ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนพฤศจิกายน 2565       

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนพฤศจิกายน 2565       
Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนพฤศจิกายน 2565        

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

 

              ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนพฤศจิกายน เปรียบเทียบเดือนตุลาคม และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

 

รายการข้อคำถาม ตุลาคม 2565 พฤศจิกายน 2565 คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 27.40 48.70 23.90 27.70 48.80 23.50 35.40 48.30 16.30
2. รายได้จากการทำงาน 26.60 45.10 28.30 26.90 45.30 27.80 37.10 48.50 14.40
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 28.50 47.80 23.70 28.70 47.70 23.60 34.50 49.30 16.20
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 26.50 45.70 27.80 26.80 45.90 27.30 36.20 52.10 11.70
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 26.90 47.50 25.60 26.70 48.50 24.80 33.50 58.20 18.30
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 26.70 46.80 26.50 26.90 45.50 27.60 34.20 45.60 20.20
7. การออมเงิน 25.80 47.20 27.00 25.60 48.80 25.60 35.80 49.70 14.50
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 28.70 45.60 25.70 28.60 45.50 25.90 34.70 51.70 13.60
9. การลดลงของหนี้สิน 28.50 45.80 25.70 28.30 46.20 25.50 30.20 45.60 24.20
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 26.80 45.80 27.40 26.40 45.50 28.10 35.60 45.80 18.60
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 27.10 41.60 31.30 27.40 42.10 30.50 36.50 50.40 13.10
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 27.50 43.40 29.10 27.80 43.60 28.60 38.60 47.50 13.90
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 29.20 44.20 26.60 29.60 44.50 25.90 32.40 50.10 17.50
                       

  ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกันยายน ตุลาคม และพฤศจิกายน 2565

รายการข้อคำถาม 2565
กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 45.10 46.30 47.10
2. รายได้จากการทำงาน 41.40 42.50 42.70
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 56.80 56.90 57.20
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 46.90 48.20 48.30
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 49.20 49.60 49.80
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 40.90 41.10 41.30
7. การออมเงิน 39.20 39.90 40.40
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 39.70 39.60 39.50
9. การลดลงของหนี้สิน 48.00 47.70 47.50
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 42.30 43.00 42.90
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 42.50 41.80 41.00
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 36.20 36.10 35.60
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 33.10 33.40 33.50
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม 42.60 43.10 43.70

          ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนพฤศจิกายน 2565 (43.70) ปรับเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2565 (43.10)  และเดือนกันยายน (42.60) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม  รายได้จากการทำงาน  รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว  รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว  ความสุขในการดำเนินชีวิต  ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) การออมเงิน และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยปัจจัยบวกที่สำคัญ ได้แก่ การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในไทยราว 10.3 ล้านคนในปี 2565 จากความต้องการเดินทางท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นเพราะการผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศทั่วโลก และในไตรมาสที่ 4 เป็นช่วง High season นักท่องเที่ยวจากประเทศเมืองหนาวจะเดินทางมาไทย อีกทั้ง คนไทยเองก็มีแนวโน้มท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น รวมถึงการบริโภคภาคเอกชนที่ได้รับอานิสงส์จากภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ภาคบริการในภาพรวมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร การขนส่ง ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ถึงแม้ว่าการท่องเที่ยวและการบริการจะเป็นฟันเฟืองหลักช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แต่การขยายตัวของเศรษฐกิจที่จะปรับตัวดีขึ้น ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยนอกพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว การขยับตัวของเศรษฐกิจดีขึ้นเพียงเล็กน้อย จึงทำให้ผู้ประกอบการอีกจำนวนมากที่ยังไม่ฟื้นตัว  นอกจากนี้การลงทุนชะลอลงมาก  เนื่องจากค่าครองชีพและต้นทุนของภาคธุรกิจที่ยังคงสูงอยู่  อีกทั้ง รายได้ครัวเรือนของประชาชนผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางไม่สมดุลกับรายจ่ายในปัจจุบัน ตลอดจนภาวะเงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยเงินกู้สูง ส่งผลให้ภาระหนี้สูงขึ้น และความไม่แน่นอนทางการเมืองกระทบความเชื่อมั่นในการลงทุนระยะยาว

จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น  แนวทางการแก้ไข และความคิดเห็นต่อมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมถึงข้อเสนอแนะต่าง ๆ มีดังนี้

  1. ประชาชนมีความกังวลกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเริ่มกลับมาระบาดอีกครั้งในพื้นที่ชุมชนเมือง ซึ่งประชาชนต้องการให้ภาครัฐกำหนดมาตรการในการรองรับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีแนวโน้มที่จะมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากในขณะนี้
  1. จากสภาพเศรษฐกิจที่มีการปรับตัวดีขึ้น โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในตัวเมือง และบริเวณพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ทั้งนี้ ประชาชนที่อยู่ในชนบทและไม่ได้อยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัวอีกจำนวนมาก และต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือในการส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้กระจายไปทุกพื้นที่ของประเทศ

                ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 35.40 และ 37.10 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 34.50 และ 36.20 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 33.50   38.60 และ 32.40 ตามลำดับ

                ปัจจัยที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้ภาครัฐควรรีบดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ 1) การปราบปรามยาเสพติดและบ่อนการพนัน 2) การปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน และ 3) การปฏิรูปตำรวจและกระบวนการยุติธรรม ในส่วนของปัญหาที่ประชาชนต้องการได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ อันดับแรก คือ การลดค่าครองชีพของประชาชน รองลงมา คือ การเพิ่มรายได้ให้กับผู้ที่มีรายได้น้อย  การให้สถาบันการเงินของรัฐปล่อยสินเชื่อให้กับผู้มีรายได้น้อย  และการช่วยเหลือภาระหนี้สินของประชาชน 

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics