มรภ.สงขลา สอน นร. ใช้ไอทีเก็บข้อมูลพันธุกรรมพืชท้องถิ่น

Spread the love

มรภ.สงขลา สอน นร. ใช้ไอทีเก็บข้อมูลพันธุกรรมพืชท้องถิ่น
สนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

 

                มรภ.สงขลา ดึงนักเรียน-ชุมชน ใช้สื่อดิจิตัลจัดเก็บข้อมูลพันธุกรรมพืช ต.รำแดง อ.สิงหนคร ห่วงพืชท้องถิ่นอย่างตาลโตนดเสี่ยงสูญพันธุ์ เหตุถูกคุกคามหนัก เร่งสร้างความตระหนักร่วมอนุรักษ์ สนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

 

       

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

        ผศ.ดร.ศศลักษณ์  ทองขาว  อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงกิจกรรมถ่ายทอดองค์ ความรู้การจัดเก็บข้อมูลพันธุ กรรมพืชท้องถิ่นโดยใช้สื่อดิจิทัล ให้แก่นักเรียนและประชาชนทั่วไปในตำบลรำแดง ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลรำแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา เมื่อเร็วๆ นี้ว่า กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรวบรวม ขยายพันธุ์ และจัดทำบัญชี ชนิดพันธุ์พืชบนต้นตาลโตนดใน ต.รำแดง ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดทำขึ้นในพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย และเป็นโครงการต่อเนื่องในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชร่ วมกัน เช่น กล้วยไม้ บัว เป็นต้น โดยมุ่งหวังให้คนในพื้นที่ ตระหนักถึงความสำคัญของพืชท้องถิ่น และทราบถึงประเภทของพืชคุกคามที่ มีปัจจัยเสี่ยงต่อสภาวะการสูญพันธ์ของพืชเฉพาะในท้องถิ่น

                ผศ.ดร.ศศลักษณ์ กล่าวว่า การทำบัญชีชนิดพันธุ์พืชถือเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญ สามารถนำมาใช้ในการวางแผนและจัดการทรัพยากรของชาติ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ตลอดจนอนุรักษ์และขยายพันธุ์พืช โดยเฉพาะในพื้นที่ ต.รำแดง ที่มีวิถีชีวิต โหนด นา ไผ่ คน” ปัจจุบันพบว่าตาลโตนดซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นถูกคุกคามอย่างต่อเนื่อง จนเสี่ยงต่อสภาวะการสูญพันธุ์ เป็นอย่างมาก ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการสูญพันธุ์คือมนุษย์ เนื่องจากมีการประโยชน์จากพืชป่าหายากอย่างมากมาย แต่ขาดการดูแลและอนุรักษ์ ประกอบกับประชาขนขาดความรู้เกี่ยวกับพืชท้องถิ่นที่มีอยู่ จึงทำให้เกิดการทำลายทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ซึ่งหากไม่มีการดูแลหรือการอนุรักษ์ก็จะทำให้เกิดการสูญพันธุ์ ของพืชท้องถิ่นในไม่ช้า

   

 

 

 

 

             มรภ.สงขลา เป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เห็นความสำคัญของพืชประจำถิ่น จึงได้ลงพื้นที่ให้ความรู้นักเรียน ป.5-ป.6 และประชาชนที่สนใจ ฝึกใช้แอพพลิเคชันเกี่ยวกับพันธุ์พืช เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพืชในพื้นที่ ต.รำแดง อย่างน้อย 50 ชนิด โดยจัดทำเป็นระบบบัญชีรายชื่อ ทำให้สามารถค้นหาชื่อพรรณไม้ ประโยชน์และคุณลักษณะของพืชพั นธุ์ชนิดต่างๆ ได้ง่ายขึ้น อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกล่าวและว่า

                โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจ และให้ตระหนักถึงความสำคัญของพันธุกรรมพืชที่มีอยู่ในประเทศไทย ก่อให้เกิดกิจกรรมเพื่อให้มี การร่วมคิด ร่วมปฏิบัติที่นำผลประโยชน์มาถึงประชาชน ตลอดจนให้มีการจัดทำระบบข้อมูลพันธุกรรมพืชให้แพร่หลาย สามารถสื่อถึงกันได้ทั่วประเทศ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่เมื่อครั้งปี พ.ศ. 2503 ที่ทรงมีพระราชดำริให้อนุรักษ์ ต้นยางนา และทรงให้รวบรวมพืชพันธุ์ไม้ ของภาคต่างๆ ทั่วประเทศปลูกไว้ในสวนจิตรลดา โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จึงเป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวพระราชดำริ และสืบสานพระราชปณิธานแห่งพระองค์

 

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics