ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจ เดือนตุลาคม 2560

Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจ เดือนตุลาคม 2560

 

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจ ในเดือนตุลาคม 2560  เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนภาคครัวเรือน ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง พบว่า เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 53.20 เพศชาย ร้อยละ 46.80 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 25-34 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.70  และมีระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 31.10    

 

      ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจ เดือนตุลาคม เปรียบเทียบ

เดือนกันยายน  และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

รายการข้อคำถาม กันยายน ตุลาคม คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 24.40 58.40 17.20 23.10 55.20 21.70 32.50 59.60 7.90
2. รายได้จากการทำงาน 17.20 52.60 30.20 15.80 49.50 34.70 34.30 52.30 13.40
3. โอกาสในการหางานทำ/ได้งานใหม่ 9.20 49.10 41.70 9.30 47.30 43.40 27.40 56.50 16.10
4. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน 24.60 57.20 18.20 23.30 55.30 21.40 36.40 45.50 18.10
5. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่  โทรทัศน์  ตู้เย็น  ไมโครเวฟ  เครื่องเสียง  พัดลม เครื่องปรับอากาศ  เครื่องซักผ้า ฯลฯ 13.80 53.10 33.10 11.30 55.60 33.10 25.20 50.30 24.50
6. รายจ่ายที่เกี่ยวข้องด้านอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่  ซื้อ ปรับปรุง  ต่อเติม  ซ่อมแซม  บ้านและที่อยู่อาศัย 10.80 50.60 38.60 10.20 46.50 43.30 26.40 50.20 23.40
7. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ของฝาก ฯลฯ 24.60 57.70 17.70 26.60 58.90 14.50 43.30 52.10 4.60

 

 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ภาคใต้ เดือน  สิงหาคม กันยายน และตุลาคม 2560

รายการข้อคำถาม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 50.75 53.60 50.70
2. รายได้จากการทำงาน 46.05 43.50 40.55
3. โอกาสในการหางานทำ/ได้งานใหม่ 34.10 33.75 32.95
4. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน 56.45 53.20 50.95
5. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่  โทรทัศน์  ตู้เย็น  ไมโครเวฟ  เครื่องเสียง

พัดลม  เครื่องปรับอากาศ  เครื่องซักผ้า ฯลฯ

38.80 40.35 39.10
6. รายจ่ายที่เกี่ยวข้องด้านอสังหาฯ ได้แก่  ซื้อ  ปรับปรุง  ต่อเติม  ซ่อมแซม  บ้านและที่อยู่อาศัย 34.35 36.10 33.45
7. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ได้แก่  การเดินทาง  ของฝาก ฯลฯ 49.90 53.45 56.05
8. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม  44.34 44.85 43.39

                      ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ภาคใต้ เดือนตุลาคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวลดลงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน ส่วนหนึ่งมาจากรายได้จากภาคเกษตรที่ปรับตัวลดลง

                      ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงานโอกาสในการหางานทำ/ได้งานใหม่ รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องด้านอสังหาริมทรัพย์ เนื่องมาจากปัจจัยของสินค้าเกษตร ยางพาราและปาล์มน้ำมันที่มีแนวโน้นลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งเดือนตุลาคม โดยน้ำยางพาราสดมีราคา 42.50 บาท ซึ่งราคาลดลงถึง 5.50 บาทต่อกิโลกรัม (การยางแห่งประเทศไทย) ส่งผลให้รายได้ของประชาชนลดลง ประกอบกับประชาชนมีความกังวลและระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าต่าง ๆ

                      อย่างไรก็ตามดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคด้านรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ได้แก่  การเดินทาง  ของฝาก ฯลฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น  เนื่องมาจากปัจจัยบวกจากการเปิดฤดูการท่องเที่ยวทะเลฝั่งอันดามันและการเดินทางของประชาชนเพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอีกด้วย

                      ขณะที่ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม แลรายได้จากการทำงานจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 32.50 และ 34.30  ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ36.40 และ 43.30 ตามลำดับ โดยคาดว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งมาจากรายจ่ายด้านการท่องเที่ยวเป็นสำคัญและปัจจัยจากราคาสินค้าเกษตร

                      ปัจจัยที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ามีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันมากที่สุด คือ ค่าครองชีพ คิดเป็นร้อยละ 36.20 รองลงมา คือ หนี้สินครัวเรือน และราคาสินค้า คิดเป็นร้อยละ 28.10 และ 12.70 ตามลำดับ ขณะที่ปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ารัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือเป็นอันดับแรก คือ ค่าครองชีพ รองลงมา คือ หนี้สินครัวเรือน และ ราคาสินค้า ตามลำดับ

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านภาวการณ์ทางสังคม เดือนตุลาคม 2560

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านภาวการณ์ทางสังคมในเดือนตุลาคม 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการวัดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงของความสุขโดยรวมของประชาชนในภาคใต้  เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง พบว่า เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 53.20 เพศชาย ร้อยละ 46.80 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 25-34 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.70  และมีระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 31.10

 

      ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านภาวการณ์ทางสังคม เดือนตุลาคม เปรียบเทียบ เดือนกันยายน และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

ประเด็นความคิดเห็น กันยายน ตุลาคม คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ความสุขในการดำเนินชีวิต 10.40 55.80 33.80 10.40 55.80 33.80 30.60 51.20 18.20
2. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 15.70 64.90 19.40 15.70 64.90 19.40 24.10 55.30 20.60
3. ความมั่นคงในอาชีพ 24.20 50.30 25.50 24.20 50.30 25.50 26.10 58.30 15.60
4. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 25.80 50.30 23.90 25.80 50.30 23.90 23.70 52.40 23.90
5.การแก้ปัญหายาเสพติด 30.60 52.40 17.00 30.60 52.40 17.00 30.50 53.20 16.30
6. เสถียรภาพทางการเมือง 35.20 53.90 10.90 35.20 53.90 10.90 38.20 50.50 11.30
7. การแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 10.40 40.30 49.30 10.40 40.30 49.30 35.10 50.60 14.30

 

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านภาวการณ์ทางสังคม เดือน สิงหาคม กันยายน และ ตุลาคม 2560

รายการข้อคำถาม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม
1. ความสุขในการดำเนินชีวิต 40.60 38.30 35.35
2. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 46.50 48.15 40.90
3. ความมั่นคงในอาชีพ 51.50 49.35 44.40
4. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 53.65 50.95 49.30
5.การแก้ปัญหายาเสพติด 54.05 56.80 60.55
6. เสถียรภาพทางการเมือง 60.60 62.15 64.15
7. การแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 35.55 30.55 35.00
8.  ความเชื่อมั่นโดยรวม 48.92 48.04 45.20

 

                             ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง  ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านภาวการณ์ทางสังคม เดือนตุลาคม 2560 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม ด้านภาวการณ์ทางสังคมปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนกันยายน

                             ดัชนีความเชื่อมั่นด้านภาวการณ์ทางสังคม ในเดือนตุลาคมเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน พบว่า  ความสุขในการดำเนินชีวิต ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) ความมั่นคงในอาชีพ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีความเชื่อมั่นลดลง เนื่องจาก ความกังวลจากรายได้ที่ลดลงในภาคเกษตร ซึ่งราคายางพาราและปาล์มน้ำมันมีแนวโน้นลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งเดือนตุลาคม (การยางแห่งประเทศไทย) ประกอบกับเดือนตุลาคมเป็นช่วงของการกำหนดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา      ภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งสร้างความเศร้าโศกเสียใจให้กับประชาชน อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหายาเสพติด การแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเสถียรภาพทางการเมืองมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ภาครัฐสามารถจับกุมและดำเนินคดียาเสพติดได้เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับทางภาครัฐได้มีนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้คนจน จึงส่งผลให้เสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลเพิ่มมากขึ้น

                             ขณะที่ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ประชาชนส่วนใหญ่มองว่าความสุขในการดำเนินชีวิต และฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) ดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 30.60 และ 24.10 ตามลำดับ นอกจากนี้การแก้ปัญหายาเสพติด และเสถียรภาพทางการเมืองดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 30.50 และ 38.20 และปัจจัยที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ามีผลกระทบต่อความสุขในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันมากที่สุด คือ ราคาพืชผลทางการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 36.20 รองลงมา คือ ค่าครองชีพ คิดเป็นร้อยละ 22.50

        

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics