“จันทรุปราคาบางส่วน” ช่วงเงามืดของโลกบังมากที่สุด  เช้าวันออกพรรษา 29 ตุลาคม 2566

“จันทรุปราคาบางส่วน” ช่วงเงามืดของโลกบังมากที่สุด  เช้าวันออกพรรษา 29 ตุลาคม 2566
Spread the love

“จันทรุปราคาบางส่วน” ช่วงเงามืดของโลกบังมากที่สุด  เช้าวันออกพรรษา 29 ตุลาคม 2566

 

            สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผยภาพ “ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน” ช่วงเงามืดของโลกบังมากที่สุด     เวลาประมาณ 03.14 น. วันที่ 29 ตุลาคม 2566 เช้าวันออกพรรษา บันทึกภาพจากหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา แม้จะยังมีฝนในหลายพื้นที่ แต่หลายภูมิภาคของไทยสามารถสังเกตเห็นปรากฏการณ์ได้อย่างชัดเจน 

            ปรากฏการณ์จันทรุปราคาในครั้งนี้  เกิดขึ้นในช่วงเช้ามืดวันที่ 29 ตุลาคม 2566  เวลาประมาณ 01:01 – 05:26 น. (เวลาท้องถิ่น ณ กรุงเทพมหานคร)  ตรงกับเช้าวันออกพรรษา ลำดับปรากฏการณ์เริ่มจากดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวของโลก เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัว ในเวลาประมาณ 01:01 น. แสงสว่างของดวงจันทร์จะลดลงเล็กน้อย สังเกตด้วยตาเปล่าได้ค่อนข้างยาก จนกระทั่งเวลาประมาณ 02:35 น. ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดของโลก เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน ดวงจันทร์เต็มดวงค่อย ๆ เว้าแหว่งไปทีละน้อย เงาโลกบังมากที่สุด เวลาประมาณ 03:14 น. ประมาณร้อยละ 6 ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ จนสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วนในเวลาประมาณ 03:52 น. รวมเวลาเกิดจันทรุปราคาบางส่วนนาน 1 ชั่วโมง 17 นาที จากนั้นดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวของโลกอีกครั้ง และสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาโดยสมบูรณ์ในเวลาประมาณ 05:26 น. ซึ่งหลายภูมิภาคของประเทศไทยสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน

            สำหรับปรากฏการณ์จันทรุปราคาที่จะสังเกตเห็นได้ในประเทศไทยครั้งถัดไป เป็น “จันทรุปราคาเต็มดวง” เกิดขึ้นในคืนวันที่ 7 ถึงเช้ามืดวันที่ 8 กันยายน 2568

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics