จังหวัดสงขลา แถลงข่าวผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ

Spread the love

             วันนี (ต.ค. 60) ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา นายดลเดช พัฒนรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยนายสุพิท จิตรภักดี เกษตรจังหวัดสงขลา นายปรีชา พันธ์สน เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลา และนายปัญญา แก้วคง ประธานเครือข่าย ศพก. จังหวัดสงขลา ร่วมแถลงข่าวผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน จังหวัดสงขลา โดยเป็นการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน การสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกการทำงานในพื้นที่และให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก รวมถึงใช้ ศพก.เป็นศูนย์การเรียนรู้การเกษตรของชุมชนและขับเคลื่อนการพัฒนาการเกษตร เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรในชุมชนด้วยการน้อมนำหลักการทฤษฎีและแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรต่างๆที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชได้พระราชทานไว้ ที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรกรให้ได้มาตรฐานและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชนและให้ ศพก.และเครือข่ายเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาภาคการเกษตรของ ชุมชนมีส่วนร่วมแบบประชารัฐอย่างยั่งยืน

         

     นายดลเดช พัฒนรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่ารัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดนโยบายในการปฏิรูปภาคการเกษตร เพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน จึงได้กำหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ขึ้นในปี 2558 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาภาคการเกษตรในชุมชน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกระเบียบว่าด้วยการบริหารงานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เพื่อเป็นกลไกในการบูรณาการทำงานหน่วยงานในระดับพื้นที่โดยมี ศพก.882 ชุมชนและเครือข่าย 8,219 ชุมชน รวม 9,101 ชุมชน

               ส่วนจังหวัดสงขลา มี ศพก. 16ชุมชนและเครือข่าย 143 ชุมชน รวมทั้งสิ้น 159 ชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดให้เกิดความยั่งยืน คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 อนุมัติหลักการ โครงการ 9101ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมีเพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน” เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินโครงการ ฯ ในพื้นที่ 9101 ชุมชนซึ่งจังหวัดสงขลาดำเนินการในพื้นที่ 159 ชุมชน โดยให้แต่ละชุมชนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุมชน จัดที่เวทีประชาคมวิเคราะห์พื้นที่และความต้องการ จัดทำเป็นโครงการ ฯ ซึ่งแต่ละชุมชนเสนอของงบประมาณได้ไม่เกิน 2,500,000 บาท เสนอต่อคณะกรรมการระดับอำเภอพิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการ แล้วจัดส่งให้จังหวัดเพื่อรวบรวมเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากสำนักจัดทำงบประมาณเขตพื้นที่ (CBO) อนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินงานโครงการ ฯ ซึ่งจังหวัดสงขลา ได้ดำเนินการในพื้นที่ 16 อำเภอ 159 ชุมชน 555 โครงการ งบประมาณ 394,162,692 บาท

                ผลจากการดำเนินงานโครงการ ฯ ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านการเกษตรโดยมีการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ พัฒนาคุณภาพผลผลิต อย่างเห็นได้ชัดเจนและมีโครงการเด่น ๆ หลายโครงการ อาทิ เช่น ด้านการผลิตพืชและพันธุ์พืช ได้แก่โครงการปลูกดาวเรืองเพิ่มรายได้ ด้านฟาร์มชุมชน ได้แก่ โครงการฟาร์มชุมชนจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล (ปะการังเทียม) ด้านการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ด้านการแปรรูปผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ได้แก่โครงการผลิตน้ำตาลแว่นโดยน้ำตาลอ้อยและโครงการการผลิตไข่เค็ม เป็นต้น จากผลการดำเนินงานโครงการ ฯ ได้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความสำเร็จของผลดำเนินงานผ่านทางสื่อต่าง ๆ ได้แก่ทางสถานีวิทยุ และโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดสงขลา (NBT สงขลา) ในรายการ พิราบคาบข่าว” และผ่านทางช่องทางหอกระจายข่าว เอกสารสิ่งพิมพ์ ต่าง ๆ ฯลฯ เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ได้อย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวได้มีการดำเนินการในลักษณะรูปแบบคณะกรรมการนตั้งแต่ระดับกลุ่มกิจกรรม ระดับชุมชน ระดับอำเภอ และระดับประเทศ เพื่อให้เกิดการทำงานในลักษณะการมีส่วนร่วมและเกิดความโปร่งใน ตรวจสอบได้ ได้มีหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ได้มีการติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดและมีองค์กรอื่น ๆ เช่น ปปท. สตง. ทหาร ได้ติดตามและตรวจสอบอย่างใกล้ชิดเพื่อได้เกิดความเป็นธรรมและโปร่งใสในการดำเนินงานโครงการและให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาภาคเกษตรกรอย่างยั่งยืน ต่อไป

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics