การอบรมโครงการหยุดข้อมูลลวง…Stop Fake, Spread Facts “ร่วมปลุกสังคม รู้เท่าทันข้อมูลลวง”

Spread the love

Facts-story Festival @Songkla
โครงการหยุดข้อมูลลวง…Stop Fake, Spread Facts
“ร่วมปลุกสังคม รู้เท่าทันข้อมูลลวง”
ภายใต้โครงการรณรงค์สร้างความรู้เพื่อยับยั้งและรู้เท่าทันข่าวปลอม

วันอังคารที่ มีนาคม 2566     ณ ห้องคิงส์ตั น ชั้ น 5 เฟส 3  โรงแรมคริสตัลหาดใหญ่  อ.หาดใหญ่  จ.สงขลา    นายมาหะมะพีสกรี   วาแม  รองผู้ว่าฯ สงขลา  ประธานในพิธีเปิดโครงการรณรงค์สร้างความรู้เพื่อยับยั้งและรู้เท่าทันข่าวปลอม (Stop Fake News)  พร้อมด้วย ท่านประชาสัมพันธ์จังหวัด  ผู้บริหารองค์กรภาครัฐ /ผู้บริหารสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และผู้มีเกียรติทุกท่าน

โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัญญ์ทิตา ชนะชัยภูวพัฒน์   กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการ ว่า     สำหรับโครงการรณรงค์หยุดข้อมูลลวง…Stop Fake, Spread Facts สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ได้รับทุนสนับสนุนจาก กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสงเสริมและสนับสนุนใหประชาชนมีวิจารณญาณ รู้เท่าทันข่าวสาร ข้อมูลสารสนเทศจากสื่อต่างๆ มีภูมิคุ้มกันไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ/ อีกทั้งรณรงค์ให้สื่อมวลชนทุกแขนง สื่อสารข้อมูลข่าวสารใดๆ ด้วยความปลอดภัยและสร้างสรรค์และรับผิดชอบต่อสังคม และร่วมหาแนวทางกำกับดูแลปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม

กิจกรรมในโครงการตลอดระยะเวลา 1 ปีครึ่ง
1) เราเริ่มจากการศึกษาวิจัย 4 โครงการ ขนานไปกับการจัดระดมความคิดเห็นที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นตัวแทนสื่อมวลชนและประชาชนผูรับสาร ทุกภาคทั่วประเทศ10 จังหวัด เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ร่วมกัน และพัฒนาเป็นคู่มือ ที่ประกอบด้วยภาคสื่อ และ ภาคประชาชน รวมทั้งสกัดไอเดียเป็นภาพยนตร์โฆษณา ชุด Shareman ความยาว 15 วินาทีและ 2 นาทีซึ่งออนแอร์อยู่ในขณะนี้ทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลที่ได้รับความนิยม  10 อันดับแรก 10 สถานี
2) และช่วงนี้เรามีกิจกรรม Challenge ประกวด Cilp สั้น หยุดข้อมูลลวง ตั้งสติก่อน Share  Part สุดท้าย เราจัดงาน Facts-story Festival สร้างความรู้ความเข้าใจ รู้เท่าทันและเฝ้าระวังข้อมูลลวง ทั้งสื่อมวลชนและภาคประชาสังคม ทั้งหมด 10 จังหวัด ซึ่งจัดที่กรุงเทพฯเป็นจังหวัดแรกไปแล้ว ที่สงขลา นี้ เป็นครั้งที่ 9 เพื่อการนำองค์ความรู้ ข้อมูลดีดีกลับไปในพื้นที่สร้างการเรียนรู้ร่วมกันอีกครั้ง

ข้อคิด..สั้นๆ…
1. โดยครั้งแรกเราได้รับโจทย์ให้รณรงค์เรื่อง “ข่าวปลอม” (Fake News) แต่จากการเก็บข้อมูลและทำวิจัย หลีกเลี่ยงการใช้คำนี้เพราะเป็นคำที่มีความหมายขัดแย้งกันในทางวิชาการและเชิงปฏิบัติ เป็นการลดทอนความน่าเชื่อถือของของคนในวงการวิชาชีพข่าว เพราะว่าปัญหานี้ ไม่ใช่มาจากคนในวิชาชีพนี้… จึงเสนอใช้คำว่าข้อมูลลวง หรือ ข้อมูลบิดเบือน (Misinformation / Disinformation) ซึ่งมีความหมายครอบคลุมทั้งข่าวเท็จ การโฆษณาชวนเชื่อ และข้อมูลลวงรูปแบบต่างๆ

2. นอกจากนี้ เรายังเห็นหลายองค์กรรณรงค์เรื่องการรู้เท่าทันสื่อ แต่สำหรับโครงการเรา เห็นว่าสิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ “การรู้เท่าทันตนเอง” นั่นคือ การมีสติรู้ตัวอยู่เสมอทุกขณะที่มีการสื่อสาร ซึ่งเป็น Key message ที่เราสื่อสารผ่านภาพยนตร์โฆษณาว่า ..ตั้งสติ..ก่อน Share และเป็นความภูมิใจของเราอย่างนึงว่าหนังโฆษณาที่ได้ไอเดียจากตัวแทนประชาชนและสื่อมวลชนทั่วประเทศ
แ ล ะห วังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดงาน Facts-story Festival ใน วัน นี้ ซึ่งเปรียบเสมือนเรามาฉีดวัคซีนป้องกันข้อมูลลวง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่าน และขอให้นำเอาข้อมูลดีดีไปขยายผลสื่อสารต่อเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม ทั้งเครือข่ายสื่อมวลชนและประชาชนทุกภาคส่วน

สำหรับการเสวนา : “How to Stop Fake – Spread Facts for safe Thai society ?”  เป็นการเสวนาจากมุมมองของผู้แทนองค์กรวิชาชีพสื่ออาวุโส ผู้แทนสื่อส่วนภูมิภาคผู้แทนภาครัฐ ผู้แทนเยาวชน ผู้แทนภาคประชาชนดำเนินการเสวนา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัญญ์ทิตา ชนะชัยภูวพัฒน์
ผู้ร่วมเสวนา :
1. คุณชวรงค์  ลิมป์ปัทมปาณี        ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติและที่ปรึกษาสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วราภรณ์  พรหมวิกร       ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
3. คุณเฟาซ์  เฉมเร๊ะ       บรรณาธิการข่าวสังคม ศิลปวัฒนธรรมจากสงขลาโฟกัส
4. คุณชนิศภณ  สุขแก้ว      ประธานชมรมพลเมืองโตนดด้วนอาสารักษ์ถิ่น

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics