ครุฯ มรภ.สงขลา จัดอบรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เสริมสร้างสมรรถนะเด็กปฐมวัย ให้ครู สพฐ.

ครุฯ มรภ.สงขลา จัดอบรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เสริมสร้างสมรรถนะเด็กปฐมวัย ให้ครู สพฐ.
Spread the love

ครุฯ มรภ.สงขลา จัดอบรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เสริมสร้างสมรรถนะเด็กปฐมวัย ให้ครู สพฐ.

ครุฯ มรภ.สงขลา จัดอบรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เสริมสร้างสมรรถนะเด็กปฐมวัย ให้ครู สพฐ.

คณะครุศาสตร์ มรภ.สงขลา จัดอบรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เสริมสร้างสมรรถนะเด็กปฐมวัย หวังช่วยเพิ่มทักษะครูผู้สอนโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ. มีความรู้ความเข้าใจวิธีประเมินแบบทดสอบวัดความฉลาดทางอารมณ์ ควบคู่จัดกิจกรรมพัฒนา EQ ได้อย่างเหมาะสม

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา)  จัดโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก กิจกรรมที่ 1 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เสริมสร้างสมรรถนะเด็กปฐมวัย ให้แก่ครูผู้สอนโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ. จำนวน 60 คน  โดยแบ่งการอบรมออกเป็น 2 รุ่น  ได้แก่ รุ่นที่ 1 วันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2567  รุ่นที่ 2 วันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2567  ณ ห้องประชุมไพโรจน์ ด้วงวิเศษ คณะครุศาสตร์ มรภ.สงขลา วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ครูผู้สอนระดับปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ของเด็กปฐมวัย  สามารถเข้าใจวิธีการและประเมินแบบทดสอบวัดความฉลาดทางอารมณ์ ตลอดจนสามารถจัดกิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม

ผศ.ดร.โสภณ ชัยวัฒนกุลวานิช คณบดีคณะครุศาสตร์ มรภ.สงขลา กล่าวว่า การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์มีความสำคัญและจำเป็นมากสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ และมีความสุขในการดำเนินชีวิต ซึ่งเด็กปฐมวัยถือได้ว่าเป็นช่วงที่มีความสำคัญที่สุดในการวางรากฐานของชีวิต เนื่องด้วยเป็นวัยเริ่มต้นของชีวิต เป็นวัยแห่งพัฒนาการด้านต่าง ๆ การจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยนั้นต้องคำนึงถึงเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยลักษณะของพัฒนาการในแต่ละด้านให้เป็นไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน หากพัฒนาการด้านหนึ่งบกพร่องจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการในด้านอื่น ๆ เช่น ด้านอารมณ์ ซึ่งอาจทำให้เด็กหงุดหงิด โมโหง่าย และมีแนวโน้มว่าจะมีผลกระทบต่อพัฒนาการด้าน สติปัญญาตามมาอีกด้วย

ด้าน ผศ.นิศารัตน์ บุญมี ประธานหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มรภ.สงขลา ผู้เสนอโครงการ กล่าวว่า การได้รับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) มีพื้นฐานทางด้านอารมณ์ที่ดีตั้งแต่วัยเด็ก จะช่วยให้เด็กมีสุขภาพดี มีจิตใจดี มีความสุข ซึ่งเป็นทุนสำรองของชีวิตที่จะติดตัวไปเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินชีวิต ขณะที่เด็กที่ EQ ไม่ดีจะหาทางออกโดยอาศัยความก้าวร้าว รุนแรงในการแก้ปัญหา พึ่งพายาเสพติด มีปัญหาเรื่องเพศ การพนัน และปัญหาอื่น ๆ เพื่อให้ตนเองมีความสุข ความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับ ซึ่งการพัฒนา EQ เป็นการพัฒนาให้เด็กปฐมวัยสามารถเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง ควบคุมอารมณ์ความรู้สึกและความต้องการของตนเองได้ ปรับตัวและอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุขตามวัย รู้จักจัดการควบคุมอารมณ์และแสดงออกอย่างเหมาะสม รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี 

ทั้งนี้ การพัฒนา EQ เป็นทักษะที่เกิดขึ้นได้ด้วยกระบวนการเรียนรู้จากวิธีการเลี้ยงดู การมีแบบอย่างหรือการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนา EQ ครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัยจะต้องบูรณาการกิจกรรมให้มีความหลากหลาย โดยมีหลักสำคัญอันได้แก่ การให้ความรักและความอบอุ่น เห็นคุณค่าในตนเอง ความเพลิดเพลิน สร้างประสบการณ์และการเรียนรู้ให้เกิดกับเด็ก เพื่อจะเป็นพื้นฐานสำคัญของความเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดการรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง รับรู้อารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น มีความไว้วางใจ มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี เคารพความคิดของผู้อื่น เป็นคนดีของสังคม และสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics