จังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาราคายางพาราในพื้นที่จังหวัดสงขลาพร้อมพัฒนาเกษตรกรสู่ Thailand 4.0 เพื่อให้ชาวสวนยางสามารถดำรงชีวิตได้อย่างพอมีพอกินและเป็นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของสงขลาให้ไม่พึ่งพายางพารามากเกินไป โดยมีตัวแทนจากสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสงขลา สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสงขลา สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดสงขลา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา ห้างสรรพสินค้า มหาวิทยาลัย และหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมฯ ในครั้งนี้
นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า จากปัญหาราคายางพาราตกต่ำรัฐบาลมีนโยบายให้ความช่วยเหลือชาวเกษตรกรที่มีผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำลง โดยเฉพาะชาวสวนยางพารา ดังนั้นในด้านของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่รับผิดชอบโดยตรงจากรัฐบาล จึงหาแนวทางการช่วยเหลือ โดยให้เกษตรกรลดพื้นที่การปลูกยางพารา และเพิ่มปริมาณการปลูกพืชผสมผสาน หรือปลูกพืชแซมสวนยาง เพื่อให้เกษตรกรมีอาชีพเสริม สามารถสร้างรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น
โดยในการประชุมมีการหารือร่วมกับส่วนราชการและผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในเรื่องการเสริมสร้างอาชีพ และรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางพารา โดยมีการกำหนดว่ามีพืชผักชนิดใดที่จะสร้างอาชีพและรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งในวันนี้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ที่จะมีการคัดเลือกเกษตรกรและกำหนดพื้นที่ กำหนดเป้าหมาย ระยะเวลาของการปลูกชนิดของพืชผัก โดยให้ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้ามาช่วยทั้งในเรื่องการลดต้นทุน ระยะของการตลาด และในเรื่องของการ ส่งผลผลิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการไปจำหน่าย ซึ่งในการคัดเลือกจะต้องเป็นเกษตรกรที่มีความสมัครใจและก็อยากเข้าร่วมโครงการอย่างจริงจัง ที่จะเสริมสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นแก่เกษตรกรชาวสวนยางพารา โดยในเบื้องต้นจะกำหนดขั้นตอนหลักๆไว้กับเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยจะให้เกษตรกร ร่วมลงทุนซึ่งทางภาครัฐ ไม่ได้เป็นฝ่ายสนับสนุนด้านการลงทุนทั้งหมด แต่จะเป็นฝ่ายการันตีในเรื่องของพืชผัก การสร้างแบรนด์โดยจังหวัดสงขลา และจะดำเนินการหาตลาดในการวางจำหน่าย พร้อมทั้งได้เน้นย้ำว่าหากเกษตรกรยินดีเข้าร่วมโครงการ ก็จะมีการให้ความรู้ และกระบวนการในการดำเนินงานได้อย่างจริงจังและสามารถจำหน่ายได้จริง
ด้านนายทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ กล่าวว่า หากมีการส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางพารา หันมาทำเกษตรแบบผสมผสานหรือมีหน่วยงานราชการเข้ามาส่งเสริม ก็จะเป็นช่องทางหนึ่งสำหรับเกษตรกรที่จะมีรายได้เสริมหรืออาจจะเป็นรายได้หลัก แต่หากเกษตรกรยังพึ่งพาเกษตรเชิงเดี่ยวอาจส่งผลให้ชั่วโมงการทำสวนน้อยไป ทำให้เกิดเวลาว่าง ส่งผลให้มีแต่รายจ่าย รายได้น้อยลง ซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่ในการทำเกษตรเชิงเดี่ยว ทั้งนี้เกษตรกรจะต้องมีการปรับตัวใน 3 ด้าน คือ ต้องเรียนรู้ในด้านการผลิต การขาย ด้านการหาตลาดและช่องทางการจำหน่ายใหม่ๆ และด้านสุดท้ายคือการติดตามข่าวสารของเกษตรกร ที่จะต้องมีความทันสมัย รับรู้ข้อมูลข่าวสารในการทำเกษตรตามความต้องการของตลาด อีกด้วย
Facebook Comments Box