม่ทุกปี และได้กำหนดไว้ว่าวันใดเป็นวันพืชมงคล วันใดเป็นวันจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแต่เดิมมาทำที่ทุ่งนาพญาไท เมื่อได้มีการฟื้นฟูพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นใหม่ จึงจัดให้มีขึ้นที่ท้องสนามหลวง ทั้งนี้ วันแรกนาขวัญเป็นวันสำคัญของชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติให้หยุดราชการ 1 วัน และมีประกาศให้ชักธงชาติตามระเบียบทางราชการ พระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีทำขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหาร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งข้าวที่นำเข้าพิธีพืชมงคลนั้นเป็นข้าวเปลือก มีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้มีเมล็ดพืชต่าง ๆ รวม 40 อย่าง แต่ละอย่างบรรจุถุงผ้าขาว นอกจากนี้ยังมีข้าวเปลือกที่หว่านในพิธีแรกนา บรรจุกระเช้าทองคู่หนึ่งและเงินคู่หนึ่ง เป็นข้าวพันธุ์ดีที่โปรดฯ ให้ปลูกในสวนจิตรลดา และพระราชทานมาเข้าพิธีพืชมงคล โดยพันธุ์ข้าวพระราชทานนี้จะใช้หว่านในพระราชพิธีแรกนาส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งที่เหลือทางการจะบรรจุซอง แล้วส่งไปแจกจ่ายแก่ชาวนาและประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ให้เป็นมิ่งขวัญและเป็นสิริมงคลแก่พืชผลที่จะเพาะปลูกในปีนี้

ทั้งนี้ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปัจจุบันนี้ได้ดำเนินตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี เว้นแต่บางอย่างได้มีการดัดแปลงให้เหมาะแก่กาลสมัย อาทิ พิธีของพราหมณ์ก็มีการตัดทอนให้เหลือน้อยลง พระยาแรกนาก็ให้ตกเป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนเทพีนั้นคัดเลือกจากข้าราชการสตรีโสดในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระดับ 3 – 4 คือขั้นโทขึ้นไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพระราชพิธีทุกปี มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทูตานุทูต และประชาชนได้มาชมการแรกนาเป็นจำนวนมาก สำหรับการประกอบพิธีนั้นก็จะถูกกำหนดขึ้นโดยโหรหลวง ในระหว่างพิธีอันสวยงามนี้ ก็จะมีการทำนาย ปริมาณน้ำฝน ในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง และแล้วพระยาแรกนาก็จะทำการเลือกผ้า 3 ผืน ที่มีความยาวต่างขนาดกัน ตามชอบใจ ผ้าทั้ง 3 ผืน นี้จะดูคล้ายกัน ถ้าพระยาแรกนาเลือกผืนที่ยาวที่สุดก็ทายว่า ปีนี้ปริมาณน้ำฝนจะมีน้อย ถ้าเลือกผืนที่สั้นที่สุดทายว่า ปีนี้ปริมาณน้ำฝนจะมาก และถ้าเลือกผืนที่มีความยาวปานกลาง ทายว่ามีปริมาณน้ำฝนพอประมาณ หลังจากสวมเสื้อผ้าเรียกว่า “ผ้านุ่ง” เรียบร้อยแล้ว พระยาแรกนาก็จะไถลงไปบนพื้นที่ท้องสนามหลวงด้วยพระนังคัลสีแดงและสีทอง ซึ่งลากโดยพระโคผู้สีขาว ตามขบวนด้วยเทพีทั้ง 4 ผู้ซึ่งหาบกระเช้าทองและกระเช้าเงินที่บรรจุด้วยเมล็ดข้าวเปลือก นอกจากนี้ก็มีคณะพราหมณ์เดินคู่ไปกับขบวนพร้อมทั้งสวดและเป่าสังข์ไปพร้อมกัน เมื่อเสร็จจากการไถแล้วพระโคก็จะได้รับการป้อนพระกระยาหารและเครื่องดื่ม 7 ชนิด คือ เมล็ดข้าว ถั่ว ข้าวโพด หญ้าเมล็ดงา น้ำ และเหล้า ไม่ว่าพระโคจะเลือกกินหรือดื่มสิ่งใด ก็ทายว่าปีนี้จะอุดมสมบูรณ์ด้วยสิ่งที่พระโคเลือกนั้น

เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ประชาชนจะพากันแย่งเก็บเมล็ดข้าวที่หว่านโดยพระยาแรกนา เพราะว่าเมล็ดข้าวนี้ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์และความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่มีไว้ในครอบครอง ชาวนาก็จะใช้เมล็ดข้าวนี้ผสมกับเมล็ดข้าวของตน เพื่อให้พืชผลในปีที่จะมาถึงนี้อุดมสมบูรณ์ สำหรับพระโคที่จะเข้าพระราชพิธีแรกนาขวัญ จะถูกเลี้ยงดูอย่างดีในทุ่งหญ้าที่จังหวัดราชบุรี พระโคที่ใช้ในพระราชพิธี จะต้องมีลักษณะที่ดีขาดเกินไม่ได้คือ หูดี ตาดี แข็งแรง เขาทั้งสองตั้งตรงสวยงาม พระโคแต่ละคู่ต้องสีเหมือนกัน ซึ่งจะมีการคัดเลือกพระโคเพียงสองสีเท่านั้น คือ สีขาวสำลีและสีน้ำตาลแดง และเจาะจงแต่เพศผู้เท่านั้นและต้องผ่านการ “ตอน” เสียก่อนด้วย อนึ่ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติให้วันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นวันเกษตรกรประจำปีอีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรพึงระลึกถึงความสำคัญของการเกษตร และร่วมมือกันประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่อาชีพของตน

การเสี่ยงทาย วันพืชมงคล

วันพืชมงคล : ผ้านุ่งแต่งกาย ผ้านุ่งซึ่งพระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐานหยิบนั้นเป็นผ้าลายมีด้วยกัน 3 ผืน คือ หกคืบ ห้าคืบ และสี่คืบ ผ้านุ่งนี้จะวางเรียงบนโตกมีผ้าคลุมเพื่อให้พระยาแรกนาขวัญหยิบ ถ้าหยิบได้ผืนใดก็จะมีคำทำนายไปตามกันคือ

• ถ้าหยิบผ้าได้ 4 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้างได้ผลไม่เต็มที่

• ถ้าหยิบได้ผ้า 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี

• ถ้าหยิบได้ผ้า 6 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอน จะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่ การเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ในวันพืชมงคล

วันพืชมงคล : ของกิน 7 สิ่งที่ตั้งเลี้ยงพระโคนั้นมี ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำ และหญ้า ถ้าพระโคกินสิ่งใดก็จะมีคำทำนายไปตามนั้นคือ

• ถ้าพระโคกินข้าวหรือข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี

• ถ้าพระโคกินถั่วหรืองา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี

• ถ้าพระโคกินน้ำหรือหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควรธัญญาหารผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์

• ถ้าพระโคกินเหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขายกับ ต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง

ข้อมูล : http://th.wikipedia.org/wiki/แรกนาขวัญ, https://www.moac.go.th/royal_ploughing-history

วันพืชมงคลปี 2567 พระยาแรกนาเสี่ยงทายหยิบผ้าได้ 5 คืบ น้ำปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์

พระโคกิน “น้ำ – หญ้า -เหล้า” น้ำท่าบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารอุดมสมบูรณ์ การคมนาคมสะดวก การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น เศรษฐกิจรุ่งเรือง

Facebook Comments Box


Spread the love

มรภ.สงขลา แลกเปลี่ยนความร่วมมือ ม.วิทยาศาสตร์ฯ ผิงตง ไต้หวัน ส่ง 15 อาจารย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านวิจัย-การเรียนการสอน

มรภ.สงขลา แลกเปลี่ยนความร่วมมือ ม.วิทยาศาสตร์ฯ ผิงตง ไต้หวัน ส่ง 15 อาจารย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านวิจัย-การเรียนการสอน
Spread the love

มรภ.สงขลา แลกเปลี่ยนความร่วมมือ ม.วิทยาศาสตร์ฯ ผิงตง ไต้หวัน ส่ง 15 อาจารย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านวิจัย-การเรียนการสอน
 
 
             มรภ.สงขลา เยือนมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติผิงตง, ไต้หวัน หารือดำเนินกิจกรรมตาม MOU แลกเปลี่ยนนักศึกษาและคณาจารย์ในอนาคตอันใกล้ พร้อมนำ 15 บุคลากรสายวิชาการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัยและการเรียนการสอนในต่างประเทศ ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่สากล
 
 
               รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) พร้อมด้วย ดร.นราวดี บัวขวัญ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ดร.นิสิตา ฤทธาภิรมย์ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ นำทีมบุคลากรสายวิชาการ มรภ.สงขลา จำนวน 15 คน เดินทางไปยังมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติผิงตง, ไต้หวัน National Pingtung University of Science and Technology (NPUST) ระหว่างวันที่ 4-12 พฤษภาคม 2567 ภายใต้โครงการพัฒนาองค์ความรู้บุคลากรสายวิชาการด้านการวิจัยและการเรียนการสอนในต่างประเทศ โดยได้เยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้ 1. Department of Food Science 2. Department of Biomechatronics Engineering 3. Green Energy Greenhouse 4. Program of Artificial Intelligence and Mechatronics
 
 
            นอกจากนั้น รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี มรภ.สงขลา และผู้เกี่ยวข้อง ได้หารือเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมตามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในด้านพัฒนาโครงการทางวิชาการ การฝึกอบรมที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน การแลกเปลี่ยนนักศึกษา การแลกเปลี่ยนคณาจารย์และบุคลากรเพื่อประโยชน์ด้านการสอน การวิจัย ตลอดจนความร่วมมือในด้านอื่น ๆ ที่ทั้งสองมหาวิทยาลัยมีความสนใจร่วมกัน ซึ่งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ระหว่างประเทศของสถาบันอุดมศึกษา มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน เพื่อตอบสนองนโยบายการพัฒนาความสัมพันธ์ในการสร้างและขยายพันธมิตรในต่างประเทศ โดยยึดหลักการมีผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษา
 
            ทั้งนี้ การสนับสนุนให้บุคลากรสายวิชาการได้พัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัยและการเรียนการสอนในต่างประเทศ ถือเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของสถาบันอุดมศึกษา และเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการดำเนินกิจกรรมหรือความร่วมมือในด้านอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น จึงถือเป็นโอกาสดีที่คณาจารย์ทั้ง 15 คนของ มรภ.สงขลา ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัย จากบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศ ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์ด้านการเรียนการสอนการทำวิจัย และเป็นจุดเริ่มต้นในการผลิตนักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาต่าง ๆ รวมถึงขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้สามารถก้าวสู่ความเป็นสากลในอนาคตได้อย่างเต็มศักยภาพเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในประเทศ
 
Facebook Comments Box


Spread the love

งานแถลงข่าว 🏃🏻‍♀️‍ เดิน – วิ่งมาราธอน 2024 ครั้งที่ 16  

Spread the love

งานแถลงข่าว 🏃🏻‍♂️🏃🏻‍♀️‍ เดิน – วิ่งมาราธอน 2024 ครั้งที่ 16 🏆🏅 
 
วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม  2567  ณ ห้องเก้าแสน ชั้น 9 โรงแรมลีการ์เดนส์พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา  เทศบาลนครหาดใหญ่ และสมาคมนักวิ่งหาดใหญ่ ได้จัดการแถลงข่าว เดิน-วิ่ง หาดใหญ่มาราธอน 2024 ครั้งที่ 16  โดยมี รศ.ดร.วิชัย กาญจนสุวรรณ รองนายกเทศมนตรี ร่วมเปิดงาน พร้อมด้วย นายอาหมัด เบ็ญอาหลี รองนายกเทศมนตรี ,รองปลัดเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ,นายประทีป แก้วประสิทธิ์ ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ บริษัทหาดทิพย์จำกัด (มหาชน )  อบจ.สงขลา  เทศบาลเมืองคลองแห  สถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่  สถานีตำรวจภูธรคอหงส์  สถานีตำรวจท่องเที่ยว 1 กองกำกับการ 3 กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว 3  มณฑลทหารบกที่ 42  เครือข่ายสมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่ง เพื่อสุขภาพไทย ภาคใต้ตอนล่าง สมาคมนักวิ่งหาดใหญ่
รวมทั้งแขกผู้มีเกียรติทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชนฯ
 
 
งานแถลงข่าวในครั้งนี้ ได้กำหนดจัดโครงการเดิน-วิ่งหาดใหญ่ มาราธอน 2024 ครั้งที่ 16 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นฟื้นฟู เศรษฐกิจ ส่งเสริมการออกกำลังกาย ซึ่งจัดขึ้นวันที่  26 พฤษภาคม 2567 ณ สนามกีฬาจิระนคร เทศบาลนครหาดใหญ่
 
Facebook Comments Box


Spread the love

ท่าอากาศยานหาดใหญ่จะมีเที่ยวบินพิเศษ เทศกาลฮัจย์ ประจำปี 2567 (ฮ.ศ. 1445)

ท่าอากาศยานหาดใหญ่จะมีเที่ยวบินพิเศษ เทศกาลฮัจย์ ประจำปี 2567 (ฮ.ศ. 1445)
Spread the love

ท่าอากาศยานหาดใหญ่จะมีเที่ยวบินพิเศษ เทศกาลฮัจย์ ประจำปี 2567 (ฮ.ศ. 1445)
                 
                  📣📣 เนื่องด้วยเทศกาลฮัจย์ ประจำปี 2567 (ฮ.ศ. 1445)
                  ท่าอากาศยานหาดใหญ่จะมีเที่ยวบินพิเศษ บริการแก่ผู้แสวงบุญชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ นครมักกะห์
                  ประเทศซาอุดิอาระเบีย ระหว่างเดือน พฤษภาคม – กรกฎาคม 2567
                  📣📣*ขอให้ผู้โดยสารเผื่อเวลาในการเดินทางมายังท่าอากาศยานหาดใหญ่ ล่วงหน้า 2-3 ชั่วโมง ก่อนเวลาเดินทาง
                 📱📱สอบถามขัอมูลเพิ่มเติมได้ที่ ประชาสัมพันธ์ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.) หมายเลขโทรศัพท์ 074–227000 , 074-227001-3
 
ท่าอากาศยานหาดใหญ่จะมีเที่ยวบินพิเศษ เทศกาลฮัจย์ ประจำปี 2567 (ฮ.ศ. 1445)
Facebook Comments Box


Spread the love

 จังหวัดสงขลา แถลงข่าวความพร้อมจัดการแข่งขันฟุตบอลสงขลาคัพ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567

Spread the love

 จังหวัดสงขลา แถลงข่าวความพร้อมจัดการแข่งขันฟุตบอลสงขลาคัพ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567

ชิงเงินรางวัลกว่า 500,000 บาท พร้อมถ้วยเกียรติยศ ในระหว่างวันที่ 11 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2567 นี้


               วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม 2567 เวลา 16.00 น. นายสมนึก  พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย นายสุพิศ  พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร นายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ร่วมแถลงข่าวความพร้อมการจัดการแข่งขันฟุตบอลสงขลาคัพ ครั้งที่ 1 ชิงเงินรางวัลกว่า 500,000 บาท พร้อมถ้วย โดยมีนายสุรสิทธิ์ ศรีอินทร์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นางสาววิลาวรรณ โป้บุญส่ง ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยนายอำเภอ ผู้แทนนายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการกีฬาจังหวัดสงขลา ผู้จัดการทีม ผู้ฝึกสอน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ โรงแรมลากูน่าแกรนด์ โฮเทล แอนด์สปา สงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

             จังหวัดสงขลา โดยสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสงขลา ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา  ดำเนินการจัดการแข่งขันฟุตบอลสงขลาคัพ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนในพื้นที่ 16 อำเภอของจังหวัดสงขลาได้ออกกำลังกาย โดยการเล่นกีฬาฟุตบอล พัฒนาความสามารถด้านทักษะกีฬาฟุตบอล และสร้างความรัก ความสามัคคีของประชาชนในแต่ละพื้นที่ให้มีความรัก ความเข้าใจ โดยกำหนดการแข่งขันในระหว่างวันที่ 11 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ณ สนามกีฬาต่าง ๆ ภายในจังหวัดสงขลา

             นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า จังหวัดสงขลา มีแนวทางการพัฒนาจังหวัดสงขลา ในประเด็นการพัฒนาจังหวัดที่ 2 พัฒนา ส่งเสริมการท่องเที่ยว การกีฬาและบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยการแข่งขันกีฬาจะสามารถช่วยพัฒนาให้คนมีระเบียบ วินัย ในการฝึกซ้อม แข่งขัน เคารพกติกา การตัดสินและการทำงานร่วมกัน อีกทั้งการเล่นกีฬานั้น สามารถเสริมสร้างความสุขแก่ประชาชนสู่เมืองแห่งความสุข สุขภาวะดี ทำให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตดี ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือของคนในชุมชนที่ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาการใช้สารเสพติด เพราะการแข่งขันกีฬาจำเป็นต้องมีการฝึกซ้อมและรักษาสภาพความฟิตของร่างกายที่ต่อเนื่องเพื่อให้มีความพร้อมในการทำการแข่งขัน

            สำหรับการแข่งขันในครั้งนี้ แบ่งพื้นที่การแข่งขันออกเป็น 4 โซนการแข่งขัน โดยนำเอาทีมตัวแทนของ 16อำเภอ มาร่วมทำการแข่งขัน เพื่อหาตัวแทนของแต่ละโซนการแข่งขัน เพื่อชิงชนะเลิศเป็นแชมป์ของจังหวัดสงขลา ใน 4 ประเภทการแข่งขัน ประกอบด้วย 1. ประเภทเยาวชน รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี จำนวน 16 ทีม , 2. ประเภทเยาวชน รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี จำนวน 16 ทีม, 3. ประเภทประชาชน รุ่นทั่วไป จำนวน 16 ทีม และ 4. รุ่นอาวุโส อายุ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 16 ทีม โดยมีคณะกรรมการผู้ตัดสินจากสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ผ่านการสอบคัดเลือกขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตัดสินสมาคมฯ มาตัดสินการแข่งขัน

           ทั้งนี้ ในการแข่งขันรอบแรก แบ่งกลุ่มการแข่งขันออกเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 4 ทีม ประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1 ได้แก่ อำเภอนาทวี อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย และ อำเภอจะนะ แข่งขัน ณ สนามกีฬากลางอำเภอนาทวี เทศบาลตำบลนาทวี และสนามโรงเรียนนา ทวีวิทยาคมอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

กลุ่มที่ 2 ได้แก่ อำเภอเมืองสงขลา อำเภอบางกล่ำ อำเภอควน เนียง และอำเภอรัตภูมิ แข่งขัน ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา,

 

กลุ่มที่ 3 ได้แก่ อำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแส สินธุ์ และอำเภอระโนด แข่งขัน ณ สนามกีฬาโรงเรียนระโนดวิทยา อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

กลุ่มที่ 4 ได้แก่ อำเภอหาดใหญ่ อำเภอนาหม่อม อำเภอคลองหอยโข่ง และอำเภอสะเดา แข่งขัน ณ สนามภูริวิจิตร องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา

และในรอบชิงชนะเลิศนั้น จะทำการแข่งขัน ณ สนามกีฬาติณสูลานนท์ อำเภอเมืองสงขลา

 

Facebook Comments Box


Spread the love

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ สร้างชุมชนส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งชันโรง

Spread the love

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างชุมชนนวัตกรรมและโครงการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งชันโรง
ให้แก่ประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านไร่ และเทศบาลเมืองบ้านพรุ  ณ ห้อง IDC ชั้น 2 อาคารยูพลาซ่า มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
 
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ สร้างชุมชนส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งชันโรง
 
การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างชุมชนนวัตกรรมและโครงการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งชันโรง เป็นโครงการที่ทางมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งชันโรงให้แก่ประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านไร่ และเทศบาลเมืองบ้านพรุ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นอกจากนี้ เพื่อให้อาจารย์นำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยที่สามารถสร้างชุมชนนวัตกรรม สำหรับเสนอขอรับทุนจากแหล่งทุนภายนอกได้ และสร้างความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยสำหรับสร้างชุมชนนวัตกรรมและนวัตกร อีกทั้ง เป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชนและขับเคลื่อนให้ชุมชนสามารถประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้  ซึ่งกิจกรรมในครั้งได้มีการบรรยายให้ความรู้ ในหัวข้อต่างๆ ดังนี้
 
 
หัวข้อ “คุณภาพของน้ำผึ้งชันโรง”  โดย ดร.อนุกูล เกียรติขวัญบุตร อาจารย์ประจำสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หัวข้อ “กฎหมาย หรือ พรบ. ที่เกี่ยวกับผึ้งชันโรง”  โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรา บุญพันธ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์
หัวข้อ “แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเกษตรชุมชน”  โดย อาจารย์วัชระ ชัยเขต หัวหน้าสาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว วิทยาลัยนานาชาติดิษยะศริน
 
นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นุกูล ชิ้นฟัก คณบดีคณะรัฐศาสตร์ และตัวแทนจากคณะศึกษาศาสตร์ฯ ได้นำผู้เข้าร่วมอบรมไปศึกษาเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งชันโรง ณ ศูนย์การเรียนรู้ผึ้งชันโรงของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และอาจารย์วรางคณา เทพนิมิตร อาจารย์ประจำสาขาการจัดการคณะบริหารธุรกิจ ได้นำผู้เข้าร่วมอบรมไปศึกษาเรียนรู้การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ณ HU Marketing Hub อีกด้วย
 
Facebook Comments Box


Spread the love
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2559 ณ หน้าลานพระนอน วัดมหัตตมังคลลราม (วัดหาดใหญ่ใน) ดร.ไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ พร้อมด้วยพระปลัด พลกฤต กลฺยาณธมฺโม ดร. เจ้าคณะตำบลหาดใหญ่ เขต 1 ร่วมแถลงข่าวโครงการอุปสมบทหมู่พระภิกษุ 151 รูป เพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และประชาชนทั่วไป ที่เข้าร่วมอุปสมบท ได้ร่วมกันบำเพ็ญปฏิบัติถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-15 ธันวาคม 2559 ณ วัดมหัตตมังคลลราม (วัดหาดใหญ่ใน) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

โดยในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 เวลา 13.00 น. มีพิธีบวชนาค และในวันที่ 1 ธันวาคม 2559 เวลา 13.00 น.มีพิธีอุปสมบท

แถลงข่าว
แถลงข่าว

img_6809

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics