ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมีนาคม 2566

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมีนาคม 2566ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมีนาคม 2566
Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมีนาคม 2566

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

              ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมีนาคม 2566 เปรียบเทียบเดือนกุมภาพันธ์ 2566 และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

 

รายการข้อคำถาม กุมภาพันธ์ 2566 มีนาคม 2566 คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 28.70 47.60 23.70 28.90 47.20 23.90 36.10 52.00 11.90
2. รายได้จากการทำงาน 28.20 45.10 26.70 28.60 47.10 24.30 35.80 52.10 12.10
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 28.90 46.30 24.80 28.80 47.80 23.80 30.60 52.40 17.00
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 27.00 45.20 27.80 27.30 45.90 26.80 32.20 47.50 20.30
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 27.40 47.40 25.20 27.70 47.60 24.70 34.50 51.30 14.20
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 26.40 48.30 25.30 26.50 48.10 28.40 31.30 45.70 23.00
7. การออมเงิน 26.20 48.80 25.00 26.40 48.40 25.20 30.40 47.60 22.00
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 28.50 48.40 23.10 28.70 46.90 24.40 36.80 49.20 14.00
9. การลดลงของหนี้สิน 28.70 48.90 22.40 28.80 48.70 22.50 34.20 57.20 8.60
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 26.70 47.40 25.90 26.90 47.10 26.00 30.10 54.60 15.30
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 26.60 43.10 30.30 26.40 43.20 30.40 30.40 48.90 20.70
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 27.10 42.60 30.30 27.20 44.50 28.30 30.30 48.60 21.10
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 29.90 45.30 24.80 29.70 47.20 23.10 34.60 45.20 20.20
                       

   

 ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม 2566

รายการข้อคำถาม 2566
มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 48.10 48.70 48.90
2. รายได้จากการทำงาน 43.70 43.80 44.10
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 57.80 57.90 58.00
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 49.50 49.10 49.30
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 50.20 50.10 50.40
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 42.30 42.40 42.70
7. การออมเงิน 41.00 41.00 41.20
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 39.80 39.90 40.00
9. การลดลงของหนี้สิน 47.90 48.10 48.20
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 43.40 44.20 44.30
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 40.60 40.40 40.30
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 35.30 35.30 35.20
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 34.90 35.20 36.10
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม 44.60 44.80 45.10

 

ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนมีนาคม 2566 (45.10)  ปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2566 (44.80) และเดือนมกราคม 2566 (44.60) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในครอบครัว  รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว  ความสุขในการดำเนินชีวิต  ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) การออมเงิน การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ การลดลงของหนี้สิน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยปัจจัยบวกที่สำคัญ ได้แก่ ภาคการท่องเที่ยว ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวสูงกว่าที่คาดไว้เดิม ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจการบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลดีต่อการจ้างงานและรายได้ของประชาชนที่เพิ่มขึ้น  นอกจากนี้โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ได้แก่ โครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 ประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ทำให้สิทธิ์หมดภายใน 3 วัน ส่งผลให้การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทยมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย  และทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ในส่วนโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือบัตรคนจน  ถึงแม้เป็นจำนวนเงินเพียงเล็กน้อย แต่ก็สามารถช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของประชาชนได้ส่วนหนึ่ง

จากการประกาศยุบสภา และจะมีการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ ประชาชนเริ่มตระหนักและพิจารณาถึงนโยบายเศรษฐกิจที่ออกมาของพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่มีความน่าสนใจ และประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง  โดยต้องการให้รัฐบาลใหม่มีนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบเร่งด่วนและทำได้จริง โดยควรมีกำหนดเวลาดำเนินการเสร็จสิ้นอย่างชัดเจน  ทั้งนี้ นโยบายที่ประชาชนให้ความสนใจ อาทิ นโยบายเกี่ยวกับการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย พักหนี้ นโยบายเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าแรงและเงินเดือนขั้นต่ำ และการประกันรายได้   โดยประชาชนคาดหวังให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการทันทีหลังเข้ามาบริหารประเทศ

จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น  และความคิดเห็นต่อมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ มีดังนี้

  1. ประชาชนต้องการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นที่สามารถช่วยเหลือได้ในระยะยาว และสามารถช่วยเหลือประชาชนได้ในทุกภาคส่วน
  2. การเลือกตั้งรัฐบาลที่กำลังจะเกิดขึ้น  ประชาชนมีความกังวลเกี่ยวกับนโยบายที่แตกต่างกันในแต่ละพรรคการเมือง และการจับขั้วกันของพรรคการเมืองต่าง ๆ ในการจัดตั้งรัฐบาล ทั้งนี้ หากนโยบายของแต่ละพรรคไม่เหมือนกัน  ภาครัฐจะใช้นโยบายของพรรคใด และนโยบายเหล่านั้นจะสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทยหรือไม่
  3. ประชาชนมีความกังวลกับราคาสินค้าและบริการที่มีราคาสูงขึ้น ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น โดยครัวเรือนส่วนมากมองว่าค่าใช้จ่ายโดยรวมสูงขึ้น ทั้งค่าสาธารณูปโภค ไฟฟ้า และบริการสาธารณะก็ปรับตัวสูงขึ้น

                ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 36.10 และ 35.80 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 30.60 และ 32.20 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 34.50

30.30 และ 34.60 ตามลำดับ

                สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ 1) การช่วยลดค่าครองชีพ โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า  2) การช่วยเหลือภาระหนี้สินแก่กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการหาบเร่แผงลอย  และธุรกิจขนาดเล็ก  3) การเพิ่มเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุ   และ 4) การปฏิรูประบบราชการทั้งระบบ โดยเฉพาะตำรวจ

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics