สคร.12 สงขลา เตือนประชาชน ลงเล่นน้ำทะเลฝั่งอ่าวไทย ระวัง แมงกะพรุนหัวขวด

สคร.12 สงขลา เตือนประชาชน ลงเล่นน้ำทะเลฝั่งอ่าวไทย ระวัง แมงกะพรุนหัวขวด
Spread the love

สคร.12 สงขลา เตือนประชาชน ลงเล่นน้ำทะเลฝั่งอ่าวไทย ระวัง แมงกะพรุนหัวขวด

สคร.12 สงขลา เตือนประชาชน ลงเล่นน้ำทะเลฝั่งอ่าวไทย ระวัง แมงกะพรุนหัวขวด

 
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร.12 สงขลา) เตือนประชาชนก่อนลงเล่นน้ำทะเลระมัดระวังแมงกะพรุนหัวขวด โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม ถึง มีนาคม หรือพบป้ายแจ้งเตือนระวังแมงกะพรุน แนะไม่ควรลงเล่นน้ำ และหากพบผู้ที่สงสัยถูกพิษแมงกะพรุน ห้ามขัดถูหรือขยี้ในบริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุน เพราะจะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้นจากการกระจายของพิษแมงกะพรุน    
 

ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม ถึง มีนาคม ของทุกปี เป็นช่วงการระบาดของแมงกะพรุนหัวขวด (Physalia sp.) บริเวณชายทะเลฝั่งอ่าวไทย จัดเป็นแมงกะพรุนชนิดที่มีพิษร้ายแรง โดยมีลักษณะส่วนบนลอยโผล่พ้นน้ำคล้ายลูกโป่งรูปร่างรียาว คล้ายหมวกของทหารเรือชาวโปรตุเกส มีหนวดยาวสีฟ้าหรือสีม่วง มีเข็มพิษ (nematocyst) สำหรับป้องกันตัวและจับเหยื่อ กระจายอยู่ทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณหนวด (tentacle) สำหรับพิษของแมงกะพรุนหัวขวด มีผลต่อระบบประสาท หัวใจ และผิวหนัง ส่วนใหญ่ผู้ที่สัมผัสพิษจะมีอาการคัน และปวดแสบปวดร้อนในเบื้องต้น การแสดงอาการของพิษในผู้ป่วยแต่ละบุคคลความรุนแรงจะต่างกัน ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย ความต้านทาน และปริมาณพิษที่ได้รับ     

สคร.12 สงขลา เตือนประชาชน ลงเล่นน้ำทะเลฝั่งอ่าวไทย ระวัง แมงกะพรุนหัวขวด

  นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา  กล่าวถึง สถานการณ์การบาดเจ็บจากแมงกะพรุน ตั้งแต่ 1 มกราคม – 18 กรกฏาคม 2566 มีผู้ได้รับบาดเจ็บ จากการสัมผัสแมงกะพรุน จำนวน 2 ราย เมื่อเดือนมีนาคม 2566 เพศชาย อายุ 7 ปี และ 19 ปี  ตำแหน่งที่สัมผัสพิษแมงกะพรุนส่วนใหญ่ คือบริเวณมือ เนื่องจากการลงไปเล่นน้ำทะเล บริเวณชายหาดสมิหลาและชายหาดชลาทัศน์ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา โดยในปี 2567 ยังไม่ได้รับรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บจากการสัมผัสแมงกะพรุน

สคร.12 สงขลา เน้นย้ำผู้ปกครองให้คำแนะนำบุตรหลาน ไม่ควรลงเล่นน้ำหากพบป้ายแจ้งเตือนระวังแมงกะพรุน หากลงเล่นน้ำทะเล ขอให้สวมเสื้อผ้าที่มิดชิด เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาวแนบตัว หากเจอแมงกะพรุน ห้ามจับ หรือสัมผัสโดยเด็ดขาด”  

          วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากได้รับบาดเจ็บจากพิษแมงกะพรุน แนะนำให้ใช้น้ำส้มสายชูราดบริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุนอย่างน้อย 30 วินาที และให้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที ทั้งนี้ เมื่อพบผู้บาดเจ็บจากการถูกพิษแมงกะพรุนห้ามใช้น้ำแข็ง น้ำเปล่า เหล้า โซดา หรืออื่นๆ ไปเทราดเป็นอันขาด เนื่องจากจะกระตุ้นพิษให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ห้ามถูหรือขยี้ เพราะจะทำให้พิษยิ่งแพร่กระจายมากขึ้น ที่สำคัญเลี่ยงการใช้เทคนิคพันรัดแน่นด้วยผ้ายืด และอย่าเก็บแมงกะพรุนที่ตายแล้วด้วยมือเปล่าหรือนำมาเล่น เพราะต่อมพิษยังสามารถปล่อยพิษได้ หากมีข้อสงสัยสามารถโทรศัพท์สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics