ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกรกฎาคม 2565         

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกรกฎาคม 2565         
Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกรกฎาคม 2565            

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

              ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกรกฎาคม เปรียบเทียบ

เดือนมิถุนายน และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

 

รายการข้อคำถาม มิถุนายน 2565 กรกฎาคม 2565 คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 25.30 45.20 29.50 26.70 45.80 27.50 34.50 49.30 16.20
2. รายได้จากการทำงาน 25.10 47.10 27.80 25.20 45.40 29.40 34.10 55.80 10.10
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 26.90 46.30 26.80 27.40 47.50 25.10 35.40 48.30 16.30
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 33.60 44.70 21.70 34.80 45.90 19.30 37.10 48.50 14.40
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 26.30 46.80 26.90 26.70 47.10 26.20 34.20 45.60 20.20
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 26.40 45.70 27.90 26.30 45.50 28.20 37.40 47.60 15.00
7. การออมเงิน 25.10 48.30 26.60 25.00 46.80 28.20 37.50 41.20 21.30
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 30.50 44.80 24.70 29.70 44.20 26.10 34.50 51.30 14.20
9. การลดลงของหนี้สิน 29.30 48.70 22.00 29.60 46.30 24.10 36.80 49.20 14.00
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 25.80 45.60 28.60 26.20 45.80 28.00 35.60 45.80 18.60
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 27.60 43.80 28.60 27.30 43.10 29.60 39.60 49.80 10.60
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 27.70 44.90 27.40 27.90 44.10 28.00 32.40 50.10 17.50
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 29.30 44.70 26.00 28.60 43.80 27.60 34.10 55.80 10.10
                       

 

 ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนพฤษภาคม มิถุนายน และกรกฎาคม 2565

รายการข้อคำถาม 2565
พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 43.70 43.40 43.90
2. รายได้จากการทำงาน 40.20 39.90 39.80
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 53.10 53.80 55.20
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 43.10 40.30 45.50
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 48.60 48.20 48.70
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 41.00 40.50 40.40
7. การออมเงิน 39.40 39.00 38.80
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 41.40 40.20 40.10
9. การลดลงของหนี้สิน 48.70 48.60 48.40
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 38.90 39.10 40.80
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 46.70 45.40 45.30
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 37.80 37.00 38.00
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 32.10 32.00 31.80
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม 41.60 41.10 41.80

 ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกรกฎาคม 2565 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนกรกฎาคม 2565 (41.80) ปรับเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2565 (41.10)  และเดือนพฤษภาคม (41.60) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม  รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว  รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว  ความสุขในการดำเนินชีวิต  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  และการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  โดยปัจจัยบวกที่สำคัญ ได้แก่ เดือนกรกฎาคมนี้ภาครัฐได้ประกาศให้มีวันหยุดยาวหลายวันเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศและจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งระดับรายได้และการจ้างงานของประชาชนเริ่มกลับมาสู่ระดับเดียวกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19  

จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ลดลงและมีแนวโน้มการแพร่ระบาดที่ทรงตัวในระดับที่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้ภาครัฐ​เปิดประเทศรับชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้ตามปกติ โดยยกเลิกการลงทะเบียนผ่าน Thailand Pass และยกเว้นเงินประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยบวกสำคัญต่อการท่องเที่ยวในภาคใต้ หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ยาวนาน และการเปิดประเทศครั้งนี้ นับว่ามีความสำคัญอย่างมาก ทั้งนี้เพราะในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 จะเป็นฤดูการท่องเที่ยวสำคัญที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมักจะเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยค่อนข้างมาก และหากภาครัฐสามารถควบคุมสถานการณ์ โดยไม่ให้เกิดการระบาดของโควิด-19 ในวงกว้างอีกได้ จะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก  

นอกจากนี้ การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวทั้งจากการลงทุนภายในประเทศและการลงทุนจากต่างชาติตามแนวโน้มการเปิดเมือง โดยเศรษฐกิจไทยจะได้รับอานิสงส์จากการทยอยเปิดประเทศทั้งประเทศไทยเองและประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยว ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงท้ายปีมีแนวโน้มที่จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น  นอกจากนี้ การท่องเที่ยวภายในประเทศในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา มีการเติบโตในทิศทางที่ดีขึ้น จากการกลับไปใช้ชีวิตตามปกติวิถีใหม่ของประชาชน และด้วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมาเป็นปกติมากขึ้น ส่งผลต่อตลาดแรงงานที่เริ่มส่งสัญญาณการปรับตัวที่ดีขึ้น

จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น  แนวทางการแก้ไข และความคิดเห็นต่อมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมถึงข้อเสนอแนะต่าง ๆ มีดังนี้

  1. ประชาชนมีความกังวลกับราคาสินค้าและบริการมีราคาสูงขึ้น ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น และภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้ประชาชนเท่าเดิมหรือลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวไม่เต็มที่มากนัก  จึงเสนอแนะให้ภาครัฐหามาตรการลดราคาพลังงานในประเทศ รวมถึงมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน
  2. การท่องเที่ยวของไทยยังมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งมาจากผลกระทบจากสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ทำให้การฟื้นตัวของตลาดนักท่องเที่ยวจากรัสเซียและยุโรปตะวันออกยังไม่มีความแน่นอน อาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทย จึงเสนอแนะให้ภาครัฐหันมาส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยเที่ยวไทยมากขึ้น เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในภาคการท่องเที่ยวไทย
  3. จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ลดลง สถานการณ์ต่าง ๆ เริ่มมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น จึงเสนอแนะให้ภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวอย่างเหมาะสมเพื่อส่งเสริมการลงทุน เพิ่มรายได้ให้กับประชน และเพิ่มการใช้จ่ายของประชาชนให้สูงขึ้น

                ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 34.50 และ 34.10 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 35.40 และ 37.10  ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 34.20 32.40 และ 34.10 ตามลำดับ

                ปัจจัยที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ามีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันมากที่สุด คือ ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 58.10 รองลงมา คือ ภาระหนี้สินของประชาชน  คิดเป็นร้อยละ 18.30  ภาวะเงินเฟ้อ คิดเป็นร้อยละ 13.60 และการแพร่ระบาดของโควิด-19 คิดเป็นร้อยละ 5.90  ขณะที่ปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ารัฐบาลควรรีบดำเนินการและให้ความช่วยเหลือ อันดับแรก คือ การแก้ปัญหาราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้น รองลงมา คือ การแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน  การแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ  การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย  และการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ  ตามลำดับ

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics