สสส.เปิดตัว”มหาวิชชาลัยปริกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” แห่งแรกของภาคใต้

Spread the love

วันอังคารที่ 23 กรกฏาคม  2562 ที่เทศบาลตำบลปลิก อ.สะเดา จ.สงขลา  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับเทศบาลตำบลปริก  จัดเวทีสุดยอดผู้นำท้องถิ่นพื้นที่ภาคใต้ พร้อมเปิดตัว “มหาวิชชาลัยปริกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ” Prik University of Wisdom and Technology for Sustainable Development: Prik USD  โดยมี

นายไพโรจน์  จริตงาม  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา 

นามสมพร  ใช้บางยาง  ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ 

นางสาวดวงพร  เฮงบุณยพันธ์  ผู้อำนวยการ สสส.และคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 สสส.

หัวหน้าส่วนรายการ  คณะผู้บริหารเทศบาลตำบลปริก สมาชิกเครือข่ายสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่เข้าร่วม

นางสาวดวงพร  เฮงบุณยพันธ์ ผอ.สำนักสนับสนุนภาวะชุมชน สสส. กล่าวว่า ปัจจุบันแผนสุขภาวะชุมชนสนับสนุนให้มีมหาวิชชาลัยจำนวน 4 แห่ง จากจุดเร่ิ่มต้นของการบูรณาการ การดูแลสุขภาพชุมชน โดยชุมชน ในการจัดงานครั้งนี้ ได้เปิดตัว “มหาวิชชาลัยปริก เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” มหาวิชชาลัยแห่งแรกในภาคใต้อย่างเป็นทางการ ซึ่งปัจจัยความสำเร็จนอกจากชุมชนจะมีทุนศักยภาพของพื้นที่แล้ว ยังมีสุดยอดองค์กรความรู้สุดยอดผู้นำ ที่มีการลงมือปฏิบัติจริงจนเห็นผลสำเร็จ

นายสุริยา  ยีขุน  นายกเทศมนตรีตำบลปริก กล่าวว่า เทศบาลตำบลปริกร่วมขับเคลื่อนตำบลสุขภาวะ โดยได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน 10 ปีที่ผ่านมา ปริกสั่งสมประสบการณ์มีความเชี่ยวชาญการพัฒนาสุขภาวะชุมชน สามารถสร้างผู้นำ เครือข่าย บริหารจัดการพื้นที่โดยยึดหลักธรรมาภิบาล และมีขีดความสามารุในการสร้างวัตกรรมโดยใช้ชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานอันนำไปสู่เป้าหมาย การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักดังนี้

1.น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ 

2.โปร่งใสตรวจสอบได้ มีการเปิดเผยข้อมูล การปฏิบัติงานทุกขั้นตอน เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งจากภายนอกและในหน่วยงาน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้

3.สร้างหุ้นส่วนในการทำงาน 

4.ยึดหลักคุณธรรม คณะบริหาร สมาชิกสภา ข้าราชการ พนักงานในเทศบาล ตำบลปริก เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ มีความอดทน ขยันหมั่นเพียร ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม และ

5.พัฒนาผ่านปฏิบัติการจริง ค้นหาวิธีการโดยการลองผิด ลองถูก ส่งเสริมเรียนรู้บนฐานความเข้าใจในวิถีชีวิต

 

นายสุริยา  กล่าวอีกว่า  สำหรับรูปธรรมการสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต 7กลุ่มสังคมได้แก่

1. สังคมคนดี เรียนรู้เรื่องศาสนาจากนโยบายการพัฒนาการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา ให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้มีโอกาสเรียนฟรี ทุกคนสามารถส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเทศบาลได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนศึกษา ให้ประชาชนดำเนินชีวิตตามหลักศาสนาที่ตนเองมีความเชื่อและนับถือ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรวิถีพุทธ หรือหลักสูตรอิสลามศึกษา
.
2. สังคมสันติสุข คนในสังคมมีความเอื้ออาทรต่อกัน ร่วมแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน ดูแลซึ่งกันและกัน เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง หากมีความขัดแย้งเกิดขึ้นบ้างในชุมชนหรือครัวเรือน จะมีองค์กรที่ประกอบด้วยผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ ช่วยกันในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทผ่านศูนย์ยุติธรรมชุมชนเทศบาลตำบลปริก ทำให้สังคมอยู่ด้วยกันแบบสันติสุข 
.
3. สังคมสวัสดิการ นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ควบคู่กับการจัดสวัสดิการชุมชน เร่งส่งเสริมให้ความรู้ด้านการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต และยกระดับรายได้ของประชาชน เร่งส่งเสริมให้ประชาชนมีการรวมตัวเป็นกลุ่มอาชีพ มีแหล่งเงินทุน และกองทุนต่าง ๆ มุ่งสู่การพึ่งพาตนเองในที่สุด 
.
4. สังคมรักษ์โลก ใช้หลักคิดการจัดการทรัพยากร สร้างจิตสำนึกสาธารณะในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง มีการจัดการขยะฐานศูนย์ และหนุนเสริมให้มีครัวเรือนจัดการขยะด้วยตนเองเพิ่มขึ้น ต่อยอดการพัฒนาเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานแก๊สชีวภาพ และค้นหาพลังงานทางเลือกในระดับชุมชน 
.
5. สังคมเอื้ออาทร มีการจัดการสุขภาวะชุมชนแบบองค์รวมให้ประชาชนตื่นตัวต่อการจัดการสุขภาวะ คนในชุมชนมีการช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน อยู่ร่วมกันแบบเครือญาติ มีหน่วยงานทำหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน มีระบบฐานข้อมูลด้านสุขภาพสำหรับนำไปใช้คิดกิจกรรมการดูแลสุขภาพชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพความจริง และมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน 
.
6. สังคมปรับตัว ภูมิประเทศของเทศบาลตำบลปริกส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีลำคลองไหลผ่าน ในฤดูฝนจะมีน้ำไหลหลากและท่วมขังเป็นประจำทุกปี เทศบาลจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือด้วยการส่งเสริมให้คนในชุมชนเรียนรู้วิธีจัดการภัยพิบัติ จัดทำแผนป้องกัน ทำข้อมูลพื้นที่เสี่ยง ฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันภัย จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย สร้างภูมิคุ้มกันปรับตัวเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เพื่อความปลอดภัยของคนในชุมชน
.
7. สังคมไม่เดือดร้อน พัฒนาระบบสวัสดิการชุมชน ให้ประชาชนหันมาทำเกษตรแบบผสมผสาน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ แทนการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี และยาฆ่าแมลง เน้นลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ทำเองใช้เอง แบ่งปันเพื่อนบ้าน เหลือแล้วจึงจำหน่าย ทำสวนร่วมกับการประกอบอาชีพเสริม รวมกลุ่มผลิตของกินของใช้ ตามความถนัด และทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน 

   อนึ่ง แผนสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สสส. นำโดยนายธวัชชัย  ฟักอังกูร ประธานกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 สสส. ได้เข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริมและขับเคลื่อนตำบบดอนแก้วให้เป็นตำบลสุขภาวะ   จนกระทั่งยกสถานะเป็น มหาวิชชาลัยดอนแก้วสร้างสุข โดย อบต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่  เป็นมหาวิชชาลัยของชุมชนเป็นแห่งแรกในปี 2557   จากนั้นเกิดมหาวิชชาลัยอุโมงค์สร้างพลเมือง โดย ทต.อุโมงค์ อ.เมิือง จ.ลำพูน ในปี 2558 สำหรับในปี 2562 มีการเปิดตัว “มหาวิชชาลัยบ้านแฮดสร้างความเท่าเทียม” โดย ทต.บ้านแฮด อ.บ้านแฮด จ.ขอนแก่น และล่าสุดเปิดตัว “มหาวิชชาลัยปริกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ” โดย ทต.ปริก อ.สะเดา จ.สงขลา

 

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics