ม.ทักษิณ จับมือ 22 ภาคีเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อน “การพัฒนาเมืองปากพะยูนสู่เมืองแห่งการเรียนรู้”

ม.ทักษิณ จับมือ 22 ภาคีเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อน “การพัฒนาเมืองปากพะยูนสู่เมืองแห่งการเรียนรู้”
Spread the love

.ทักษิณ จับมือ 22 ภาคีเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อน “การพัฒนาเมืองปากพะยูนสู่เมืองแห่งการเรียนรู้”

ม.ทักษิณ จับมือ 22 ภาคีเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อน “การพัฒนาเมืองปากพะยูนสู่เมืองแห่งการเรียนรู้”

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 มหาวิทยาลัยทักษิณจัดกิจกรรมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยทักษิณ และภาคีเครือข่ายในจังหวัดพัทลุง รวม 23 หน่วยงาน ในการขับเคลื่อน “การพัฒนาเมืองปากพะยูนสู่เมืองแห่งการเรียนรู้” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญา พันธ์ฤทธิ์ดำ รองอธิการบดีวิทยาเขตพัทลุง รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติร่วมกิจกรรมและนำเสนอบทบาทมหาวิทยาลัยทักษิณ:การมุ่งสู่มหาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายวรินทร  ทองขาว  นายอำเภอปากพะยูน เป็นประธานในพิธีเปิด ณ ห้องประชุมสหกรณ์การเกษตรปากพะยูน ตำบลปากพะยูน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

ม.ทักษิณ จับมือ 22 ภาคีเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อน “การพัฒนาเมืองปากพะยูนสู่เมืองแห่งการเรียนรู้” ม.ทักษิณ จับมือ 22 ภาคีเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อน “การพัฒนาเมืองปากพะยูนสู่เมืองแห่งการเรียนรู้”
ม.ทักษิณ จับมือ 22 ภาคีเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อน “การพัฒนาเมืองปากพะยูนสู่เมืองแห่งการเรียนรู้”

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้เป็นกิจกรรมภายใต้ “โครงการทะเลสาบสงขลานิเวศเมืองแห่งการเรียนรู้สู่มรดกโลก”  โดยมี นางสาววิจิตรา อมรวิริยะชัย สังกัดสถาบันส่งเสริมการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นหัวหน้าโครงการ ได้รับทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ภายใต้กรอบการวิจัย “การยกระดับและขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City)” ภายใต้แผนงานย่อยรายประเด็น “พัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning city)” ปีงบประมาณ 2566 โดยมีขอบเขตความร่วมมือ สาระสำคัญดังต่อไปนี้

1. ส่งเสริมการร่วมกระบวนการเรียนรู้และการออกแบบเมืองปากพะยูนสู่เมืองแห่ง การเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกช่วงวัยในรูปแบบออนไซต์และออนไลน์

2. ส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน

3. ส่งเสริมศักยภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการชุมชนจากทรัพยากรท้องถิ่น

4. ส่งเสริมและยกระดับการจัดการพื้นที่การเรียนรู้ด้วยกลไกตลาดกลางชุมชนแบบเกื้อกูล

5.ส่งเสริมความร่วมมือด้านการสนับสนุนทรัพยากรหรือบูรณาการงบประมาณดำเนินการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองปากพะยูนสู่เมืองแห่งการเรียนรู้

6. ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรมเพื่อสร้างนวัตกรรมสังคม การถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาระบบฐานข้อมูลแบบบูรณาการร่วมกัน

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics