ผู้บริหาร ศอ.บต. ร่วมหารือกับผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Spread the love

ผู้บริหาร ศอ.บต. ร่วมหารือกับผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สำนักงานซีมีโอ)

เพื่อทำความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพทางอาชีพเยาวชน เพื่อความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

              วันนี้ (9 พฤศจิกายน 2563) เวลา 9.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงาน เลขาธิการองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สำนักงานซีมีโอ) รศ.ดร.บดินทร์ รัศมีเทศ รองเลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พร้อมด้วย ผศ.ดร.ศุภฤกษ์ สุขสมาน และพันเอก นิรินธน์ ปุณโณทก ฝ่ายอำนวยการรองเลขาธิการ ศอ.บต.กลุ่มงานเศรษฐกิจ ร่วมพบหารือกับ ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาของซีมีโอ (SEAMEO STEM-ED) ดร.เกศรา อมรวุฒิวร ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโครงการศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาของซีมีโอ(SEAMEO STEM-ED) นางสุชารัตน์ ทับทิมจรูญ ผู้จัดการ ประจำ สำนักงาน สะเต็มศึกษาของซีมีโอ(SEAMEO STEM-ED) และนางเจิดฤดี ชินเวโรจน์ ที่ปรึกษาด้านมาตราฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในโอกาสทำความร่วมมือและพบปะแลกเปลี่ยนการเรียนรู้การพัฒนาและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ จชต. โดยมุ่งเน้นความร่วมมือในการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่สำคัญในยุทธศาสตร์การพัฒนาจชต.ที่ พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. เร่งขับเคลื่อนงานปัจจุบัน

          รศ.ดร.บดินทร์ รัศมีเทศ รองเลขาธิการ ศอ.บต.ได้กล่าวถึง ความร่วมมือในขับเคลื่อนโครงการพัฒนาศักยภาพทางอาชีพเยาวชน เพื่อความมั่นคงในจังหวัดชายแดนใต้ ในการเสริมสร้างการดำเนินงานให้มีความเข้มแข็ง เพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชนในจชต. ศอ.บต. ได้เล็งเห็นความสำคัญ ของการร่วมมือกับสำนักงานเลขาธิการองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สำนักงานซีมีโอ) ซึ่งมุ่งเน้นการผลิตและพัฒนากำลังคน ตามความต้องการของตลาดแรงงานและทิศทางการลงทุนในประเทศอยู่แล้ว และมีการส่งเสริมโครงการอบรมเยาวชนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางอาชีพ ในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่างๆ ในการประกอบอาชีพในอนาคต อาทิทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิตอล และการออกแบบความคิด (Design Thinking) ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งความร่วมมือระหว่าง ศอ.บต. และซีมีโอในการพัฒนาศักยภาพทางอาชีพ ของเยาวชน จะได้รับความร่วมมือจากนานาชาติที่เป็นเครือข่ายของซีมีโอ และยังก่อให้เกิดความยั่งยืน ได้ในอนาคตต่อไป


            ด้าน ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาของซีมีโอ (SEAMEO STEM-ED) ได้นำเสนอความเป็นมา วิสัยทัศน์ และผลการดำเนินงานของ STEM-ED จากนั้นให้แนวทางในการร่วมมือดังนี้

1. ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรของภูมิภาคด้านสะเต็มศึกษา สำหรับใช้ในการพัฒนาประเทศสมาชิกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวม 11 ประเทศสมาชิก

2. การเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่แน่นแฟ้นด้านสะเต็มศึกษาทั้งในและนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

3. การดำเนินการของศูนย์ SEAMEO STEM-ED ให้เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูล องค์ความรู้และบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานเจ้าภาพหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งให้มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานและผลประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวเป็นระยะ ๆ

4. การที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดตามความต้องการ ของพื้นที่ นั้นจำเป็นต้องเพิ่มศักยภาพกำลังคน โดยการยกระดับคุณภาพการศึกษา ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาในทุกอำเภอของจังหวัดทั่วประเทศ ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตลอดจนการคิดวิเคราะห์การคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา

5. การนำองค์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพที่มีศักยภาพ โดยมุ่งส่งเสริม การเข้าทำงานในกลุ่มอาชีพ (mid skill level workforces) เพื่อเพิ่มมูลค่าในหน้าที่การงานเดิม โดยแบ่งกลุ่มอาชีพ ดังต่อไปนี้

5.1 กลุ่มโปรแกรมเมอร์ งานเทคโนโลยีและสารสนเทศ เรียนรู้แอพพลิเคชั่น, แพล๊ทฟอร์มไอทีที่เชื่อมต่อกับกลุ่มผู้ใช้

5.2 กลุ่มเกษตรอัจฉริยะโดยนำมาปรับปรุงอาชีพของเกษตรกรในพื้นที่

5.3 กลุ่ม เจ้าหน้าที่ดูแลสุขภาพ,โดยได้รับการอบรมจากสถาบันการแพทย์ชั้นนำ,ออกใบประกาศรับรอง,นำไปประกอบอาชีพ รวมถึงมีเครือข่ายช่วยจัดการระบบทำงานจนถึงครอบครัวผู้ที่มีความต้องการ

6. การเสนองานวิจัยความเป็นไปได้ ศึกษาอาชีพที่ควรมีการยกระดับการพัฒนาในกรอบงาน STEM-EDต่อธุรกิจภาคสังคม โดยมหาลัยท้องถิ่นและภาคีร่วมต่างๆ

          ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ยังกล่าว ชื่นชม ศอ.บต.ที่เป็นหน่วยงานพัฒนาและแก้ไขปัญหาเชื่อมโยงกับทุกส่วนราชการ ภาคเอกชน รวมถึงเน้นพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีงานทำ ตลอดจนการขับเคลื่อนโครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ที่เป็นโอกาสดีของประชาชนในพื้นที่ในการสร้างงาน สร้างอาชีพ และขอชื่นชมการเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพทางอาชีพของเยาวชน ให้มีอาชีพ มีรายได้ เพื่อความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนของจชต.ต่อไป

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics