ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนเมษายน 2565         

Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนเมษายน 2565               

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

 

              ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนเมษายน  เปรียบเทียบ

เดือนมีนาคม และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

 

รายการข้อคำถาม มีนาคม 2565 เมษายน 2565 คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 25.10 45.80 29.10 25.30 45.40 29.30 38.60 47.50 13.90
2. รายได้จากการทำงาน 25.40 44.60 30.00 25.60 44.20 30.20 32.80 35.70 31.50
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 26.40 45.90 27.70 26.60 44.70 28.70 35.60 45.80 18.60
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 34.30 45.20 20.50 34.20 45.70 20.10 39.60 49.80 10.60
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 26.10 47.10 26.80 26.40 47.50 26.10 34.10 55.80 10.10
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 26.30 45.60 28.10 26.50 45.80 27.70 35.40 48.30 16.30
7. การออมเงิน 25.80 47.70 26.50 25.70 47.40 26.90 37.10 48.50 14.40
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 30.70 44.70 24.60 30.40 44.30 25.30 36.50 50.40 13.10
9. การลดลงของหนี้สิน 29.80 47.10 23.10 29.60 48.70 21.70 32.10 50.70 17.20
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 24.70 45.60 29.70 24.90 45.80 29.30 30.10 54.60 15.30
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 28.20 44.30 27.50 28.00 44.80 27.20 34.60 45.20 20.20
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 27.20 45.40 27.40 27.50 45.60 26.90 30.30 48.60 21.10
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 30.20 46.20 23.60 30.50 46.40 23.10 34.20 51.20 14.60
                       

 

ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายน 2565

รายการข้อคำถาม 2565
กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 42.00 41.60 43.50
2. รายได้จากการทำงาน 38.60 38.50 40.10
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 52.00 52.30 52.80
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 39.50 39.80 43.20
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 46.90 46.80 47.30
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 38.20 38.00 40.90
7. การออมเงิน 39.50 39.20 39.10
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 42.10 41.70 41.50
9. การลดลงของหนี้สิน 49.10 48.90 48.80
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 35.00 34.90 36.40
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 47.10 47.00 46.80
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 36.90 37.00 37.10
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 32.30 32.00 32.20
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม 41.10 40.80 41.30

                ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนเมษายน 2565 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนเมษายน 2565 (41.30) ปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2565 (40.80)  และเดือนกุมภาพันธ์ (41.10) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน  รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภค  รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว  ความสุขในการดำเนินชีวิต ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยปัจจัยบวกที่สำคัญ คือ ประชาชนส่วนหนึ่งได้ใช้จ่ายเงินในการเดินทางท่องเที่ยวและเดินทางกลับภูมิลำเนา รวมถึงการเลี้ยงสังสรรค์ช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลวันสงกรานต์ ตั้งแต่วันที่ 13-17 เมษายน มีการพักค้างคืนตามสถานที่พักแรมจำนวนมาก ซึ่งโดยส่วนใหญ่ใช้ส่วนลดโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น  นอกจากนี้ในช่วงเดือนเมษายนประชาชนส่วนหนึ่งเริ่มคลายความกังวลจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และประชาชนที่ทำอาชีพค้าขายเริ่มประกอบอาชีพได้อย่างปกติมากขึ้น ส่งผลให้มีรายได้จากการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้น

                อย่างไรก็ตาม ในปีนี้การเดินทางท่องเที่ยวของคนไทยช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ฟื้นตัวจากปีที่ผ่านมา แต่การฟื้นตัวยังไม่ทั่วถึง  ทั้งนี้เพราะศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ยังต้องเฝ้าระวังการระบาดของโควิด -19 จึงผ่อนคลายให้สามารถจัดกิจกรรมประเพณีสงกรานต์ได้เพียงบางส่วน แต่ห้ามเล่นน้ำ ประแป้ง หรือปาร์ตี้โฟม เป็นต้น  อีกทั้ง ราคาอาหารและสินค้าแพงขึ้นมาก ประกอบกับประชาชนในประเทศมีกำลังซื้อที่ลดลง  และนักท่องเที่ยวต่างชาติก็ยังมีจำนวนไม่มาก ทำให้การใช้จ่ายโดยภาพรวมเพื่อการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์เฉลี่ยต่อทริปลดลงค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีก่อนมีการแพร่ระบาดของโควิด-19

จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น  แนวทางการแก้ไข และความคิดเห็นต่อมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมถึงข้อเสนอแนะต่าง ๆ มีดังนี้

  1. ประชาชนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น สาเหตุสำคัญมาจากราคาเชื้อเพลิงที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบถึงต้นทุนที่สูงขึ้นของสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ต้องปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุน ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังคงมีรายได้เท่าเดิมหรือลดลง จึงเสนอแนะให้ภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง เพื่อลดภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้นมากในขณะนี้
  2. ประชาชนส่วนหนึ่งมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ผู้ติดเชื้อยังคงมีจำนวนหลักหมื่นคนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งเดือนเมษายน ส่งผลให้อัตราผู้ติดเชื้อเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิตมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นหลักร้อยคน ซึ่งยอดผู้เสียชีวิตควรลดน้อยลงจากมาตรการป้องกันตนเอง และฉีดวัคซีนไวรัสโควิด-19 จึงเสนอแนะให้ภาครัฐหาวิธีลดอัตราผู้เสียชีวิตจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ให้ต่ำกว่าหลักร้อย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  3. เกษตรกรมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับต้นทุนปัจจัยการผลิตภาคเกษตรและปศุสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ได้แก่ ราคาปุ๋ย อาหารสัตว์ และสารเคมีทางการเกษตร เป็นต้น ถึงแม้ว่าราคาผลผลิตการเกษตรช่วงนี้จะมีราคาสูงขึ้น แต่เกษตรกรก็มีต้นทุนค่าใช้จายในการผลิตเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน จึงเสนอแนะให้ภาครัฐหามาตรการช่วยเหลือเกี่ยวกับต้นทุนปัจจัยการผลิตภาคเกษตรและปศุสัตว์ เพื่อลดภาระให้แก่เกษตรกร

                ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 38.60 และ 32.80 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 35.60 และ 39.60 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 34.10

30.30 และ 34.20 ตามลำดับ

                ปัจจัยที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ามีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันมากที่สุด คือ ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 41.60 รองลงมา คือ ภาระหนี้สินของประชาชน และการแพร่ระบาดของ    โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน คิดเป็นร้อยละ 24.70 และ 19.20 ตามลำดับ ขณะที่ปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ารัฐบาลควรรีบดำเนินการและให้ความช่วยเหลือ อันดับแรก คือ การแก้ปัญหาค่าครองชีพสูง รองลงมา คือ การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย  การแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ตามลำดับ

 

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics