ภาพสุดคมชัด “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี” คืน 27 ส.ค. 66

ภาพสุดคมชัด “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี” คืน 27 ส.ค. 66
Spread the love

ภาพสุดคมชัด “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี” คืน 27 ส.ค. 66

 

     สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผยภาพ “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี” วันที่ 27 สิงหาคม 2566 บันทึกผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.4 เมตร ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา เห็นความสวยงามของวงแหวนได้อย่างชัดเจน และเผยภาพถ่ายดาวเสาร์ฝีมือคนไทย ตลอดระยะเวลา 8 ปี แสดงให้เห็นระนาบวงแหวนของดาวเสาร์ที่เปลี่ยนไปทุกปี 

ภาพสุดคมชัด “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี” คืน 27 ส.ค. 66

 

          คืนวันที่ 27 สิงหาคม 2566 เกิดปรากฏการณ์ “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี” ดาวเสาร์โคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (Saturn Opposition) กล่าวคือ ดวงอาทิตย์ โลก และดาวเสาร์ เรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวเสาร์มีระยะใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ห่างประมาณ 1,310 ล้านกิโลเมตร เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวเสาร์จะปรากฏสว่างทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สังเกตได้ด้วยตาเปล่ายาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หลังจากนี้ดาวเสาร์จะยังคงปรากฏบนท้องฟ้าไปจนถึงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ หากคืนไหนสภาพอากาศดีจะสามารถสังเกตดาวเสาร์ได้ และจะเกิดปรากฏการณ์ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปีครั้งถัดไป ในวันที่ 8 กันยายน 2567 

ภาพสุดคมชัด “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี” คืน 27 ส.ค. 66

           สำหรับภาพถ่ายรวมดาวเสาร์ตลอดระยะเวลา 8 ปี เริ่มบันทึกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 – 2566 แสดงให้เห็นถึงระนาบวงแหวนของดาวเสาร์ที่เอียงทำมุมเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ในทุกปี จากภาพจะเห็นว่าในปี พ.ศ. 2560 เป็นช่วงที่ดาวเสาร์หันซีกเหนือเข้าหาโลกมากที่สุด ส่งผลให้สามารถชมวงแหวนของดาวเสาร์ได้อย่างชัดเจน จากนั้นดาวเสาร์ได้ค่อย ๆ เปลี่ยนไปหันซีกใต้เข้าหาโลกมากขึ้น จึงสังเกตวงแหวนของดาวเสาร์ได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งในอีกสองปีข้างหน้า ประมาณวันที่ 23 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2568 ดาวเสาร์จะปรากฏเสมือนไร้วงแหวน เนื่องจากระนาบวงแหวนจะหันเข้าหาโลกพอดี อย่างไรก็ตาม เมื่อผ่านช่วงดังกล่าวไป คนบนโลกก็จะมีโอกาสชมความสวยงามของวงแหวนแบบเต็มตาอีกครั้ง

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics