“กตป.” จับมือ “ม.ธรรมศาสตร์” ลงพื้นที่ภาคใต้ ศึกษาผลกระทบต่อผู้บริโภคหลัง 2 ยักษ์ค่ายมือถือ ทรู – ดีแทค ควบรวมกิจการ

"กตป." จับมือ "ม.ธรรมศาสตร์" ลงพื้นที่ภาคใต้ ศึกษาผลกระทบต่อผู้บริโภคหลัง 2 ยักษ์ค่ายมือถือ ทรู - ดีแทค ควบรวมกิจการ
Spread the love

“กตป.” จับมือ “ม.ธรรมศาสตร์” ลงพื้นที่ภาคใต้ – หาดใหญ่ สงขลา จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ
ศึกษาผลกระทบต่อผู้บริโภคหลัง 2 ยักษ์ค่ายมือถือ ทรู – ดีแทค หลังควบรวมกิจการ

              วันที่ 16 สิงหาคม 2566 ที่ โรงแรมคริสตัล หาตใหญ่ จังหวัดสงขลา นางสาวอารีวรรณ จตุทอง กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.)  ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (Public Hearing)  เรื่อง เงื่อนไข/มาตรการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภายหลังการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ทรู) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ตีแทค) ซึ่งจัดขึ้นโดยวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะที่ปรึกษาโครงการเพื่อติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลตามนโยบาย กสทช. ที่สำคัญในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี 2566

"กตป." จับมือ "ม.ธรรมศาสตร์" ลงพื้นที่ภาคใต้  ศึกษาผลกระทบต่อผู้บริโภคหลัง 2 ยักษ์ค่ายมือถือ ทรู - ดีแทค ควบรวมกิจการ

              นางสาวอารีวรรณ จตุทอง กล่าวว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ TRUE และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ประกาศต่อสาธารณะว่าการควบรวมเสร็จสมบูรณ์ โดยภายหลังการควบรวมธุรกิจจะทำให้มีฐานผู้ใช้บริการทั้งหมดรวมกันกว่า 55 ล้านเลขหมาย จากผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือทั้งหมดราว 120 ล้านหมายเลข ซึ่งการควบรวมนี้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างตลาดโทรคมนาคมไทย โดยเฉพาะในด้านการแข่งขัน เพราะลดจำนวนผู้ให้บริการหลักเหลือเพียง 2 ราย คือ TRUE และ AIS เนื่องจากผู้ใช้บริการของ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT นั้นมีเพียงประมาณ 3 ล้านเลขหมาย ขณะที่ผู้ใช้บริการของ MVNO: Mobile Virtual Network Operators (หรือผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งไม่มีใบอนุญาตประกอบการและโครงข่ายเป็นของตัวเอง มีเพียง 4 หมื่นเลขหมาย ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จึงได้มีการกำหนดเงื่อนไข/มาตรการเฉพาะทั้งก่อนและหลังการควบรวม เพื่อที่จะลดความเสี่ยงที่เกิดจากการแข่งขันที่ลดลง ซึ่งอาจจะสร้างผลเสียต่อตลาดโทรคมนาคมไทย ผู้บริโภคและสังคมโดยรวม 

"กตป." จับมือ "ม.ธรรมศาสตร์" ลงพื้นที่ภาคใต้  ศึกษาผลกระทบต่อผู้บริโภคหลัง 2 ยักษ์ค่ายมือถือ ทรู - ดีแทค ควบรวมกิจการ "กตป." จับมือ "ม.ธรรมศาสตร์" ลงพื้นที่ภาคใต้  ศึกษาผลกระทบต่อผู้บริโภคหลัง 2 ยักษ์ค่ายมือถือ ทรู - ดีแทค ควบรวมกิจการ

                นอกจากการจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะแล้ว ที่ปรึกษายังมีการเก็บรวมรวมข้อมูลโดยวิธีการอื่นอีกด้วย เช่น การสัมภาษณ์เชิงลึกและสัมภาษณ์กลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่มย่อย (หรือ focus group) การแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ และหลังจากการเก็บรวมรวมข้อมูลทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิแล้ว ปรึกษาจะสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหลักวิชาการเพื่อจัดทำเล่มรายงานประจำปีของกตป. เกี่ยวกับผลการประเมินการปฏิบัติงานของกสทช. เลขาธิการกสทช. และสำนักงานกสทช.  ซึ่งตาม พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ กำหนดให้กสทช. จะต้องนำเสนอรายงานประจำปีของกตป. ต่อรัฐสภาและเปิดเผยต่อสาธารณะเพื่อให้ประชาชนรับทราบ

"กตป." จับมือ "ม.ธรรมศาสตร์" ลงพื้นที่ภาคใต้  ศึกษาผลกระทบต่อผู้บริโภคหลัง 2 ยักษ์ค่ายมือถือ ทรู - ดีแทค ควบรวมกิจการ "กตป." จับมือ "ม.ธรรมศาสตร์" ลงพื้นที่ภาคใต้  ศึกษาผลกระทบต่อผู้บริโภคหลัง 2 ยักษ์ค่ายมือถือ ทรู - ดีแทค ควบรวมกิจการ

              ฉันเชื่อมั่นว่าทุกข้อเสนอแนะ และทุกคามเห็นได้จากการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวันนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการให้บริการ การรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลของบริการ รวมถึงการพัฒนโครงข่ายระบบโทรคมนาคมห้กิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดแก่ผู้บริโภคตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้” นางสาวอารีวรรณ กล่าว.

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics