ครบรอบ 104 ปี ธงไตรรงค์ วันแห่งการพระราชทานธงชาติไทย

ครบรอบ 104 ปี ธงไตรรงค์ วันแห่งการพระราชทานธงชาติไทย
Spread the love

ครบรอบ 104 ปี ธงไตรรงค์ วันแห่งการพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน 2564

 

วันนี้ (28 ก.ย. 2564) นับเป็นการครบรอบ 104 ปี ของการใช้ธงไตรรงค์ หลังจากเปลี่ยนมาแล้วหลายครั้ง ก่อนที่เมื่อปี 2560 จะได้จัดให้เป็นวันพระราชทานธงชาติไทย เพื่อเป็นหนึ่งในการน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ประชุมซึ่งนำโดย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรักษาราชการแทนนำยกรัฐมนตรี ในขณะนั้น เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559 นั้น 

ได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ 28 กันยายน ของทุกปีเป็น “วันพระราชทานธงชาติไทย” โดยให้เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2560 เป็นปีแรก แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ รวมทั้งกำหนดให้มีการชักและประดับธงชาติในวันดังกล่าวด้วย เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติ และเป็นการน้อมรำลึกถึงการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ที่พระองค์ได้พระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย

การเคารพธงชาติ

ชาวไทยแสดงความเคารพต่อชาติด้วยการหยุดนิ่งในอาการสำรวมในระหว่างการบรรเลงเพลงชาติ แม้จะไม่เห็นการชักธงชาติก็ตามการเคารพธงชาติในปัจจุบันได้ยึดถือหลักการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศ ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 กล่าวคือ 

เมื่อมีการชักธงชาติขึ้นและลง ให้แสดงความเคารพโดยการยืนตรง หันไปทางเสาธง อาคาร หรือสถานที่ที่มีการชักธงชาติขึ้นและลง จนกว่าจะเสร็จการ ในกรณีที่ได้ยินเพลงชาติหรือสัญญาณการชักธงชาติ จะเห็นหรือไม่เห็นการชักธงชาติก็ตาม ให้แสดงความเคารพโดยหยุดนิ่งในอาการสำรวม จนกว่าการชักธงชาติหรือเสียงเพลงชาติ หรือสัญญาณการชักธงชาติจะสิ้นสุดลง

 

การใช้ธงชาติกับผู้เสียชีวิต

ธงชาตินั้นสามารถใช้เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศศพหรืออัฐิได้ โดยบุคคลที่สามารถใช้ธงชาติประกอบเกียรติยศได้นั้น ได้แก่

– ประธานองคมนตรี
– ประธานรัฐสภา
– นายกรัฐมนตรี
– ประธานศาลฎีกา
– ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
– ผู้เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่หรือช่วยเหลือในการสู้รบ หรือเพื่อปกป้องอธิปไตยหรือรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ หรือเพื่อปราบปรามการกระทำผิดต่อความมั่นคงของรัฐและพระมหากษัตริย์
– ผู้เสียชีวิตจากการแสดงความกล้าหาญช่วยเหลือเจ้าหน้าที่รัฐ
– บุคคลที่ทางราชการเห็นสมควร
– ส่วนการใช้ธงชาติคลุมศพนั้น สามารถใช้ในการพิธีรับพระราชทานน้ำอาบศพหรือพิธีรดน้ำศพ หรือระหว่างการเคลื่อนย้ายศพเพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา หรือในพิธีปลงศพตามประเพณีของทหารเรือ

Cr/https://www.springnews.co.th/

ขอบคุณข้อมูล : วิกิพีเดีย

 

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics