มรภ.สงขลา ฟื้นโนราตัวอ่อน ร.ร.บ้านกะทิง

Spread the love

มรภ.สงขลา ฟื้นโนราตัวอ่อน ร.ร.บ้านกะทิง
สร้างสรรค์นวัตกรรมถ่ายทอด-ดึงชุมชนร่วมอนุรักษ์

 

                มรภ.สงขลา ทำวิจัยพลิกฟื้นโนราตัวอ่อน ร.ร.บ้านกะทิง ออกแบบนวัตกรรมการถ่ายทอด แก้ปัญหาขาดแคลนครูผู้สอน ใช้เฟสบุ๊คเป็นสื่ อกลางการสอนและเผยแพร่ผลงาน พร้อมดึงชุมชนร่วมสร้างความเข็มแข็งทางวัฒนธรรมท้องถิ่น

              

  อ.ทัศนียา   คัญทะชา  ประธานโปรแกรมวิชานาฏศิลป์ และการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา)    เปิดเผยถึงงานวิจัยถ่ ายทอดโนราตัวอ่อนโรงเรียนบ้านกะทิง ต.ทับช้าง อ.นาทวี จ.สงขลา ว่า วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติ และออกแบบนวัตกรรมการถ่ายทอดโนราตัวอ่อน ซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1. การยืดหยุ่นร่างกาย  2. การดัดร่างกายด้วยท่ารำโนราตัวอ่อน 3. การวางโครงสร้างมือสำหรับการรำโนรา  4. การวางโครงสร้างเท้าสำหรับการรำโนรา 5. การถ่ายทอดทำรำโนราตัวอ่อน และ 6. การใช้โซเชียลมีเดีย  (Facebook) เป็นสื่อกลางระหว่างผู้เรียนกับครูโนราเพื่อสั่งการบ้านท่ารำ  ตรวจการบ้าน นัดหมายเวลาฝึกซ้อม ประชาสัมพันธ์ผลงานการเผยแพร่ โดยมีการก่อตั้งกลุ่มโนราโรงเรียนบ้านกะทิง ชุมชนบ้านเกาะงุน- กะทิง ซึ่งการรับงานแสดงแต่ละครั้งนักเรียนมีรายได้ แต่ละคนมีบัญชีเงินฝากสหกรณ์หมู่ บ้าน และรายได้ส่วนหนึ่งหักเข้ากลุ่ มโนราเพื่อจัดซื้อวัสดุและอุ ปกรณ์ที่ใช้สำหรับการรำโนรา

 

                อ.ทัศนียา กล่าวว่า การออกแบบนวัตกรรมการถ่ ายทอดโนราตัวอ่อน ออกแบบขึ้นเพื่อต้องการแก้ปั ญหาการขาดครูโนราในโรงเรียบบ้านกะทิง โดยเริ่ มกระบวนการออกแบบจากการศึกษาวิ ธีการถ่ายทอดโนราตัวอ่อนจากครู โนรา  2  ท่าน  คือ ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ และ นางอรทัย ราชรังรองนุชิต นำมาวิเคราะห์และพัฒนาเป็นนวั ตกรรมการถ่ายทอดโนราตัวอ่อน จากนั้นนำไปใช้ถ่ายทอดให้กับนั กเรียนโรงเรียนบ้านกะทิง 8 คน สามารถทำให้นักเรียนรำโนราตัวอ่ อนได้ภายในระยะเวลาเพียง 4 เดือน ซึ่งการถ่ายทอดโนราตัวอ่อนที่พั ฒนาขึ้นใหม่โดยนำ Facebook เข้ามาใช้ด้วย ทำให้นักเรียนสามารถฝึกท่ารำได้ ด้วยตนเองโดยที่ไม่ต้องมีครูอยู่ ในโรงเรียน อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์ การรำโนราตัวอ่อน ประชาสัมพันธ์ให้เด็กๆ สนใจการแสดงพื้นบ้านโนรามากขึ้น   

 

                ประธานโปรแกรมวิชานาฏศิลป์ และการแสดง กล่าวอีกว่า ผลจากการใช้นวัตกรรมถ่ ายทอดโนราตัวอ่อน ทำให้โรงเรียนบ้านกะทิงกลับมามี ชื่อเสียงทางด้านโนราอีกครั้ง และการกลับมาครั้งนี้ได้มีการก่ อตั้งกลุ่มโนราโรงเรียนบ้านกะทิ งขึ้น ซึ่งเป็นการดูแลร่วมกันระหว่ างโรงเรียนกับชุมชน ทำให้กลายเป็นชุมชนที่มีความเข็ มแข็งทางวัฒนธรรมที่ยั่งยืน โดยกลุ่มโนราโรงเรียนบ้านกะทิ งได้เผยแพร่โนราตัวอ่อนอย่างต่ อเนื่องตั้งแต่ปลายปี  2557 เช่น รำงานพิธีเปิดกีฬาองค์การบริ หารส่วนตำบลทับช้าง รำโนราพิธีเปิดงานรับปริญญาหนู น้อย รำโนราในงานรดน้ำดำหัวคนเฒ่ าคนแก่  รำโนราในงานเกษียณอายุราชการ Mr.Marzuki ผู้อำนวยการโรงเรียน Kebangsaan รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น

 

 

 

                ปัจจุบันกลุ่มโนราโรงเรียนบ้ านกะทิง ได้รับสนับสนุนงบประมาณในการจั ดซื้อเครื่องดนตรี ชุด และชุดโนรา 15 ชุดจากผู้ใหญ่บ้านจักรพร วิศพันธุ์ ผู้นำชุมชนบ้านเกาะงุน-กะทิง และ นายโสมนัส นวลแก้ว สมาชิกองค์บริหารส่วนตำบลทับช้ างจัดซื้อเพิ่มอีก 15 ชุด ส่วนการบริหารจัดการของกลุ่ มชาวบ้านมีการแบ่งฝ่ายรับผิ ดชอบออกเป็น 6  ฝ่าย ได้แก่ 1. ฝ่ายฝึกซ้อม  2. ฝ่ายแต่งหน้า 3. ฝ่ายยานพาหนะ 4. ฝ่ายนักแสดงโนรา 5. ฝ่ายนักดนตรี และ 6. ฝ่ายการเงิน นอกจากนั้น นักเรียนทุกคนที่รำโนราและนั กดนตรีมีรายได้ จากการแสดงโนราครั้งละ 100 บาท เป็นรายได้เสริมระหว่างเรียนอี กด้วย” ประธานโปรแกรมวิชา นาฏศิลป์ และการแสดง กล่าว

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics