สคร.12 สงขลา เตือน ไอกรนโรคร้าย ไม่ฉีดวัคซีนอันตรายถึงตาย

สคร.12 สงขลา เตือน ไอกรนโรคร้าย ไม่ฉีดวัคซีนอันตรายถึงตาย
Spread the love

สคร.12 สงขลา เตือน ไอกรนโรคร้าย ไม่ฉีดวัคซีนอันตรายถึงตาย

แนะ เด็กอายุ สัปดาห์ขึ้นไป ต้องฉีดวัคซีนป้องกัน หลังพบผู้ป่วยต่อเนื่อง

สคร.12 สงขลา เตือน ไอกรนโรคร้าย ไม่ฉีดวัคซีนอันตรายถึงตาย

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร.12 สงขลาเตือน ระวังอันตรายจากโรคไอกรน ขณะนี้กำลังระบาดในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 2 อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ สะบ้าย้อย และเทพา เน้นย้ำ ผู้ปกครองต้องพาบุตรหลานที่มีอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรน หากมีไข้ต่ำๆ มีน้ำมูก ไอผิดปกติ ไอเป็นชุดๆ ติดต่อกัน 5-10 ครั้ง จนทำให้หายใจไม่ทัน หายใจมีเสียงดังวู๊ป อาจป่วยเป็นโรคไอกรน ให้รีบไปพบแพทย์ด่วน      

นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวว่า สคร.12 สงขลา ได้รับรายงานข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (ตั้งแต่ 13 สิงหาคม 2566 – 6 กุมภาพันธ์ 2567) ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 พบผู้ป่วยโรคไอกรน 639 ราย จำแนกเป็น ปัตตานี 250 ราย ยะลา 245 ราย นราธิวาส 132 ราย และสงขลา 12 ราย เสียชีวิตแล้ว 7 ราย ในจังหวัดนราธิวาส 3 ราย ปัตตานี ราย และยะลา ราย ทั้งนี้ผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรน หรือฉีดแล้วแต่ไม่ครบตามที่กำหนด  โดยโรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (B. pertussis) ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ จาม สัมผัสกับสารคัดหลั่งและเครื่องใช้ของผู้ป่วย ส่วนใหญ่พบการติดเชื้อในเด็ก ซึ่งอาการของโรคไอกรนในเด็กอาจรุนแรงมากจนทำให้เสียชีวิตได้ โดยอาการของโรคจะแสดงหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 6-20 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำๆ มีน้ำมูก และไอเป็นชุดๆ ถี่ๆ ติดกัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่า ทำให้ผู้ป่วยหายใจไม่ทัน และเสียงหายใจดังวู๊ป สลับกับการไอเป็นชุด บางรายอาจเป็นเรื้อรังนาน ถึง เดือน     

สคร.12 สงขลา เตือน ไอกรนโรคร้าย ไม่ฉีดวัคซีนอันตรายถึงตาย

นายแพทย์เฉลิมพล กล่าวเพิ่มเติมว่า หากมีผู้ป่วยไอกรนในบ้าน ควรแยกผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่น โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ยังไม่ฉีดวัคซีน หรือฉีดไม่ครบ เข็ม ต้องสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ ในผู้สัมผัสโรคควรสังเกตอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก อย่างน้อย สัปดาห์ หากมีอาการควรรีบไปพบแพทย์ทันที การระบาดของโรคไอกรนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างในขณะนี้ ผู้ป่วยไม่ได้รับวัคซีน และเด็กมักได้รับเชื้อจากผู้ใหญ่ที่ป่วยและมีอาการไอ เนื่องจากในผู้ใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรงและไม่ได้ไปพบแพทย์ เพื่อรักษา ทำให้มีการระบาด
ในครอบครัว

การฉีดวัคซีนในพื้นที่ระบาด โดยพาบุตรหลานไปฉีดเข็ม เมื่ออายุ สัปดาห์ เข็ม และเข็ม ห่างจากเข็มก่อนหน้า สัปดาห์ เข็ม เมื่ออายุอย่างน้อย 15 เดือน และเข็ม เมื่ออายุครบ ปี สำหรับหญิงตั้งครรภ์มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีน เพื่อให้ลูกในท้องที่คลอดมามีความปลอดภัยจากโรคไอกรน โดยสามารถฉีดได้เมื่ออายุครรภ์ 16 สัปดาห์ขึ้นไป หากมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics