ศอ.บต. ติดอาวุธทางปัญญาแก่เกษตรกรเลี้ยงโค จ.ยะลา ยกระดับโคเนื้อชายแดนใต้ ภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาล

Spread the love

ศอ.บต. ติดอาวุธทางปัญญาแก่เกษตรกรเลี้ยงโค จ.ยะลา ยกระดับโคเนื้อชายแดนใต้ ภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาล

ศอ.บต. ติดอาวุธทางปัญญาแก่เกษตรกรเลี้ยงโค จ.ยะลา ยกระดับโคเนื้อชายแดนใต้ ภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาล

วันนี้ (4 สิงหาคม 2565) ณ ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดยะลา ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จัดกิจกรรมยกระดับฟาร์มปศุสัตว์ฮาลาลโคเนื้อชายแดนใต้ เพื่อความยั่งยืน เชื่อมโยงฮาลาลโลก เพื่อติดอาวุธทางปัญญาแก่เกษตรกรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในพื้นที่จังหวัดยะลาเข้าร่วมกว่า 500 คน

ศอ.บต. ติดอาวุธทางปัญญาแก่เกษตรกรเลี้ยงโค จ.ยะลา ยกระดับโคเนื้อชายแดนใต้ ภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาล

สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และปศุสัตว์ในพื้นที่ปัจจุบัน ซึ่งขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์ มีจำนวนทั้งสิ้น 93,412 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 8.17 ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในประเทศ โดยแบ่งเป็น 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโค จำนวน 18,020 คน จังหวัดสงขลา 27,186 คน จังหวัดสตูล 7,939 คน จังหวัดยะลา 17,418 คน และจังหวัดนราธิวาสมีเกษตรกรเลี้ยงโค จำนวน 22,849 คน ซึ่งพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องการพัฒนาคุณภาพเนื้อไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากเกษตรกรขาดความรู้ เงินทุน รวมถึงต้นทุนค่าอาหารสัตว์สูง ศอ.บต พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงดำเนินการจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้น เพื่อติดอาวุธทางปัญญาแก่เกษตรกรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขับเคลื่อนจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ไปสู่เมืองปศุสัตว์ ภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

กิจกรรมยกระดับฟาร์มปศุสัตว์ฮาลาลโคเนื้อชายแดนใต้ เพื่อความยั่งยืน เชื่อมโยงฮาลาลโลก เป็นการจัดกิจกรรมเพิ่มความรู้หลักสูตรการเลี้ยงโคเนื้อและการผลิตโคเนื้อคุณภาพสูง เพื่อพัฒนาความรู้การเลี้ยงโคเนื้อและการผลิตโคเนื้อคุณภาพสูง พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่นำความรู้ไปใช้ในการสร้างรายได้จากอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อ และสามารถลดต้นทุนการผลิตโคเนื้อได้ โดยมีกำหนดจัดกิจกรรมใน 5 รุ่น 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในแต่ละจังหวัดจะมีกลุ่มเกษตรกร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคเข้าร่วมรับฟังการเลี้ยงโคที่มีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการของตลาดในแต่ละจังหวัดจำนวนมาก

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics