ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านภาวการณ์ทางสังคมเดือนมีนาคม 2561

Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านภาวการณ์ทางสังคมเดือนมีนาคม 2561

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านภาวการณ์ทางสังคมในเดือนมีนาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงของความสุขโดยรวมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง พบว่า เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 61.20 เพศชาย ร้อยละ 38.80 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 35-44 ปี คิดเป็นร้อยละ 36.50 และมีระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 34.70 

 

                      ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านภาวการณ์ทางสังคมเดือนมีนาคม เปรียบเทียบเดือน กุมภาพันธ์ และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

ประเด็นความคิดเห็น กุมภาพันธ์ มีนาคม คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ความสุขในการดำเนินชีวิต 17.30 50.50 32.20 15.80 47.20 37.00 32.60 43.70 23.70
2. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 17.90 50.30 31.80 16.80 48.50 34.70 30.70 48.60 20.70
3. ความมั่นคงในอาชีพ 25.70 47.20 27.10 22.60 49.20 28.20 29.70 51.60 18.70
4. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 28.50 55.60 15.90 27.80 58.20 14.00 29.80 55.70 14.50
5. การแก้ปัญหายาเสพติด 35.80 52.60 11.60 30.20 50.40 19.40 34.90 48.60 16.50
6. เสถียรภาพทางการเมือง 25.70 48.30 26.00 23.10 49.70 27.20 33.80 48.60 17.60
7. การแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 11.20 47.10 41.70 11.20 55.40 33.40 35.50 49.90 14.60

 

ดัชนีความเชื่อมั่น ด้านภาวการณ์ทางสังคม เดือน มกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม 2561

รายการข้อคำถาม มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม
1. ความสุขในการดำเนินชีวิต 40.10 42.55 39.40
2. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 37.85 43.05 41.05
3. ความมั่นคงในอาชีพ 48.95 49.30 47.20
4. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 53.30 56.30 56.90
5. การแก้ปัญหายาเสพติด 65.35 62.10 55.40
6. เสถียรภาพทางการเมือง 50.90 49.85 47.95
7. การแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 37.00 34.85 38.90
8.  ความเชื่อมั่นโดยรวม 47.64 48.29 46.69

                          

                             ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านภาวการณ์ทางสังคมเดือนมีนาคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม ด้านภาวการณ์ทางสังคมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์

                             ดัชนีความเชื่อมั่นด้านภาวการณ์ทางสังคมพบว่า ความสุขในการดำเนินชีวิต ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) ความมั่นคงในอาชีพ การแก้ปัญหายาเสพติด และเสถียรภาพทางการเมือง มีความเชื่อมั่นลดลง ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากประชาชนเกิดความวิตกกังวลในความไม่แน่นอนของรายได้จากภาคเกษตรที่ลดลงและมีแนวโน้มลดลงอีก รวมทั้งการตรวจสอบข้าราชการและหน่วยงานภาครัฐที่พบว่าเกิดการคอร์รัปชั่นในหลายหน่วยงานทั่วประเทศส่งผลเชิงลบต่อเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลที่ต้องจริงจังในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

                            อย่างไรก็ตาม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เป็นผลมาจากความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและประชาชนที่ร่วมกันเฝ้าระวังและดูแลป้องกัน

                                ขณะที่ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ประชาชนส่วนใหญ่มองว่าความสุขในการดำเนินชีวิต และฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) จะดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 32.60 และ 30.70 ตามลำดับ นอกจากนี้การแก้ปัญหายาเสพติด และเสถียรภาพทางการเมืองจะดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 34.90 และ 33.80 และปัจจัยที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ามีผลกระทบต่อความสุขในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันมากที่สุด คือ ค่าครองชีพ คิดเป็นร้อยละ 32.40 รองลงมา คือ หนี้สินครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 22.50

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics