“ผศ.ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน” มรภ.สงขลา รับโล่นักวิจัยดีเด่น สาขาเกษตรศาสตรและชีววิทยา

“ผศ.ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน” มรภ.สงขลา รับโล่นักวิจัยดีเด่น สาขาเกษตรศาสตรและชีววิทยา
Spread the love

“ผศ.ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน” มรภ.สงขลา รับโล่นักวิจัยดีเด่น สาขาเกษตรศาสตรและชีววิทยา จากผลงานค้นคว้าวิจัยและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้

“ผศ.ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน” อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา รับโล่นักวิจัยดีเด่น สาขาเกษตรศาสตรและชีววิทยา จากผลงานคว้าวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้การเก็บรวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ปลูกในแปลงอนุรักษ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้

“ผศ.ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน” มรภ.สงขลา รับโล่นักวิจัยดีเด่น สาขาเกษตรศาสตรและชีววิทยา

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พันโท หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล เสด็จแทนพระองค์ เปิดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 7” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 พฤศจิกายน 2566 ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ภายในงานมีการมอบรางวัลนักวิจัยดีเด่น ประจำปี 2566 ซึ่ง ผศ.ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ได้รับคัดเลือกเป็นนักวิจัยดีเด่น สาขาเกษตรศาสตรและชีววิทยา โดยมี รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี มรภ.สงขลา ดร.นราวดี บัวขวัญ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และคณะผู้บริหารของสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมแสดงความยินดีและเดินทางเข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติในครั้งนี้ด้วย

“ผศ.ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน” มรภ.สงขลา รับโล่นักวิจัยดีเด่น สาขาเกษตรศาสตรและชีววิทยา

ทั้งนี้ ผศ.ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน ได้ค้นคว้าศึกษาวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ผ่านการบริการวิชาการ ในการเก็บรวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองและการคัดสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองให้บริสุทธิ์ เพื่อช่วยเหลือชาวนาไทย โดยสามารถเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ที่ปลูกในแปลงเกษตรกรในอำเภอต่างๆ ในจังหวัดสงขลา และปลูกแสดงพันธุ์ข้าวพื้นเมืองดังกล่าวในแปลงอนุรักษ์ข้าวพื้นเมืองภาคได้ ณ บ้านสวนใต้ ตำบลทุ่งหวัง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อเป็นเหล่งเรียนรู้ของชุมชน ในช่วงปี 2563-2564

จากนั้นได้ส่งมอบเมล็ดข้าวพื้นเมืองให้หน่วยงานต่างๆ ได้แก่

1. ศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติ กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

2. ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

3. สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ อาคารทรัพยากรพันธุกรรมพืชสิรินธร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมข้าวพื้นเมืองแบบระยะยาว นับเป็นการดำรงไว้ซึ่งทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทย

 

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics