จังหวัดสงขลา ประชุมเตรียมความพร้อมการจัดหาพื้นที่ สำหรับการก่อสร้างศูนย์พักพิงชั่วคราวแก่ผู้ประสบภัย

Spread the love

จังหวัดสงขลา ประชุมเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯของกระทรวงมหาดไทยในการดำเนินการจัดหาพื้นที่ที่มีความพร้อมสำหรับการก่อสร้างศูนย์พักพิงชั่วคราวแก่ผู้ประสบภัย

วันนี้ (21 พ.ค. 62) ที่ห้องประชุมเฟื่องฟ้า ศาลากลางจังหวัดสงขลา นายไพโรจน์  จริตงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานประชุม เตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ของกระทรวงมหาดไทยในการดำเนินการจัดหาพื้นที่ที่มีความพร้อมสำหรับการก่อสร้างศูนย์พักพิงชั่วคราวแก่ผู้ประสบภัย โดยมีนายเชาวลิต นิฒรรัตน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา นายนพพร หนูเพชร นายอำเภอสทิงพระ นายชาตรี ณ ถลาง นายอำเภอระโนด นายผดุงเดช ลือปิยะพาณิชย์ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด นายถมยา ศรีประสม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสงขลาและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดสงขลา สำนักงานธนารักษ์พื้นที่สงขลาและสำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลาเข้าร่วม

นายไพโรจน์ จริตงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า  กระทรวงมหาดไทยได้เสนอโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ รัชกาลที่ 10 โดยการสร้างศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้ประสบภัยในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล จำนวน 7 จังหวัด (12 แห่ง) โดยจังหวัดสงขลาได้รับงบประมาณในการก่อสร้าง 1 แห่ง พระองค์ได้ทรงพระราชทานเงินในการดำเนินการก่อสร้างอาคารใช้งบประมาณ แห่งละ 20 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้รับเงินพระราชทานบริจาคดังกล่าว โดยได้มอบหมายให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดบัญชีเงินฝากสำหรับเงินพระราชทานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอให้จังหวัดจัดหาพื้นที่ที่มีความพร้อมสำหรับการก่อสร้างศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้ประสบภัย จำนวน 1 แห่ง ขนาดพื้นที่ไม่น้อยกว่า 4 ไร่และส่วนที่แคบต้องไม่น้อยกว่า 50 เมตร ไม่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม รถขนาดใหญ่สามารถเข้าถึงได้และมีสาธารณูปโภครองรับ เช่น ประปา ไฟฟ้า เป็นต้น พร้อมทั้งขอให้จังหวัดสงขลาจัดส่งรายละเอียด ได้แก่ภาพถ่ายสถานที่จริง พิกัดดาวเทียม แผนผังบริเวณสถานที่ก่อสร้าง เส้นทางคมนาคม ระยะห่างจากเหตุภัยพิบัติให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต่อไป

              ด้านนายเชาวลิต นิฒรรัตน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา กล่าวว่า สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา ได้ลงพื้นที่สำรวจสถานที่เพื่อจัดเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ของกระทรวงมหาดไทยในการจัดหาพื้นที่ทีมีความพร้อมสำหรับการก่อสร้างศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้ประสบภัย จำนวน 1 แห่ง คือพื้นที่อำเภอสทิงพระและพื้นที่อำเภอระโนด โดยพื้นที่อำเภอสทิงพระ มีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการก่อสร้าง ซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์มีขนาดพื้นที่ 14 ไร่ พื้นที่กว้าง 100 เมตร และยาว 400 เมตร มีที่ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระเป็นพื้นที่ที่อยู่ในความครอบครองของเจ้านักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด อยู่ห่างจากทะเลประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วม อีกทั้งเส้นทางการคมนาคมห่างจากถนนสายสงขลา-ระโนด ประมาณ 100 เมตร รถขนาดใหญ่สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้สะดวกและมีสาธารณูปโภครองรับ อีกทั้ง ผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา มีความพร้อมเพรียงและมีความต้องการที่จะให้ก่อสร้างศูนย์พักพิงชั่วคราวในพื้นที่เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวติดกับวัดดีหลวงซึ่งผู้ประสบภัยเคยอพยพมาพักพิงชั่วคราว ณ วัดแห่งนี้ ซึ่งหากมีการก่อสร้างศูนย์พักพิงในพื้นที่ดังกล่าว จะก่อให้เกิด เป็นประโยชน์ แก่ประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป ซึ่งขณะนี้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอยู่ในระหว่างการน้ำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของมหาเถรสมาคม

พื้นที่อำเภอระโนด โรงเรียนบ้านมหาการเฉียงพง เลขที่ 2 ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ 33 ตารางวา พื้นที่กว้าง 100 เมตร และยาว 100 เมตร อยู่ห่างจากทะเลประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วม อีกทั้งเส้นทางการคมนาคม ห่างจากถนนสายสงขลา ระโนดประมาณ 5 กิโลเมตร รถขนาดใหญ่สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้สะดวก และมีสาธารณูปโภครองรับ พื้นที่อยู่ในความ

ดูแลรับผิดชอบของโรงเรียนบ้านระโนต (ธัญเจริญ) ซึ่งเป็นพื้นที่ราชพัสดุที่อยู่ในความครอบครองของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 1 ซึ่งขณะนี้ กรมธนารักษ์ได้มีการจัดทำหนังสือสอบถามการใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุที่อยู่ในความครอบครองของสถานศึกษาที่ได้ยุบเลิกและไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนแล้ว

และพื้นที่อำเภอระโนด องค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอน หมู่ที่ 3 ตำบลท่าบอนอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ 1 งาน 98 ตารางวา พื้นที่กว้าง 84 เมตร และยาว 100 เมตรอยู่ห่างจากทะเลประมาณ 1.3 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วม อีกทั้ง เส้นทางการคมนาคม ห่างจากถนนสายสงขลา -ระโนด ประมาณ 500 เมตร ถนนคอนกรีตกว้าง 8 เมตร รถขนาดใหญ่สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้สะดวกและมีสาธารณูปโภครองรับ

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics