“ทีม Singora Heritage” ชนะเลิศประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบฯ

“ทีม Singora Heritage” ชนะเลิศประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบฯ
Spread the love

ทีม Singora Heritage” ชนะเลิศประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบฯ

สำนักศิลปะฯ มรภ.สงขลา เตรียมเสนอยูเนสโก ปั้น จ.สงขลา เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร

                มรภ.สงขลา ประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ทีม Singora Heritage คว้ารางวัลชนะเลิศ ถ่ายทอดเรื่องราว สร้างมูลค่าเพิ่มวัตถุดิบลุ่มน้ำ-ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สำนักศิลปะฯ เตรียมเสนอยูเนสโกปี พ.ศ.2566 ขับเคลื่อน จ.สงขลา เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร

“ทีม Singora Heritage” ชนะเลิศประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบฯ

วันที่ 9 สิงหาคม 2565 ดร.บรรจง  ทองสร้าง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เป็นประธานเปิดการประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ณ อาคารปฏิบัติการคหกรรมศาสตร์ มรภ.สงขลา ซึ่งเปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ (อาหารและโภชนาการ) และมีความพร้อมด้านอุปกรณ์ต่างๆ อย่างดียิ่ง โดยมีทีมเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 5 ทีม คณะกรรมการผู้ตัดสินประกอบด้วย ผศ.ฐิติมาพร ศรีรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ เชฟสมพร อินทสุวรรณ สมาคมพ่อครัวไทยภูเก็ต และ นายพรศักดิ์ พงศาปาน ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญาอาหารภาคใต้ วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประสบการณ์และถ่ายทอดเรื่องราวอาหารของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารพื้นถิ่นลุ่มน้ำฯ นำไปสู่การผลักดันให้ จ.สงขลา เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร

ดร.บรรจง  ทองสร้าง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา)

สำหรับเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่ใช้ในการประกวดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. กับข้าว 2. ของแนมหรือเครื่องจิ้ม ที่รับประทานร่วมกับกับข้าวในสำรับ 3. ของหวาน โดยใช้วัตถุดิบจากทะเลสาบสงขลา ได้แก่ ปลากะพง กุ้งแชบ๊วย และวัตถุดิบจากท้องถิ่น ได้แก่ ไข่ครอบ ซึ่งเป็นการถนอมอาหารของทางภาคใต้โดยเฉพาะบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา และ ข้าวช่อขิง ข้าวพันธุ์โบราณของภาคใต้ตอนล่าง เป็นส่วนประกอบหลักในเมนูอาหาร

“ทีม Singora Heritage” ชนะเลิศประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบฯ

ผลการแข่งขันปรากฏว่า รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Singora Heritage (ทำเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ฉู่ฉี่ปลากะพง ยำสาหร่ายผมนาง น้ำชุบหยำผักสด บัวลอยไข่ครอบ และ น้ำชาช่อขิง) รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

“ทีม Singora Heritage” ชนะเลิศประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบฯ

รางวัลรองชนะเลิศ ทีมชุมชนท่องเที่ยวเวียงกลางบางแก้ว รับเงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

“ทีม Singora Heritage” ชนะเลิศประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบฯ

และ รางวัลชมเชย 3 รางวัล ๆ ละ 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่ ทีมกระแสสินธุ์เลใน ทีมคลองอู่ตะเภาตอนล่าง แม่ทอม-คูเต่า และ ทีม The Hybrid Historian SKRU ประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม

“ทีม Singora Heritage” ชนะเลิศประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบฯ “ทีม Singora Heritage” ชนะเลิศประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบฯ “ทีม Singora Heritage” ชนะเลิศประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบฯ

                ดร.บรรจง กล่าวว่า มรภ.สงขลา โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการขับเคลื่อนให้ จ.สงขลา เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร โดยมีแผนที่จะเสนอต่อองค์การยูเนสโกในปี พ.ศ.2566 หาก จ.สงขลา ผ่านการพิจารณาและได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร จะส่งผลให้อาหารพื้นถิ่นโดยเฉพาะเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของผู้มาเยือน ซึ่ง จ.สงขลา มีความเป็นพหุวัฒนธรรมและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบกและทางน้ำ ส่งผลให้อาหารของผู้คนในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีความหลากหลายและมีอัตลักษณ์เฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นไข่ครอบ กุ้งหวาน หรือแม้แต่ขนมต่างๆ ที่เกิดจากการหลอมรวมวัฒนธรรมของไทยพุทธ ไทยมุสลิม จนเกิดเมนูอาหารที่เป็นที่นิยมบริโภคของผู้คนที่มาเยือน

“ทีม Singora Heritage” ชนะเลิศประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบฯ

ดร.บรรจง กล่าวอีกว่า ผู้คนในภาคใต้มักกล่าวถึงรสชาติอาหารที่มีความอร่อยว่า กินดี กินหรอย” ซึ่งสะท้อนว่าอาหารมีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ การมีอาหารบริโภคที่เหมาะสมและพอเพียง จึงเป็นเครื่องชี้วัดการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรในชุมชนอีกด้วย รวมไปถึงการบ่งชี้ประโยชน์หรือคุณค่าทางโภชนาการที่มนุษย์แต่ละคนสมควรได้รับ อันเกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการ หากแต่ในขณะเดียวกันอาหารยังเป็นเครื่องแสดงถึงพลัง ศักยภาพ และอัตลักษณ์ทางสังคมที่แต่ละแห่งมีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม สภาพเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน ซึ่งมีความหลากหลาย ทั้งรูปแบบ สีสัน วิธีการปรุงแต่ง รสชาติ กลิ่น ความนิยมของผู้คน คุณค่าทางโภชนาการ อาหารบางอย่างยังเกี่ยวข้องกับชนชั้น เพศ ภาวะสุขภาพ และพิธีกรรมความเชื่อ ปัจจัยเหล่านี้กลายเป็นแบบแผนพฤติกรรมของการบริโภค อันเป็นผลผลิตที่เกิดจากภูมิปัญญาและและเครื่องบ่งชี้ทางวัฒนธรรม ซึ่งควรค่าแก่การศึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ประชากรในพื้นที่ได้ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญ

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics