ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนพฤศจิกายน 2566 

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนพฤศจิกายน 2566 
Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนพฤศจิกายน 2566        

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

 

              ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนพฤศจิกายน 2566 เปรียบเทียบเดือนตุลาคม 2566 และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

 

รายการข้อคำถาม ตุลาคม 2566 พฤศจิกายน 2566 คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 28.70 47.70 23.60 28.90 47.90 23.20 37.10 48.50 14.40
2. รายได้จากการทำงาน 27.60 45.80 26.60 27.80 45.70 26.50 34.20 45.60 20.20
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 31.20 47.90 20.90 31.50 46.60 21.90 34.50 49.30 16.20
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 28.90 45.20 25.90 29.20 45.60 25.20 34.10 55.80 10.10
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 27.60 47.80 24.60 27.80 47.50 24.70 35.40 48.30 16.30
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 25.60 46.80 27.60 25.80 46.90 27.30 37.40 47.60 15.00
7. การออมเงิน 26.50 45.60 27.90 26.80 45.60 27.60 37.50 41.20 21.30
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 27.90 46.70 25.40 27.70 46.20 26.10 34.50 51.30 14.20
9. การลดลงของหนี้สิน 27.90 48.50 23.60 27.80 48.80 23.40 36.80 49.20 14.00
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 27.20 46.80 26.00 27.00 46.10 26.90 35.60 45.80 18.60
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 25.10 46.50 28.40 25.20 45.50 29.30 39.60 49.80 10.60
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 27.30 45.70 27.00 27.10 45.30 27.60 32.40 50.10 17.50
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 28.80 48.20 23.00 28.90 48.50 22.60 34.10 55.80 10.10

 

 

  

 ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกันยายน ตุลาคม และพฤศจิกายน 2566

รายการข้อคำถาม 2566
กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 48.90 49.50 49.70
2. รายได้จากการทำงาน 43.10 43.40 43.80
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 59.10 59.30 59.50
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 48.50 49.90 50.20
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 50.40 50.60 50.70
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 42.20 42.80 43.00
7. การออมเงิน 40.70 41.00 41.10
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 39.50 39.50 39.40
9. การลดลงของหนี้สิน 47.90 48.10 48.20
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 44.30 44.40 44.30
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 40.20 39.60 39.40
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 35.90 35.90 35.60
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 39.60 39.80 40.90
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม 45.10 45.50 45.80

ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนพฤศจิกายน (45.80) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบกับตุลาคม (45.50) และเดือนกันยายน (45.10) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน  รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว  ความสุขในการดำเนินชีวิต ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย)    การออมเงิน  การลดลงของหนี้สิน และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยปัจจัยบวกที่สำคัญ คือ มาตรการช่วยเหลือประชาชนของภาครัฐที่มีอย่างต่อเนื่อง อาทิ การปรับลดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินและดีเซล มาตรการพักหนี้เกษตรกร การควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ โดยเฉพาะการบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับราคาสินค้าและค่าใช้จ่ายได้ นอกจากนี้ธุรกิจที่ให้บริการทางด้านการท่องเที่ยวมีแนวโน้มที่ดีขึ้น อาทิ ธุรกิจที่พักแรม ธุรกิจอาหาร ธุรกิจให้บริการขนส่ง ฯลฯ เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูการท่องเที่ยว ทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติเดินทางท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ มากขึ้น โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อมาก   อย่างไรก็ตาม นโยบายภาครัฐเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าแรง ย่อมส่งผลให้ต้นทุนของธุรกิจต่าง ๆ ปรับตัวสูงขึ้นตาม โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงธุรกิจขนาดเล็กต่าง ๆ   เนื่องจากธุรกิจเหล่านี้ยังจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานที่รับค่าแรงขั้นต่ำจำนวนมาก  หากธุรกิจเหล่านี้มีต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้น ย่อมส่งผลทำให้ต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้น อันจะทำให้ค่าครองชีพของประชาชนปรับตัวสูงขึ้นด้วย ถึงแม้ว่าภาครัฐจะมีนโยบายปรับค่าแรงแบบทยอยปรับขึ้นก็ตาม แต่ราคาสินค้าและบริการก็จะปรับขึ้นตามค่าแรงที่มีการปรับขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับความกังวล ความคาดหวัง และความต้องการของประชาชน มีดังนี้

  1. ประชาชนที่เป็นพนักงานเอกชนมองว่า การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการเริ่มทยอยปรับขึ้นตามไปด้วย และหากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีก ย่อมส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้นอีก โดยการปรับขึ้นค่าแรงทุกครั้ง ราคาสินค้าและบริการก็จะปรับขึ้นตามเช่นกัน ทั้งนี้ ประชาชนที่เป็นพนักงานเอกชนจำนวนมากที่จบปริญญาตรีและมีรายได้ต่อเดือนไม่ถึง 12,000 บาท และไม่ได้ปรับรายได้เหมือนข้าราชการ แต่พนักงานเอกชนกลุ่มนี้ต้องรับภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากมาตรการของภาครัฐ  จึงเสนอแนะให้ภาครัฐควรคำนึงถึงกลุ่มพนักงานเอกชน ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่จบปริญญาตรีแต่มีรายได้ต่อเดือนไม่ถึง 12,000 บาท แต่ต้องแบกรับภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากนโยบายภาครัฐ ดังนั้น ภาครัฐจึงควรมีมาตรการช่วยเหลือด้วยเช่นกัน
  2. ถึงแม้ว่าประชาชนจะมีการออกมาจับจ่ายใช้สอย และเดินชมเลือกซื้อสินค้ามากขึ้น แต่จำนวนเงินที่ซื้อสินค้าของประชาชนน้อยลง เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังมีภาระหนี้สิน และมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ทำให้ประชาชนเหล่านี้จำเป็นต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด ดังนั้น ถึงแม้ว่าในงานแสดงสินค้าต่าง ๆ จะมีจำนวนคนมากขึ้น แต่การใช้จ่ายของประชาชนกลับน้อยลง ซึ่งประชาชนกลุ่มเหล่านี้ต่างเฝ้ารอเงินดิจิทัล 10,000 บาทจากภาครัฐ โดยคาดหวังว่านโยบายนี้จะเกิดขึ้นจริง “ไม่ใช่หลอกให้อยากแล้วจากไป”
  3. ประชาชนส่วนหนึ่งมีความพึงพอใจต่อมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ ลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐที่ผ่านมา   แต่ประชาชนยังมีความกังวลว่า มาตรการต่าง ๆ จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืนได้มากน้อยเพียงใด  จึงเสนอแนะให้ภาครัฐควรมีนโยบายช่วยหลือค่าครองชีพและลดค่าใช้จ่ายของประชาชนทั้งในระยะสั้น  ระยะกลาง และระยะยาวโดยนโยบายดังกล่าวควรเป็นการช่วยเหลือประชาชนแบบถ้วนหน้า และเป็นนโยบายที่ไม่ก่อให้เกิดการคอร์รัปชัน
  4. ภาคใต้เริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูมรสุม จึงมีฝนตกหนัก และเกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ สร้างความเสียหายทั้งในพื้นที่การเกษตร และส่งผลกระทบต่อร้านค้ากลางแจ้ง หาบเร่ แผงลอย ฯลฯ จึงเสนอแนะให้ภาครัฐควรมีมาตรกรป้องกันและช่วยเหลือที่เร่งด่วน โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทำงานเชิงรุกแบบบูรณาการร่วมกันในการช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

                ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 37.10 และ 34.20 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 34.50 และ  34.10 ตามลำดับ ในขณะที่ความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น  คิดเป็นร้อยละ 35.40, 32.40 และ 34.10  ตามลำดับ

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics