ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจ เดือนมีนาคม 2561

Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจ เดือนมีนาคม 2561

 

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจ ในเดือนมีนาคม โดยเก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจาก ประชาชนภาคครัวเรือน ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง พบว่า เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 61.20 เพศชาย ร้อยละ 38.80 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 35-44 ปี คิดเป็นร้อยละ 36.50 และมีระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 34.70  

 

                      ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจ เดือนมีนาคม เปรียบเทียบ เดือนกุมภาพันธ์ และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

รายการข้อคำถาม กุมภาพันธ์ มีนาคม คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 26.80 53.10 20.10 24.90 50.70 24.40 36.50 50.40 13.10
2. รายได้จากการทำงาน 16.80 45.70 37.50 14.30 46.80 38.90 38.60 47.50 13.90
3. โอกาสในการหางานทำ/ได้งานใหม่ 15.30 47.30 37.40 13.80 49.60 36.60 32.40 50.10 17.50
4. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน 27.60 57.80 14.60 25.10 55.40 19.50 39.60 49.80 10.60
5. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่  โทรทัศน์  ตู้เย็น  ไมโครเวฟ  เครื่องเสียง  พัดลม เครื่องปรับอากาศ  เครื่องซักผ้า ฯลฯ 17.10 52.30 30.60 19.60 49.70 30.70 32.80 35.70 31.50
6. รายจ่ายที่เกี่ยวข้องด้านอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ซื้อ ปรับปรุง  ต่อเติม  ซ่อมแซม  บ้านและที่อยู่อาศัย 13.40 46.20 40.40 12.70 49.50 37.80 35.60 45.80 18.60
7. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ของฝาก ฯลฯ 30.10 54.60 15.30 25.30 52.50 22.20 45.70 43.20 11.10

 

 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ภาคใต้ เดือน  มกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม 2561

รายการข้อคำถาม มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 52.00 53.35 50.25
2. รายได้จากการทำงาน 36.20 39.65 37.70
3. โอกาสในการหางานทำ/ได้งานใหม่ 38.45 38.95 38.60
4. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน 53.05 56.50 52.80
5. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่  โทรทัศน์  ตู้เย็น  ไมโครเวฟ  เครื่องเสียง

พัดลม  เครื่องปรับอากาศ  เครื่องซักผ้า ฯลฯ

42.55 43.25 44.45
6. รายจ่ายที่เกี่ยวข้องด้านอสังหาฯ ได้แก่  ซื้อ  ปรับปรุง  ต่อเติม  ซ่อมแซม  บ้านและที่อยู่อาศัย 34.10 36.50 37.45
7. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ได้แก่  การเดินทาง  ของฝาก ฯลฯ 56.15 57.40 51.55
8. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม  44.64 46.51 44.69

 

                      ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจ เดือนมีนาคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์

                      ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน โอกาสในการหางานทำ/ได้งานใหม่ รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว โดยปัจจัยลบส่วนหนึ่งมาจากความวิตกกังวลต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีนได้ออกมาตรการกีดกันทางการค้าต่อกัน ส่งผลกระทบเชิงลบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โดยทำให้การค้าการลงทุนชะลอตัวลง ราคาสินค้าการเกษตรปรับตัวลดลงอย่างชัดเจนและมีแนวโน้มที่จะลดลงอีกในอนาคต ประชาชนเกิดความวิตกกังวลจึงชะลอการจับจ่ายใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชน

                      ขณะที่ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานจะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 36.50 และ 38.60 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 39.60 และ 45.70 ตามลำดับ

                      ปัจจัยที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ามีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันมากที่สุด คือ ค่าครองชีพ คิดเป็นร้อยละ 31.70 รองลงมา คือ ราคาสินค้า และราคาพืชผลทางการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 25.40 และ 13.20 ตามลำดับ ขณะที่ปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ารัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือเป็นอันดับแรก คือ ราคาพืชผลทางการเกษตร รองลงมา คือ ค่าครองชีพ และราคาสินค้า ตามลำดับ

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics