“พิพัฒน์” สั่งลุย 5 ปี พัฒนา ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พร้อมแหล่งท่องเที่ยวรองรับเศรษฐกิจภาคใต้เติบโต

“พิพัฒน์” สั่งลุย 5 ปี พัฒนา ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พร้อมแหล่งท่องเที่ยวรองรับเศรษฐกิจภาคใต้เติบโต
Spread the love

“พิพัฒน์” สั่งลุย 5 ปี พัฒนาพื้นที่พิเศษฯ ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
เตรียมพร้อมแหล่งท่องเที่ยวมาตรฐานรองรับเศรษฐกิจภาคใต้เติบโต

“พิพัฒน์” สั่งลุย 5 ปี พัฒนา ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พร้อมแหล่งท่องเที่ยวรองรับเศรษฐกิจภาคใต้เติบโต
“พิพัฒน์” ตั้งธง 5 ปี ยกระดับพื้นที่พิเศษฯ ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา สู่ต้นแบบการท่องเที่ยวยั่งยืน พัฒนามาตรฐานและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของพื้นที่ เตรียมพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพ ที่มาพร้อมกับการเติบโตของเศรษฐกิจ จากโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้และกรอบความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ IMT-GT


วันพุธที่ 21 กันยายน 2565 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี (ICC HAT YAI) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  ประธานในพิธีเปิดกิจกรรมขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน    เพื่อสร้างการรับรู้และส่งเสริมการตลาดด้านการท่องเที่ยวพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา “มหัศจรรย์แห่งวิถีลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา สู่การเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดโดยองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน) หรือ อพท.

“พิพัฒน์” สั่งลุย 5 ปี พัฒนา ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พร้อมแหล่งท่องเที่ยวรองรับเศรษฐกิจภาคใต้เติบโต

พร้อมได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ โดยสรุปว่า พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีศักยภาพสูงทั้งด้านธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต รวมทั้งมีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สามารถสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้นักท่องเที่ยว สามารถพัฒนาและขับเคลื่อนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบที่มีการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จะดึงดูดและรองรับการเดินทางมาเยือนของนักท่องเที่ยวระดับคุณภาพสูงหลังจากได้ผลักดันให้คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ หรือ ท.ท.ช. มีการประกาศพื้นที่พิเศษ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 และได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2565 จึงได้มอบหมายให้ อพท. เป็นหน่วยงานประสานความร่วมมือกับทุกภาคีเครือข่าย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และชุมชนในพื้นที่ ร่วมกันดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษฯ เพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวได้ใช้ทรัพยากรบุคคล งบประมาณ และอำนาจหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ ทั้งด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ผังเมือง การรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การสาธารณสุข การรักษาความสะอาด และความปลอดภัย อีกทั้ง อพท. จะได้มีโอกาสเข้ามาร่วม พัฒนาเพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่ากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยมีแผนปฏิบัติการในการบริหารจัดการการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและเป็นกลไกในการขับเคลื่อนร่วมกัน


การพัฒนาพื้นที่พิเศษฯ แห่งนี้ จะเป็นไปเพื่อการยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวให้กับแหล่งท่องเที่ยว และประชาชนคนในพื้นที่ให้มีมาตรฐานการจัดการแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานสากล ตามหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria หรือ GSTC) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ อพท. นำมาใช้กับการพัฒนาเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นการพัฒนาเพื่อเตรียมพร้อมในการรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ตามกรอบความร่วมมือโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย หรือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ Indonesia-Malaysia  – Thailand Growth Triangle : IMT-GT  ที่มีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้สู่นานาชาติ 5 จังหวัด คือ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และจังหวัดในภาคใต้ตอนล่างซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะได้รับผลประโยชน์จากการเชื่อมโยงการพัฒนากับระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ตามนโยบายรัฐบาล หรือ Southern Economic Corridor (SEC) โดยการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวถือเป็นนโยบายระดับชาติ และเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาชุมชน กระจายรายได้ และลดช่องว่างทั้งในมิติสังคมและเศรษฐกิจทั้งนี้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 5 ปี(พ.ศ. 2566-2570) จะขับเคลื่อนผ่าน 5 ยุทธศาสตร์ภายใต้การดำเนินงานกว่า 270 โครงการ และกระจายงบประมาณไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อใช้ในการเสนอขอตั้งงบประมาณรวมกว่า 5 พันล้านบาท

***อพท. นำเกณฑ์มาตรฐาน พัฒนาสู่ความยั่งยืน***
นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี  ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กล่าวว่า อพท. กำหนดจัดกิจกรรมขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างการรับรู้และส่งเสริมการตลาดด้านการท่องเที่ยวพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา “มหัศจรรย์แห่งวิถีลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา สู่
การเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” รวม 2 ครั้ง โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 1 มีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 200 คน และกำหนดจัดครั้งที่ 2 ในวันที่ 17 ตุลาคม 2565 ณ จังหวัดพัทลุง เพื่อต้องการสร้างการรับรู้ และการมีส่วนร่วมให้เกิดในพื้นที่พิเศษแห่งนี้ เป็นการสร้างโอกาสการพัฒนาเครือข่ายและส่งเสริม
การตลาด การยกระดับและเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา นำไปสู่การเพิ่มและกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนและท้องถิ่น
สำหรับปีงบประมาณ 2566 อพท. จะเริ่มเข้าไปขับเคลื่อนงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยประสานหน่วยงานและภาคีเครือข่าย ให้นำเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล อย่างหลักเกณฑ์การท่องเที่ยว
อย่างยั่งยืนโลก หรือ Global Sustainable Tourism Criteria: GSTC เกณฑ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย หรือ CBT Thailand และมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Tourism Management Standard: STMS มาพัฒนาและยกระดับให้กับแหล่งท่องเที่ยว ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


โดย อพท. มีเป้าหมายดำเนินการพัฒนามาตรฐาน และสร้างความน่าสนใจให้กับแหล่งท่องเที่ยวรวมถึงการบริการในแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาหลักด้านการท่องเที่ยว หรือ Pain Points โดยมุ่งเน้นการพัฒนาที่ได้ตามมาตรฐานของกรมการท่องเที่ยวทั้งในประเภทแหล่งธรรมชาติ
แหล่งประวัติศาสตร์ และแหล่งวัฒนธรรม เน้นการปรับปรุงและออกแบบโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสมปลอดภัยสำหรับทุกคน (Universal design) การขับเคลื่อนในช่วงต้นนี้ จะควบคู่ไปกับการเสนอชื่อเมืองที่มีศักยภาพให้เข้าสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO ซึ่งจะทำให้เห็นภาพการพัฒนาที่ชัดเจน เนื่องจากการคาดการณ์สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศจะเริ่มเข้าสู่การฟื้นตัว และพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาก็พร้อมรองรับนักท่องเที่ยว โดยคาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวในพื้นที่ของ 3 จังหวัด คือ สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช จะมีการเติบโตเฉลี่ยปีละ 4-5% เกิดรายได้กระจายลงสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ ยังได้จัดเสวนา หัวข้อ ทิศทางเล เสน่ห์ลุ่มน้ำ การท่องเที่ยวทะเลสาบสงขลาจะเป็นอย่างไร เมื่อได้เป็นพื้นที่พิเศษ โดยมี

1. นายอำพล  พงศ์สุวรรณ  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา

2.นาวาอากาศเอก อธิคุณ  คงมี ผู้อำนวยการ อพท.

3.นางสาวฐาปนีย์  เกียรติไพบูลย์  รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

4.นายนพดล  ชูพล  ที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา

5. รศ.ดร.ฉัตรไชย  รัตนไชย  ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายและลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา  

ดำเนินรายการโดย ดร.นราวดี  บัวขวัญ  รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics