ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกันยายน 2566 

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกันยายน 2566 
Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกันยายน 2566              

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

 

              ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกันยายน 2566 เปรียบเทียบเดือนสิงหาคม 2566 และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

 

รายการข้อคำถาม สิงหาคม 2566 กันยายน 2566 คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 28.40 47.10 24.50 28.50 47.60 23.90 36.10 52.00 11.90
2. รายได้จากการทำงาน 27.80 47.80 24.40 27.40 46.10 26.50 33.80 46.50 19.70
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 29.80 48.40 21.80 30.40 48.80 20.80 35.80 52.10 12.10
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 28.20 44.50 27.30 28.60 45.20 26.20 37.40 45.20 17.40
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 27.00 47.20 25.80 27.40 47.50 25.10 34.10 55.80 10.10
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 25.20 47.10 27.70 25.10 46.50 28.40 34.50 49.30 16.20
7. การออมเงิน 26.00 46.60 27.40 26.20 45.10 28.70 36.20 52.10 11.70
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 27.70 46.20 26.10 27.90 46.70 25.40 35.40 48.30 16.30
9. การลดลงของหนี้สิน 27.90 47.10 25.00 27.80 47.90 24.30 37.10 48.50 14.40
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 26.50 47.20 26.30 26.80 47.60 25.60 31.40 46.50 22.10
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 25.70 45.80 28.50 25.50 46.40 28.10 32.90 45.50 21.60
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 27.10 45.30 27.60 27.30 45.70 27.00 34.30 48.50 17.20
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 28.20 47.70 24.10 28.60 47.80 23.60 35.50 45.70 18.80

   

 ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือน กรกฎาคม สิงหาคม และกันยายน 2566

รายการข้อคำถาม 2566
กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 48.60 48.20 48.90
2. รายได้จากการทำงาน 43.50 43.30 43.10
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 58.80 58.90 59.10
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 48.40 48.10 48.50
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 50.10 49.90 50.40
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 42.70 42.50 42.20
7. การออมเงิน 41.00 40.80 40.70
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 39.20 39.10 39.50
9. การลดลงของหนี้สิน 47.80 47.40 47.90
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 44.10 44.00 44.30
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 39.80 39.70 40.20
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 35.70 35.20 35.90
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 36.10 36.00 39.60
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม 44.70 44.10 45.10

ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนกันยายน (45.10) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบกับเดือนสิงหาคม (44.10) และเดือนกรกฎาคม (44.70) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว  ความสุขในการดำเนินชีวิต การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ การลดลงของหนี้สิน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  การแก้ปัญหายาเสพติด  การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยปัจจัยบวกที่สำคัญ ได้แก่ การท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเกือบ 2.5 ล้านคน สูงสูดนับตั้งแต่เริ่มกลับมาเปิดประเทศหลังจากการระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลง  อีกทั้ง การจ้างงานมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ส่งผลให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น  นอกจากนี้การดำเนินนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลชุดใหม่ยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน โดยเฉพาะมาตรการการลดภาระค่าใช้จ่าย ด้านราคาพลังงานและค่าไฟฟ้า  โครงการพักหนี้เกษตรกร   ตลอดจนการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวโดยยกเว้นการขอวีซ่า (VISA-free entry) แก่นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะจากจีน และคาซัคสถาน เป็นเวลาชั่วคราวประมาณ 5 เดือน (เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2566 ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2567) โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 4 แสนคนต่อเดือน เป็น 7 แสนคนต่อเดือนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

 

จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังและความต้องการของประชาชน มีดังนี้

  1. ประชาชนที่มีรายได้ต่ำและปานกลางส่วนหนึ่งเฝ้ารอคอยโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของตนเองและครัวเรือน ทั้งนี้ ประชาชนส่วนหนึ่งที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ และไม่เข้าใจเกี่ยวกับดิจิทัลวอลเล็ตต้องการให้ภาครัฐออกแบบการใช้ดิจิทัลวอลเล็ตแบบง่าย ๆ เช่น การใช้ผ่านบัตรประชาชน เป็นต้น
  2. ปัจจุบันสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการให้สินเชื่อเป็นอย่างมาก และมีอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ของสถาบันการเงินได้ ทั้งนี้ ประชาชนต้องการให้ภาครัฐออกนโยบายสนับสนุนแหล่งเงินทุนจากภาครัฐในการลงทุนเพื่อประกอบอาชีพ โดยให้ผู้ประกอบการขนาดเล็ก หาบเร่แผงลอยสามารถเข้าถึงได้ง่าย และมีกฎระเบียบที่ผ่อนปรนและยืดหยุ่น
  3. เกษตรกรได้รับผลกระทบจากราคาพืชผลทางการเกษตรที่ปรับตัวลดลง อาทิ ยางพาราและปาล์มน้ำมัน ในขณะที่ราคาปุ๋ยเคมี ยากำจัดศัตรูและวัชพืช กลับมีแนวโน้มราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น  ทั้งนี้ เกษตรกรต้องการให้ภาครัฐหามาตรการช่วยเหลือให้ราคาพืชผลทางการเกษตรสูงขึ้น และหามาตรกรช่วยลดต้นทุนทางการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพียงพอต่อการยังชีพ

                ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 36.10 และ 33.80 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 35.80 และ 37.40 ตามลำดับ ในขณะที่ความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น  คิดเป็นร้อยละ 34.10

34.30 และ 35.50 ตามลำดับ

                สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ และต้องการให้รัฐบาลดำเนินการอย่างเร่งด่วน ดังนี้  

  1.  ภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพแบบเร่งด่วนแบบทั่วหน้าในช่วง 1-2 เดือนนี้ ในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับโครงการคนละครึ่ง เป็นต้น

                2) การช่วยลดค่าไฟฟ้าและพลังงาน รวมถึงสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนอย่างจริงจัง

                3) การช่วยเหลือภาระหนี้สินครัวเรือนในทุกสาขาอาชีพ

                4)  การเพิ่มเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุ ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ

 

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics