ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนเมษายน 2564 

Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนเมษายน 2564               

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

 

              ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนเมษายน เปรียบเทียบ

เดือนมีนาคม และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

 

รายการข้อคำถาม มีนาคม เมษายน คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 25.20 47.60 27.20 24.80 47.40 27.80 37.10 42.60 20.30
2. รายได้จากการทำงาน 25.50 47.30 27.20 25.30 48.20 26.50 34.70 51.70 13.60
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 36.40 44.20 19.40 25.10 46.30 28.60 32.80 54.10 13.10
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 25.40 46.70 27.90 36.60 44.10 19.30 39.70 45.10 15.20
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 27.20 48.10 24.70 26.80 47.70 25.50 34.60 45.20 20.20
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 27.30 47.60 25.10 27.10 46.20 26.70 30.40 48.90 20.70
7. การออมเงิน 27.10 47.50 25.40 26.60 46.90 26.50 32.40 50.10 17.50
8. ค่าครองชีพ 33.80 47.90 18.30 32.50 46.30 21.20 39.60 49.80 10.60
9. ภาระหนี้สิน 28.60 47.40 24.00 28.80 46.20 25.00 30.10 54.60 15.30
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 25.80 45.60 28.60 25.10 44.70 30.20 32.90 45.50 21.60
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 27.40 48.50 24.10 28.10 47.20 24.70 35.20 45.40 19.40
12. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 21.80 46.80 31.40 20.70 46.10 33.20 33.50 46.80 19.70
13. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 26.80 47.40 25.80 27.40 48.10 24.50 27.10 47.60 25.30
                       

 

     ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกุมภาพันธ์  มีนาคม และเมษายน 2564

รายการข้อคำถาม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 42.70 42.30 42.10
2. รายได้จากการทำงาน 39.50 39.10 38.70
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 49.10 48.90 49.30
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 39.50 38.60 38.70
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 49.30 48.80 47.90
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 39.20 38.70 38.40
7. การออมเงิน 41.80 41.50 41.30
8. ค่าครองชีพ 43.40 43.80 43.60
9. ภาระหนี้สิน 46.80 47.20 47.50
 10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 35.10 35.00 34.80
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 47.90 47.80 47.90
12. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 33.60 33.10 33.00
13. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 36.70 36.40 36.50
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม 42.60 42.10 41.70

                ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนเมษายน 2564 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนเมษายน (41.70) ปรับตัวลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม  (42.10) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม  รายได้จากการทำงาน  รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ความสุขในการดำเนินชีวิต ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) การออมเงิน ค่าครองชีพ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ  โดยปัจจัยลบที่สำคัญมาจากสถานการณ์โควิด-19 เดือนเมษายน ซึ่งได้กลับมารุนแรงกว่าในระลอกก่อนหน้านี้ โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันทั่วประเทศเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับหลักพันคนต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน  โดยศูนย์กลางการระบาดในระลอก 3 นี้มาจากสถานบันเทิงในกรุงเทพฯ และกระจายไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว  โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดสงกรานต์ประชาชนได้เดินทางท่องเที่ยวและเดินทางกลับภูมิลำเนา ซึ่งในขณะนั้นภาครัฐไม่ได้มีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดมากนัก ส่งผลให้เกิดการแพร่เชื้อโควิด-19 ไปสู่คนในทุกสาขาอาชีพ

                จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ทำให้ประชาชนมีความคิดเห็นที่เปลี่ยนไปจากเดิมที่มองว่าภาครัฐซึ่งนำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นากยกรัฐมนตรี มีความสามารถในการบริหารจัดการและแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ดีเป็นที่ยอมรับของคนไทยและนานาประเทศ  แต่ในขณะนี้กลับมองว่า ภาครัฐไม่ได้เก่งอย่างที่คิด มุ่งเน้นแต่การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และขาดมาตรการการป้องกันที่ดี ไม่ศึกษาบทเรียนที่เกิดขึ้นจากต่างประเทศ รวมถึงปล่อยให้ข้าราชการตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครองบางกลุ่มแอบรับส่วย และสินบนจากการลักลอบเปิดบ่อนการพนัน  การลักลอบเข้าประเทศ การเปิดสถานบันเทิงโดยขาดมาตรการป้องกันที่ปลอดภัย  ซึ่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 นี้นับว่ารุนแรงที่สุด และทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำถึงขีดสุด ส่งผลต่อการขาดรายได้ และหนี้ที่เพิ่มขึ้นของประชาชนและภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก

                จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น แนวทางการแก้ไข และความคิดเห็นต่อมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมถึงข้อเสนอแนะต่าง ๆ มีดังนี้

  1. รัฐบาลควรจะต้องเร่งออกมาตรการเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคธุรกิจและภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะความชัดเจนในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค เพราะหากปล่อยให้สถานการณ์แพร่ระบาดยืดเยื้อเนิ่นนานออกไป ไม่เพียงกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของธุรกิจ และการบริโภคภาคครัวเรือนเท่านั้น แต่อาจกระทบต่อการฟื้นตัวของธุรกิจท่องเที่ยว โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวปลายปีนี้ที่จะเป็นความหวังในการช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย และขยายต่อเนื่องไปยังปีหน้าอีกด้วย
  2. การเร่งปูพรมกระจายฉีดวัคซีนเป็นภารกิจเร่งด่วน เนื่องจากระบบสาธารณสุขไทยมีขีดจำกัดในการรองรับผู้ติดเชื้อ หากจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันยังอยู่ในระดับสูงมากกว่าพันคนอย่างต่อเนื่องเป็นเดือน ๆ อาจเกิดภาวะระบบสาธารณสุขล่ม ซึ่งในปัจจุบันก็เริ่มเห็นหลายโรงพยาบาลเผชิญกับปัญหาเตียงผู้ป่วยเต็ม และขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์  อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้เป็นปกติเหมือนเมื่อก่อน ทำให้เกิดสภาวะผู้ป่วยตกค้าง ไม่สามารถเข้ารับการรักษาได้ ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมกันบูรณาการข้อมูลซึ่งกัน แบบ one stop service  เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. ต้นเหตุของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งแรกมาจากสนามมวยและสถานบันเทิง ส่วนการระบาดในระลอก 2 มาจากบ่อนการพนัน และสถานบันเทิง  และในระลอก 3 ที่แพร่ระบาดมากที่สุด ก็มาจากสถานบันเทิง ทำให้เกิดการแพร่กระจายไปยังแหล่งชุมชนอื่น และคนในครอบครัว  โดยประชาชนมองว่าภาครัฐแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำลงไปอีก  ซึ่งหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้แล้ว  ขอให้พลเอกประยุทธ์ออกคำสั่งตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปิดสถานบันเทิง พับ เธค บาร์ คาราโอเกะ และสถานการณ์บริการที่สุ่มเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโควิด-19 เพื่อให้ธุรกิจอื่น ๆ ดำเนินต่อไปได้  จนกว่าประชาชนจะได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครอบคลุมทั้งประเทศ

ขณะที่ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 37.10 และ 34.70 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 32.80 และ 39.70 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 34.60 , 33.50 และ 27.10 ตามลำดับ

                 ปัจจัยที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ามีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันมากที่สุด คือ ราคาสินค้า คิดเป็นร้อยละ 29.30 รองลงมา คือ ค่าครองชีพ และราคาพืชผลทางการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 25.20 และ 13.40 ตามลำดับ ขณะที่ปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ารัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือเป็นอันดับแรก คือ ราคาสินค้า

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics