ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกุมภาพันธ์ 2567    

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกุมภาพันธ์ 2567    
Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกุมภาพันธ์ 2567           

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

 

              ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกุมภาพันธ์ 2567 เปรียบเทียบเดือนมกราคม 2567  และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

 

รายการข้อคำถาม มกราคม 2567 กุมภาพันธ์ 2567 คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 29.30 47.60 23.10 29.50 47.50 23.00 39.70 45.10 15.20
2. รายได้จากการทำงาน 27.90 46.90 25.20 27.80 47.50 24.50 33.80 48.80 17.40
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 31.80 47.40 20.80 31.90 47.80 20.30 30.10 54.60 15.30
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 29.90 46.20 23.90 30.20 46.30 23.50 34.20 57.20 8.60
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 27.80 48.40 23.80 27.70 48.80 23.50 39.60 49.80 10.60
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 28.80 47.50 23.70 28.90 47.70 23.40 32.80 35.70 31.50
7. การออมเงิน 27.50 45.90 26.60 27.50 45.90 26.60 32.80 53.70 13.50
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 27.60 46.30 26.10 27.50 46.10 26.40 38.60 47.50 13.90
9. การลดลงของหนี้สิน 28.80 48.60 22.60 28.60 48.90 22.50 32.40 50.10 17.50
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 26.20 46.60 27.20 26.10 46.70 27.20 35.60 51.30 13.10
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 25.10 45.80 29.10 25.00 45.50 29.50 36.80 48.60 14.60
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 26.50 46.40 27.10 26.40 46.50 27.10 34.70 51.70 13.60
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 29.70 47.80 22.50 29.80 48.10 22.10 32.80 54.10 13.10

 

 ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนธันวาคม 2566  มกราคม และกุมภาพันธ์ 2567

รายการ 2566 2567
ธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 49.80 50.10 50.20
2. รายได้จากการทำงาน 43.90 44.30 44.50
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 59.70 59.80 60.40
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 50.60 50.90 51.00
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 50.90 51.00 51.30
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 43.40 43.50 43.70
7. การออมเงิน 41.30 41.60 41.60
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 39.30 39.30 39.20
9. การลดลงของหนี้สิน 48.50 48.70 48.80
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 44.30 44.10 44.10
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 39.10 39.00 38.70
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 35.60 35.50 35.50
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 41.20 41.40 41.50
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม 46.30 46.60 46.80

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกุมภาพันธ์ 2567    

ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนกุมภาพันธ์ 2567 (46.80) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2567 (46.60) และเดือนธันวาคม 2566 (46.30) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่  ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม  รายได้จากการทำงาน  รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว  ความสุขในการดำเนินชีวิต  ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย)  และการลดลงของหนี้สิน  โดยปัจจัยบวกที่สำคัญ คือ ในช่วงวันตรุษจีน ซึ่งตรงกับวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ ชาวไทยเชื้อสายจีนจำนวนมากมีการจับจ่ายใช้สอยในการซื้อเสื้อผ้าสีสดใสเพื่อใส่ในช่วงวันตรุษจีน และซื้ออาหารคาว หวาน ผลไม้ เพื่อนำมามาไหว้บรรพบุรุษ รวมถึงมีการรับประทานอาหารร่วมกันของเครือญาติและคนในครอบครัว อีกทั้ง มีการพาครอบครัวไปท่องเที่ยว จึงทำให้ช่วงวันตรุษจีนปีนี้มีเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจจำนวนมาก  นอกจากนี้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ ในโครงการ Easy-e-receipt มาตรการลดหย่อนภาษีประจำปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ได้สูงสุด 50,000 บาท ซึ่งตั้งแต่ต้นเดือนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ประชาชนจำนวนมากได้ทำการซื้อสินค้า เพื่อจะได้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษี  อีกทั้งภาครัฐได้มีการกระตุ้นภาคท่องเที่ยวจากโครงการ Visa free แก่นักท่องเที่ยวส่งผลให้ภาคท่องเที่ยวมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการจ้างงานและเพิ่มรายได้แก่แรงงานในภาคบริการ  ในส่วนภาคการเกษตรมีแนวโน้มการส่งออกที่ดีขึ้น โดยอุตสาหกรรมเกษตรได้มีการส่งออกสินค้าเกษตร อาทิ ข้าว ผักกระป๋อง ผักแปรรูป ผลไม้สด ผลไม้แห้ง ผลไม้แช่แข็ง  ยางพารา ไก่สด  ไก่แช่แข็ง และสินค้าเกษตรแปรรูป  เป็นต้น

จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับความกังวล ความคาดหวัง และความต้องการของประชาชน มีดังนี้

  1. ปัจจุบันยาเสพติดมีการแพร่ระบาดจำนวนมากในทุกพื้นที่ และขยายเข้าไปถึงเยาวชนในสถานศึกษา เนื่องจากมีราคาถูกและสามารถหาซื้อได้ง่าย ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองมีความเป็นห่วงลูกหลานที่เป็นเยาวชน ทั้งนี้ ประชาชนที่เป็นพ่อแม่ ผู้ปกครองส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับกฎกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2567 ซึ่งระบุว่าการครอบครองยาเสพติดในปริมาณเล็กน้อย เช่น ยาบ้า ไม่เกิน 5 เม็ด  ยาไอซ์ ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม และยาเค ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมนั้น ผู้ครอบครองมีความผิดในฐานะของผู้เสพ ไม่ใช่ผู้จำหน่าย  จึงทำให้เกิดช่องโหว่ของกฎหมายในการเข้าถึงยาเสพติดเป็นไปได้ง่ายขึ้น เนื่องจากไม่เกรงกลัวต่อบทลงโทษ จึงทำให้เยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงอาจจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเพิ่มขึ้นในอนาคต
  2. ประชาชนจำนวนมากที่เป็นหนี้ธนาคาร ได้รับความเดือดร้อนจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารที่อยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ ภาครัฐควรมีมาตรการช่วยเหลือในการลดดอกเบี้ยเงินกู้  เพื่อช่วยบรรเทาภาระหนี้สินของประชาชน
  3. ประชาชนมีความกังวลกับการปรับขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นต้นทุนที่สำคัญของธุรกิจ ทั้งในภาคเกษตรและธุรกิจต่าง ๆ ทั้งนี้ ภาครัฐควรมีมาตรการในการบริหารจัดการและควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ให้ส่งกระทบต่อค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นของประชาชน

                ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 39.70 และ 33.80 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 30.10 และ 34.20  ตามลำดับ ในขณะที่ความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น  คิดเป็นร้อยละ 39.60 , 34.70  และ 32.80 ตามลำดับ

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics