ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกันยายน 2564  

Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกันยายน 2564              

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

 

              ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกันยายน เปรียบเทียบ

เดือนสิงหาคม และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

รายการข้อคำถาม สิงหาคม กันยายน คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 24.10 44.40 31.50 24.40 44.80 30.80 35.60 51.30 13.10
2. รายได้จากการทำงาน 23.30 45.70 31.00 23.50 45.90 29.60 30.40 48.90 20.70
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 24.30 48.20 27.50 24.60 48.50 26.90 34.60 45.20 20.20
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 33.40 46.30 20.30 33.60 46.10 20.30 34.70 51.70 13.60
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 26.20 47.10 26.70 26.40 47.00 26.60 32.80 54.10 13.10
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 26.10 45.20 28.70 26.30 45.60 28.10 39.70 45.10 15.20
7. การออมเงิน 25.20 44.80 30.00 25.90 44.00 30.10 36.20 47.60 16.20
8. ค่าครองชีพ 32.30 44.30 23.40 32.60 44.60 22.80 36.70 51.30 12.00
9. ภาระหนี้สิน 30.60 48.10 21.30 31.50 48.00 20.50 32.60 39.50 27.90
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 24.30 45.60 30.10 27.10 45.80 27.10 37.80 47.50 14.70
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 28.60 48.60 22.80 28.50 48.40 23.10 36.80 48.60 14.60
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 27.50 48.00 24.50 27.70 48.20 24.10 34.10 55.80 10.10
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 31.10 46.70 22.20 31.30 46.80 21.90 35.40 48.30 16.30
                       

 

 

 

 ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกรกฎาคม สิงหาคม และกันยายน 2564

รายการข้อคำถาม กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 41.20 41.10 41.90
2. รายได้จากการทำงาน 38.00 37.90 38.70
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 49.10 49.00 49.50
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 37.80 37.60 38.10
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 46.80 46.50 47.00
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 37.90 37.70 38.20
7. การออมเงิน 39.40 39.30 39.50
8. ค่าครองชีพ 44.00 43.80 44.30
9. ภาระหนี้สิน 48.40 48.90 49.10
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 34.30 34.20 34.80
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 48.40 48.20 47.90
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 36.30 36.00 36.50
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 32.30 32.20 32.40
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม 39.60 39.40 39.70

                ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกันยายน 2564 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนกันยายน (39.70) ปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม (39.40)  เดือนกรกฎาคม (39.60) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค  รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ความสุขในการดำเนินชีวิต ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) การออมเงิน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยปัจจัยบวกที่ส่งผลได้แก่ สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด -19 เดือนกันยายน มีแนวโน้มที่ดีขึ้นกว่าเดือนสิงหาคม  อีกทั้ง ผู้หายป่วยกลับบ้านมากกว่ายอดป่วยติดเชื้อโควิด-19 รายวัน ในขณะที่จำนวนผู้ได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลดังกล่าวมาจากการดำเนินงานในลักษณะบูรณาการและประสานความร่วมมือของพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วนในการระดมสรรพกำลังเพื่อควบคุมและป้องกันโรค  อีกทั้ง การบริการฉีดวัคซีนในหลายพื้นที่เป็นไปตามแผน

                ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้สรุปการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย สะสมมากกว่า 50 ล้านโดส และเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19  ให้ครอบคลุมประชาชนทั้งประเทศ ร้อยละ 80 ขึ้นไป เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่  นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก และกระจายชุดตรวจให้กับประชาชนเพื่อทำการตรวจหาเชื้อด้วยตนเอง โดยการดำเนินการและกำกับดูแลเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคในระยะยาวตามที่ได้ประกาศไว้ ได้แก่ มาตรการควบคุมโควิด-19 แนวใหม่เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างปลอดภัย  มาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล และมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร  ทั้งนี้ ภาครัฐจึงปรับมาตรการผ่อนคลายความเข้มงวดบางกรณีให้มีความเหมาะสม โดยกำหนดมาตรการควบคุมเท่าที่จำเป็น ตามระดับพื้นที่ของสถานการณ์เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และการพัฒนาประเทศ ดำเนินควบคู่กับการควบคุมโรคอย่างสมดุล ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปลายเดือนกันยายนค่อนข้างทรงตัวและมีแนวโน้มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ภาครัฐจึงออกข้อกำหนดผ่อนคลายมาตรการมาตรการล็อกดาวน์ในวันที่ 1 ตุลาคม 2564  อีกทั้ง ให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้  อีกทั้ง มีแนวทางการเปิดพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้วในบางจังหวัด และจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องในอนาคต

                จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น แนวทางการแก้ไข และความคิดเห็นต่อมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมถึงข้อเสนอแนะต่าง ๆ มีดังนี้

  1. รัฐบาลควรมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยมาตรการระยะสั้น เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ เช่น โครงการคนละครึ่ง ช้อปดีมีคืน ลดหย่อนภาษี และกระตุ้นการท่องเที่ยว ส่วนมาตรการระยะยาว มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างและรักษาฐานการผลิต ผลักดันอุตสาหกรรมใหม่ ๆ โดยการลงทุนของภาครัฐเอง และการลงทุนแบบเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) อีกทั้ง สร้างบรรยากาศการลงทุน และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว
  2. ผู้ปกครองส่วนหนึ่งมีความกังวลต่อความปลอดภัยในการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้แก่บุตรหลานที่มีอายุ 12-18 ปี โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว จึงเสนอแนะให้ภาครัฐศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ และจัดทำเป็นเอกสารชี้แจงให้แก่ผู้ปกครองได้รับทราบก่อนตัดสินใจให้บุตรหลานฉีดวัคซีนโควิด-19
  3. ประชาชนส่วนหนึ่งมีความกังวลต่อการผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มโควิด-19 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ว่าภาครัฐจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้หรือไม่ อีกทั้ง การปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของภาคธุรกิจและประชาชนจะมีความเข้มงวดเพียงใด เนื่องจากประชาชนในประเทศยังฉีดวัคซีนโควิด-19 ไม่ถึงร้อยละ 80 ซึ่งยังไม่เกิดภูมิคุ้มกันหมู่  ดังนั้น หากการควบคุมไม่ดีอาจจะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ส่งผลกระทบรุนแรงกว่าเดิม  

                ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 35.60 และ 30.40 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 34.60 และ 34.70 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 32.80 , 34.10 และ 35.40 ตามลำดับ

                ปัจจัยที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ามีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันมากที่สุด คือ มาตรการควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ 26.40 รองลงมา คือ ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ และค่าครองชีพ คิดเป็นร้อยละ 18.30 และ 15.80 ตามลำดับ ขณะที่ปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ารัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือเป็นอันดับแรก คือ การปรับมาตรการให้ธุรกิจดำเนินงานได้ปกติ  รองลงมา คือ การพักหนี้ของประชาชน การเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ และส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยว ตามลำดับ

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics