ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมีนาคม 2567

Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมีนาคม 2567

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

 

              ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมีนาคม 2567 เปรียบเทียบเดือนกุมภาพันธ์ 2567  และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

 

รายการ กุมภาพันธ์ 2567 มีนาคม 2567 คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 29.50 47.50 23.00 29.20 47.30 23.50 38.60 47.50 13.90
2. รายได้จากการทำงาน 27.80 47.50 24.50 27.40 46.70 25.90 34.10 55.80 10.10
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 31.90 47.80 20.30 31.20 47.30 21.50 35.40 48.30 16.30
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 30.20 46.30 23.50 29.50 45.10 25.40 37.10 48.50 14.40
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 27.70 48.80 23.50 27.40 47.60 25.00 30.10 54.60 15.30
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 28.90 47.70 23.40 28.40 47.20 24.40 39.60 49.80 10.60
7. การออมเงิน 27.50 45.90 26.60 27.10 45.30 27.60 32.80 35.70 31.50
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 27.50 46.10 26.40 27.30 45.60 27.10 35.60 45.80 18.60
9. การลดลงของหนี้สิน 28.60 48.90 22.50 27.40 47.20 25.40 30.30 48.60 21.10
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 26.10 46.70 27.20 26.00 46.20 27.80 33.50 49.40 17.10
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 25.00 45.50 29.50 24.60 45.20 30.20 32.10 46.30 21.60
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 26.40 46.50 27.10 26.10 46.20 27.70 35.60 45.80 18.60
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 29.80 48.10 22.10 28.70 48.00 23.30 36.50 50.40 13.10

 

  ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม 2567

รายการ 2567
มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 50.10 50.20 49.80
2. รายได้จากการทำงาน 44.30 44.50 44.10
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 59.80 60.40 60.10
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 50.90 51.00 50.30
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 51.00 51.30 50.70
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 43.50 43.70 43.40
7. การออมเงิน 41.60 41.60 41.20
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 39.30 39.20 39.10
9. การลดลงของหนี้สิน 48.70 48.80 47.90
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 44.10 44.10 44.00
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 39.00 38.70 38.50
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 35.50 35.50 35.10
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 41.40 41.50 40.80
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม 46.60 46.80 45.70

                ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมีนาคม 2567 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนมีนาคม (45.70) ปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์  (46.80) และเดือนมกราคม (46.60) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่  ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม  รายได้จากการทำงาน  รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว  ความสุขในการดำเนินชีวิต  ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย)  การออมเงิน  การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ การลดลงของหนี้สิน  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  การแก้ปัญหายาเสพติด  การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยปัจจัยบลบที่สำคัญ คือ ภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจาก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ที่ล่าช้า จึงทำให้ภาครัฐไม่มีเงินในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ส่งผลให้เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมีจำนวนน้อย ซึ่งกระทบต่อรายได้และการใช้จ่ายของประชาชน  อีกทั้ง ในเดือนมีนาคมเกิดภัยแล้งในหลายจังหวัดทำให้ผลผลิตในภาคเกษตรลดลง ส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกร ส่วนความเชื่อมั่นของประชาชนด้านสังคมที่ลดลง สาเหตุมาจากความกังวลจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในวันที่ 22 มีนาคม 2567 คนร้ายได้ก่อเหตุลอบวางระเบิดและเผาทรัพย์สินราชการและร้านค้าของเอกชนกว่า 40 จุดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

                นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายที่ลดลงของประชาชน คือ ปัญหาหนี้สินครัวเรือนของประชาชนที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาจากหลายปัจจัย โดยสรุปสาเหตุสำคัญ ดังนี้

  1. เศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ทำให้ประชาชนที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลางมีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย
  2. การส่งออกของภาคเอกชนมีการขยายตัวที่ดีขึ้น แต่รายได้จากการส่งออกกว่า 90% เป็นการส่งออกของธุรกิจขนาดใหญ่
  3. การท่องเที่ยวมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ก็ดีขึ้นเฉพาะในเขตเมืองและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ในขณะที่แหล่งท่องเที่ยวในเมืองรอง และการท่องเที่ยวชุมชนยังมีการขยายตัวค่อนข้างน้อย
  4. ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ ในขณะที่ธุรกิจขนาดเล็ก อาทิ ร้านค้า หาบเร่ แผงลอย ฯลฯ ยังได้รับประโยชน์ค่อนข้างน้อย ซึ่งประชาชนกลุ่มนี้ในประเทศมีมากกว่า 70% ที่ได้รับผลกระทบ ทำให้ประชาชนกลุ่มนี้ขาดสภาพคล่องในการใช้จ่าย และเกิดเป็นหนี้ครัวเรือน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในขณะนี้
  5. การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระของประชาชนสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ทำให้มีเงินไม่เพียงพอในการชำระหนี้ และเริ่มมีการผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากการพฤติกรรมการก่อหนี้ที่ไม่มีการวางแผน และขาดวินัยทางการเงิน

จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับความกังวล ความคาดหวัง และความต้องการของประชาชน มีดังนี้

  1. ปัญหาหนี้สินครัวเรือน สาเหตุเกิดจากค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันสูงขึ้นมาก แต่ผู้ที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลางซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศยังมีรายได้เท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ทำให้ไม่มีเงินเพียงพอในการชำระหนี้  ดังนั้น ภาครัฐควรขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นสำคัญ
  2. ผู้ประกอบการมองว่า ช่วงนี้การค้าขายไม่ค่อยดี เนื่องจากประชาชนขาดสภาพคล่องทางการเงิน ส่งผลให้ต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด จึงคาดหวังว่า นโยบายแจกเงินดิจิตอล  10,000 บาท จะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ประชาชนใช้จ่ายเงินมากขึ้น เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้น
  3. ประชาชนส่วนหนึ่งสนับสนุนแนวทางการเจรจาและเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติมาลงทุนในประเทศของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนในประเทศเป็นอย่างมาก  ทั้งนี้ ประชาชนคาดหวังว่า ในการเจรจาต่อรองใด ๆ ควรคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นสำคัญ
  4. ประชาชนที่เห็นด้วยกับแนวทางการเปิดสถานบันเทิงแบบครบวงจรมองว่า ประเทศไทยจะมีรายได้มากขึ้น อันจะนำมาสู่กาพัฒนาประเทศในอนาคต อีกทั้ง ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนในจังหวัดที่มีสถานบันเทิงครบวงจรและจังหวัดใกล้เคียง ในขณะที่ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยมองว่า การมีบ่อนคาสิโนถูกกฎหมายในประเทศ จะก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม  การค้าประเวณี ปัญหายาเสพติด  การรับส่วย และการฟอกเงินมากขึ้น  ทั้งนี้ ภาครัฐควรศึกษาผลกระทบทางบวกและทางลบ รวมถึงแนวทางป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนการตัดสินใจดำเนินการ

                ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 38.60 และ 34.10 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 35.40 และ 37.10 ตามลำดับ ในขณะที่ความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น  คิดเป็นร้อยละ 30.10, 35.60 และ 36.50 ตามลำดับ

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics