ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนธันวาคม 2562

Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนธันวาคม 2562

                                                         

              ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

              ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนธันวาคมเปรียบเทียบ เดือนพฤศจิกายน และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

 

รายการข้อคำถาม พฤศจิกายน ธันวาคม คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 26.30 47.90 25.80 25.80 48.90 25.30 32.60 40.10 27.30
2. รายได้จากการทำงาน 25.80 47.90 26.30 24.90 48.10 27.00 30.40 47.40 22.20
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 33.50 46.80 19.70 35.20 45.40 19.40 36.50 50.40 13.10
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 25.70 46.20 28.10 27.40 45.50 27.10 38.60 47.50 13.90
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 28.60 45.30 26.10 28.20 47.60 24.20 32.40 50.10 17.50
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 25.60 47.40 27.00 25.20 49.70 25.10 39.60 49.80 10.60
7. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 26.70 50.70 22.60 25.10 48.20 26.70 30.10 54.60 15.30
8. การแก้ปัญหายาเสพติด 27.10 47.60 25.30 26.30 44.90 28.80 32.90 45.50 21.60
9. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 23.20 48.90 27.90 24.70 43.70 31.60 30.30 35.80 33.90
10. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 25.30 42.60 32.10 24.20 46.50 29.30 39.70 45.40 14.90
                       

 

  ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือน ตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม

รายการข้อคำถาม ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 48.90 47.30 47.20
2. รายได้จากการทำงาน 43.30 41.90 41.30
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 46.70 45.30 46.60
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก  อาหาร และอื่น ๆ 45.60 43.80 44.30
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 49.30 47.40 47.10
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 45.50 42.60 42.10
 7. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 43.90 41.60 40.20
8. การแก้ปัญหายาเสพติด 50.40 50.10 48.30
9. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 43.60 41.80 40.20
10. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 39.70 36.60 35.10
11. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม 48.30 46.20 45.80

 

 

                ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมปรับตัวลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน และแตกต่างจาก 3-4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมเดือนธันวาคมปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเสมอ ซึ่งดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนภาคใต้ที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ความสุขในการดำเนินชีวิต รายได้จากการทำงาน ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย)  และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยปัจจัยลบมาจากสาเหตุที่สำคัญหลายปัจจัย อาทิ เป็นช่วงเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงขาลง  และหลายประเทศในภูมิภาคนี้ล้วนแต่ได้รับผลกระทบเช่นกัน  ประกอบกับราคาพืชผลทางเกษตรที่ตกต่ำ เนื่องจากความต้องการของผู้ซื้อน้อยกว่าปริมาณของผลผลิตทางการเกษตรที่ออกมา และเกษตรกรส่วนหนึ่งไม่มีความรู้ความเข้าใจในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมถึงการเกิดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม  การลงทุน และการส่งออกของธุรกิจเอสเอ็มอีภาคใต้ 

               อีกทั้ง การนำเข้าสินค้าจากจีน ซึ่งเป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศค่อนข้างมาก ทำให้ผู้ผลิตในภาคใต้ของประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ จึงจำเป็นต้องปิดตัวลงจำนวนไม่น้อย  นอกจากนี้ ผู้ประกอบอาชีพประมงส่วนหนึ่งประสบปัญหาการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง  การแข่งขันของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภค โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่อยู่นอกระบบภาษี เช่น ร้านขายอาหาร ร้านขายน้ำ และร้านค้าแผงลอย เป็นต้น ล้วนได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำ เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคมีน้อยกว่าปริมาณร้านค้า ทำให้ร้านค้าส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถแข่งขันได้ต้องปิดตัวลง  แม้ว่าภาครัฐได้ออกมาตรการต่าง ๆ มากมายเพื่อรับมือกับเศรษฐกิจขาลง และได้ช่วยเหลือประชาชนในหลายภาคส่วนเพื่อให้สามารถมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่มาตรการต่าง ๆ ยังไม่สามารถช่วยผลักดันเศรษฐกิจโดยภาพรวมของภาคใต้ให้ดีขึ้นได้อย่างชัดเจน โดยประชาชนภาคใต้ส่วนหนึ่งมองว่ามาตรการของภาครัฐเป็นเพียงช่วยเหลือเบื้องต้น ให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแค่ชั่วคราว แต่ไม่มีความยั่งยืน 

               นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นที่ลดลง ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การแก้ปัญหายาเสพติด และการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยปัจจัยลบส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ลดลง เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในหลายพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะเหตุเจ้าหน้าที่ยิงปะทะประชาชนซึ่งเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 3 ศพ บนภูเขาอาปี เทือกเขาตะเว ต.บองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ซึ่งภาครัฐได้เยียวยาให้กับผู้ได้รับความเสียหายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มมากขึ้น 

               ในส่วนดัชนีความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว โดยปัจจัยบวกส่วนหนึ่งมาจากนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางพักผ่อนท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลวันคริสต์มาสจนถึงปีใหม่โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามันที่มีความสวยงาม เหมาะสมหรับการพักผ่อนหย่อนใจในช่วงวันหยุดยาว รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคเพื่อเลี้ยงฉลองกับญาติและเพื่อน อีกทั้งการซื้อของขวัญเพื่อมอบให้กับผู้ที่รักและเคารพในช่วงเทศกาลปีใหม่

                ขณะที่ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 32.60 และ 30.40 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 36.50 และ 38.60 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 32.40 , 30.30 และ 39.70 ตามลำดับ

                 ปัจจัยที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ามีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันมากที่สุด คือ ค่าครองชีพ คิดเป็นร้อยละ 28.40 รองลงมา คือ ราคาสินค้าสูง และราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ คิดเป็นร้อยละ 26.20 และ 19.50 ตามลำดับ ขณะที่ปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ารัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือเป็นอันดับแรก คือ ค่าครองชีพ รองลงมา คือ ราคาสินค้าสูง ตามลำดับ

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics