เทศบาลนครหาดใหญ่จับมือทุกภาคส่วน เปิดศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยฯ ประกาศความพร้อมในการรับมือสถานการณ์ในช่วงฤดูฝน
เทศบาลนครหาดใหญ่ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เปิดศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยเทศบาลนครหาดใหญ่ ประจำปีงบประมาณ 2565 ในวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 ณ หอประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อประกาศความพร้อมในการรับมือสถานการณ์ในช่วงฤดูฝน โดยบูรณาการการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่จากทุกสังกัดภายในเทศบาลนครหาดใหญ่ ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ในการเตรียมความพร้อมด้านการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยหรือสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที
โดยมี นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าฯ สงขลา ประธานในพิธีเปิดศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย และมี พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ เป็นผู้อำนวยการในการบริหารจัดการ พร้อมด้วย รองนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ ปลัดเทศบาล รองปลัดเทศบาลฯ สมาชิกสภาฯ รวมทั้งตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนที่เป็นภาคีเครือข่าย ร่วมในพิธี
ศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยฯ ดำเนินการภายใต้โครงการป้องกันและแก้ปัญหาอุทกภัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 สำหรับเป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารและประสานงานกับหน่วยงานทั้งภาครัฐภาคเอกชนและภาคประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ ซึ่งแบ่งการปฏิบัติงานออกเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายเตรียมการป้องกันฯ ฝ่ายปฏิบัติการฯ และฝ่ายฟื้นบูรณะ โดยมุ่งเน้นให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานเชิงป้องกันก่อนเกิดภัย ครอบคลุมทุกมิติ อาทิ
- จัดกิจกรรม “Kick Off ปล่อยขบวน รื้อลอกคู ป้องกันอุทกภัย” ในวันที่ 14 กันยายน 2564 โดยระดมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการแก้ไขจุดอ่อนน้ำท่วมขัง ป้องกันจุดเสี่ยงในพื้นที่ เช่น รื้อลอกคูคลอง สร้างทางระบายน้ำ ตลอดจนล้างทำความสะอาด เก็บขยะ กำจัดวัชพืช และดำเนินการต่อเนื่องให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 4 เขต
- สำรวจ ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือ อุปกรณ์ ยานพาหนะ เรือท้องแบน เจ็ทสกี สถานีสูบน้ำ และเครื่องสูบน้ำประจำที่ ตลอดจนจัดชุดเคลื่อนที่เร็วเตรียมพร้อมแก้ปัญหาน้ำท่วมขังเมื่อได้รับการแจ้งเหตุ
- เตรียมความพร้อมด้านสถานที่ ดังนี้
– ศูนย์อพยพผู้ประสบภัย เทศบาลนครหาดใหญ่ จำนวน 5 ศูนย์ ได้แก่
พื้นที่เขต 1 ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1 (เอ็งเสียงสามัคคี) และโรงเรียนเทศบาล 3 (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) รวมจำนวนที่รองรับผู้อพยพได้ 1,700 คน
พื้นที่เขต 2 ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดคลองเรียน) รองรับผู้อพยพได้ 500 คน
พื้นที่เขต 3 ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านหาดใหญ่) รองรับผู้อพยพได้ 300 คน
พื้นที่เขต 4 ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุขโรงเรียนเทศบาล 5 รองรับผู้อพยพได้ 250 คน
– สถานที่อพยพ กระจายครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 4 เขต รวมจำนวนที่รองรับผู้อพยพได้กว่า 17,000 คน
– สถานที่จอดรถ กระจายครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 4 เขต รวมจำนวนที่รองรับรถได้กว่า 30,000 คัน
– บ้านพี่เลี้ยง มิติความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครหาดใหญ่ สมาชิกสภาเทศบาลและชุมชน ในการให้ที่พักพิงยามเกิดภัย แบ่งเป็นขนาด M , L , XL , XXL ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 4 เขต รวมจำนวน 111 หลัง รองรับผู้อาศัยได้จำนวน 3,046 คน
- เตรียมความพร้อมหน่วยให้บริการสาธารณสุขเคลื่อนที่ และตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางในแต่ละชุมชน ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขต้องเข้าไปช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุ รวมจำนวน 184 คน
- จัดเตรียมจุดบริการกระสอบทราย ดังนี้
- พื้นที่เขต 1 และเขต 2 จุดบริการ ณ สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ (เรือนเพาะชำ) จำนวน 50,000 ถุง
- พื้นที่เขต 3 และเขต 4 จุดบริการ ณ สนามกีฬากลางจิระนคร (หลังสนาม) จำนวน 50,000 ถุง
- จัดเตรียมช่องทางติดต่อและติดตามข้อมูลข่าวสาร และการเฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัย ตลอด 24 ชั่วโมง ดังนี้
– ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย เทศบาลนครหาดใหญ่ โทร 074–200005-7
– สายด่วนกุญชร โทร 074-200000
– สถานีวิทยุเทศบาลนครหาดใหญ่ FM 96.0 Mhz. โทร 074-200096
– Line@ ได้แก่ 1.@hatyaicity 2.Hotline200000
1.เทศบาลนครหาดใหญ่
2.สายด่วนกุญชร200000 เทศบาลนครหาดใหญ่
3.สถานีวิทยุเทศบาลนครหาดใหญ่ FM 96.0 Mhz.
– Website
1.www.hatyaicity.go.th เทศบาลนครหาดใหญ่
2.www.hatyaicityclimate.org สำหรับเฝ้าระวังน้ำท่วม
3.www.hatyaicity.iot.in.th สำหรับติดตามระดับน้ำจากสถานีสูบน้ำ
– ป้ายเตือนอุทกภัย จำนวน 12 จุด
1.หน้าสำนักงานเทศบาลนครหาดใหญ่ 2.สนามกีฬากลาง จิระนคร)
3.สะพานข้ามคลองเตย ถนนราษฎร์ยินดี 4.สะพานริมคลอง ถนนราษฎร์ยินดีซอย 7/1
5.สะพานท่าเคียน 6.สะพานจันทร์วิโรจน์
7.หน้าศาลาลุงทอง 8.หน้าโรงเรียนเทศบาล 2
9.สะพานข้ามคลอง ร.1 10.สะพานอู่ตะเภา ฝั่งที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่
11.สนามชุมชนบางหัก ถนนสาครมงคล 12.โชคสมาน 5 ซอย 7
เครือข่ายเสียงตามสายวิทยุชุมชน จำนวน 28 ชุมชน