ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจ เดือนเมษายน 2560

Spread the love

 

 

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนเมษายน 2560 โดยเก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนภาคครัวเรือน ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง พบว่าเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 56.80 เพศชาย ร้อยละ 43.20 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 25-34 ปี คิดเป็นร้อยละ 31.70  และมีระดับการศึกษามัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 / ปวช. / ปวส. คิดเป็นร้อยละ 42.40            

      ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจ เดือนเมษายน เปรียบเทียบ

เดือนมีนาคม  และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

รายการข้อคำถาม มีนาคม เมษายน คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 19.10 53.60 27.30 22.60 52.10 25.30 22.60 54.90 22.50
2. รายได้จากการทำงาน 19.10 52.80 28.10 18.30 55.80 25.90 34.20 52.70 13.10
3. โอกาสในการหางานทำ/ได้งานใหม่ 14.20 52.60 33.20 12.60 55.40 32.00 21.50 57.30 21.20
4. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน 21.80 58.30 19.90 25.70 55.10 19.20 29.70 55.90 14.40
5. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่  โทรทัศน์  ตู้เย็น  ไมโครเวฟ  เครื่องเสียง  พัดลม เครื่องปรับอากาศ  เครื่องซักผ้า ฯลฯ 18.30 48.50 33.20 19.80 49.70 30.50 24.60 52.50 22.90
6. รายจ่ายที่เกี่ยวข้องด้านอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่  ซื้อ ปรับปรุง  ต่อเติม  ซ่อมแซม  บ้านและที่อยู่อาศัย 13.20 49.40 37.40 12.20 52.30 35.50 26.80 56.30 16.90
7. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ของฝาก ฯลฯ 16.30 57.80 25.90 20.60 59.60 19.80 29.70 57.40 12.90

 

 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ภาคใต้ เดือน กุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายน2560

รายการข้อคำถาม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 47.10 45.90 48.65
2. รายได้จากการทำงาน 47.60 45.50 46.20
3. โอกาสในการหางานทำ/ได้งานใหม่ 42.00 40.50 40.30
4. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน 53.40 50.95 53.25
5. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่  โทรทัศน์  ตู้เย็น  ไมโครเวฟ  เครื่องเสียง

พัดลม  เครื่องปรับอากาศ  เครื่องซักผ้า ฯลฯ

43.70 42.55 44.65
6. รายจ่ายที่เกี่ยวข้องด้านอสังหาฯ ได้แก่  ซื้อ  ปรับปรุง  ต่อเติม  ซ่อมแซม  บ้านและที่อยู่อาศัย 38.95 37.90 38.35
7. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ได้แก่  การเดินทาง  ของฝาก ฯลฯ 47.05 45.20 50.40
8.  ความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม 45.69 44.07 45.97

 

 

                     

                      ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง  ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ภาคใต้ เดือนเมษายน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม  ส่วนหนึ่งมาจากการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนจากการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์

                      ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า  รายจ่ายที่เกี่ยวข้องด้านอสังหาริมทรัพย์  โดยเฉพาะรายจ่ายด้านการท่องเที่ยวมีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องมาจากวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ ที่กระตุ้นให้ประชาชนเดินทางท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น รวมทั้งการเข้ามาเที่ยวในเทศกาลสงกรานต์ของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียและสิงคโปร์ซึ่งสร้างเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท(www.manager.co.th , 28 เมษายน 2560) และปัจจัยบวกจากนโยบายภาครัฐ ซึ่งกระทรวงการคลังได้จัดงบประมาณกว่า 3หมื่นล้านบาทต่อปี ให้เป็นสวัสดิการคนจนที่ลงทะเบียนแล้วทั่วประเทศกว่า 10 ล้านคน (www.innnews.co.th, 28 เมษายน 2560)

                      ขณะที่ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 22.60 และ 34.20 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้าจะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 29.70 เท่ากันในทั้งสองด้าน โดยคาดว่า ปัจจัยบวกจากการท่องเที่ยว เนื่องจากเดือนพฤษภาคมมีวันหยุดหลายวัน และการจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงเปิดภาคเรียนของนักเรียน ทำให้เกิดการใช้จ่ายมากขึ้น

                      ปัจจัยที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ามีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันมากที่สุด คือ ราคาสินค้าคิดเป็นร้อยละ 25.60 รองลงมา คือ ค่าครองชีพ และหนี้สินครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 23.40 และ12.50 ตามลำดับ ขณะที่ปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ารัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือเป็นอันดับแรก คือ ค่าครองชีพ รองลงมา คือ ราคาสินค้า และหนี้สินครัวเรือนตามลำดับ

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics