ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนสิงหาคม 2564
ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความ
เชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนสิงหาคม เปรียบเทียบเดือนกรกฎาคม และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า
รายการข้อคำถาม | กรกฎาคม | สิงหาคม | คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า | ||||||||
เพิ่มขึ้น/ | คงที่/ | ลดลง/ | เพิ่มขึ้น/ | คงที่/ | ลดลง/ | เพิ่มขึ้น/ | คงที่/ | ลดลง/ | |||
ดีขึ้น | เท่าเดิม | แย่ลง | ดีขึ้น | เท่าเดิม | แย่ลง | ดีขึ้น | เท่าเดิม | แย่ลง | |||
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม | 24.20 | 44.70 | 31.10 | 24.10 | 44.40 | 31.50 | 39.60 | 49.80 | 10.60 | ||
2. รายได้จากการทำงาน | 23.50 | 46.90 | 29.60 | 23.30 | 45.70 | 31.00 | 32.80 | 35.70 | 31.50 | ||
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว | 24.50 | 48.40 | 27.10 | 24.30 | 48.20 | 27.50 | 35.60 | 45.80 | 18.60 | ||
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ | 33.60 | 46.20 | 20.20 | 33.40 | 46.30 | 20.30 | 30.30 | 48.60 | 21.10 | ||
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต | 26.60 | 47.30 | 26.10 | 26.20 | 47.10 | 26.70 | 33.50 | 49.40 | 17.10 | ||
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) | 26.20 | 45.40 | 28.40 | 26.10 | 45.20 | 28.70 | 32.10 | 46.30 | 21.60 | ||
7. การออมเงิน | 25.30 | 44.80 | 29.90 | 25.20 | 44.80 | 30.00 | 35.60 | 45.80 | 18.60 | ||
8. ค่าครองชีพ | 32.60 | 44.50 | 22.90 | 32.30 | 44.30 | 23.40 | 36.50 | 50.40 | 13.10 | ||
9. ภาระหนี้สิน | 30.40 | 48.50 | 21.10 | 30.60 | 48.10 | 21.30 | 38.60 | 47.50 | 13.90 | ||
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน | 24.20 | 46.30 | 29.50 | 24.30 | 45.60 | 30.10 | 34.10 | 55.80 | 10.10 | ||
11. การแก้ปัญหายาเสพติด | 28.70 | 49.30 | 22.00 | 28.60 | 48.60 | 22.80 | 35.40 | 48.30 | 16.30 | ||
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ | 27.60 | 48.10 | 24.30 | 27.50 | 48.00 | 24.50 | 37.10 | 48.50 | 14.40 | ||
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ | 31.20 | 47.10 | 21.70 | 31.10 | 46.70 | 22.20 | 30.10 | 54.60 | 15.30 | ||
ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคม 2564
รายการข้อคำถาม | มิถุนายน | กรกฎาคม | สิงหาคม |
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม | 41.50 | 41.20 | 41.10 |
2. รายได้จากการทำงาน | 38.30 | 38.00 | 37.90 |
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว | 49.40 | 49.10 | 49.00 |
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ | 38.20 | 37.80 | 37.60 |
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต | 47.10 | 46.80 | 46.50 |
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) | 38.10 | 37.90 | 37.70 |
7. การออมเงิน | 39.70 | 39.40 | 39.30 |
8. ค่าครองชีพ | 43.80 | 44.00 | 43.80 |
9. ภาระหนี้สิน | 48.00 | 48.40 | 48.90 |
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน | 34.50 | 34.30 | 34.20 |
11. การแก้ปัญหายาเสพติด | 48.30 | 48.40 | 48.20 |
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ | 36.80 | 36.30 | 36.00 |
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ | 32.60 | 32.30 | 32.20 |
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม | 40.10 | 39.60 | 39.40 |
ผศ.ดร.วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนสิงหาคม 2564 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนสิงหาคม (39.40) ปรับตัวลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับและเดือนกรกฎาคม (39.60) เดือนมิถุนายน (40.10) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ความสุขในการดำเนินชีวิต ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) การออมเงิน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การแก้ปัญหายาเสพติด การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบสำคัญมาจากสถานการณ์ของโควิด -19 ที่มีการกลายพันธุ์และแพร่ระบาดหนักในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทำให้เกิดการล็อกดาวน์ในจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม โดยพบว่าการบริโภคภาคครัวเรือนจำนวนมากกว่าครึ่งได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ โดยมีรายได้จากการจ้างงานที่ลดลง รวมทั้งราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง มีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก ผนวกกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ทำให้อุปสงค์สินค้าเกษตรส่วนหนึ่งลดลง ส่งผลต่อรายได้เกษตรกรให้ขยายตัวลดลง อีกทั้ง มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ อาทิ โครงการคนละครึ่ง ซึ่งมีครัวเรือนบางส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ และประชาชนจำนวนมากที่ได้รับสิทธิคนละครึ่งได้ใช้สิทธิจนครบตามจำนวนเงินที่ได้รับ ทำให้การจับจ่ายใช้จ่ายในช่วงปลายเดือนสิงหาคม ไม่คึกคัก ในขณะที่โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ยังไม่ตอบโจทย์กับประชาชน ทั้งนี้ หากการช่วยเหลือและเยียวยาของภาครัฐไม่มีความต่อเนื่อง และครอบคลุมผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างทั่วถึง ย่อมส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนเป็นอย่างมาก ซึ่งในระยะข้างหน้าภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนสูง ดังนั้นมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจที่ครอบคลุมผู้ได้รับผลกระทบและเข้าถึงได้ง่ายจึงยังมีความจำเป็นต่อเนื่อง ซึ่งกระทรวงแรงงานและสำนักงานประกันสังคมก็ได้มีมาตรการเยียวยา 9 กลุ่มอาชีพในโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 ให้แก่ประชาชนแรงงานผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม ซึ่งจะสามารถช่วยประคับประคองการดำรงชีพได้บางส่วน อย่างไรก็ตาม การเร่งดำเนินการเพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันลง ทั้งการตรวจเชิงรุก เพื่อแยกผู้ติดเชื้อโควิด-19 ไปทำการรักษาอย่างเร่งด่วน ไม่ให้เกิดการแพร่กระจายไปสู่คลัสเตอร์อื่น ๆ รวมถึงการจัดหาวัคซีนและเร่งฉีดให้กับประชาชนให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศ อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น
ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศที่ยังพบจำนวนผู้ติดเชื้อสูง ทำให้จำเป็นต้องใช้มาตรการควบคุมการระบาดในประเทศ ซึ่งไม่เอื้อต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว อีกทั้ง หน่วยงานภาครัฐในหลายประเทศมีการยกระดับคำเตือนสำหรับประชาชนที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศไทย เช่น ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ หรือ CDC (Center for Disease Control and Prevention) จึงไม่น่าจะเป็นผลดีต่อแนวโน้มการท่องเที่ยวไทย นอกจากนี้ การท่องเที่ยวไทยยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงจากความตึงเครียดทางการเมืองในประเทศ โดยเฉพาะการชุมนุมเพื่อขับไล่รัฐบาล ซึ่งมีการยกระดับและความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งหากรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์การชุมชนให้อยู่ภายใต้กฎหมาย และสามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่ท่องเที่ยวที่เป็นเป้าหมายได้ การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เช่น ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี และจังหวัดอื่น ๆ ย่อมเป็นไปในทิศทางที่ดี ในช่วงเวลาที่เหลือของปี อันจะทำให้สถานการณ์การท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ และดีขึ้นตามลำดับในไตรมาสที่ 1 ของปีหน้า
จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น แนวทางการแก้ไข และความคิดเห็นต่อมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมถึงข้อเสนอแนะต่าง ๆ มีดังนี้
- ความกังวลต่อการผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มโควิด-19 ในวันที่ 1 กันยายน 2564 ว่าภาครัฐจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้หรือไม่ และหากสถานการณ์ลุกลามบานปลายจนเกิดการแพร่ระบาดหนักเป็นระลอกที่ 5 ภาครัฐจะมีมาตรการและแผนการรองรับไว้อย่างไรบ้าง
- ความชัดเจนของภาครัฐในการเร่งดำเนินการจัดหาและกระจายวัคซีนโควิด-19 ให้ครอบคลุมจำนวนประชากรทุกกลุ่มอายุและอาชีพ รวมถึงภาครัฐควรให้ข้อมูลอย่างละเอียดในการสื่อสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน รวมถึงรับประกันความปลอดภัยในการฉีดวัคซีนแก่ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความกังวลต่อผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน ให้ได้รับความมั่นใจและกล้าที่จะฉีดวัคซีนมากขึ้น
- ควรเร่งรีบในการจัดหาชุดตรวจโควิด-19 แอนติเจนเทสต์คิตหรือ ATK ให้กับสถานพยาบาลต่าง ๆ สำหรับให้บริการตรวจโควิด-19 รวมถึงการจัดส่งให้กับประชาชนทุกครัวเรือน เพื่อให้สามารถตรวจได้ด้วยตนเองโดยคัดเลือก ATK ที่มีคุณภาพ โดยผลจากการตรวจ ATK ต้องมีความถูกต้องและแม่นยำสูง
ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 39.60 และ 32.80 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 35.60 และ 30.30 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 33.50, 37.10 และ 30.10 ตามลำดับ
ปัจจัยที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ามีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันมากที่สุด คือ ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ คิดเป็นร้อยละ 27.40 รองลงมา คือ ค่าครองชีพ และราคาสินค้าสูง คิดเป็นร้อยละ 25.10 และ 18.60 ตามลำดับ ขณะที่ปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ารัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือเป็นอันดับแรก คือ การพักหนี้ของประชาชน รองลงมา คือ การเยียวยาประชาชนอย่างต่อเนื่อง
การปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และการเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 ตามลำดับ