ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนตุลาคม 2566 

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนตุลาคม 2566 
Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนตุลาคม 2566 

                ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

 

              ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนตุลาคม 2566 เปรียบเทียบเดือนกันยายน 2566 และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

 

รายการข้อคำถาม กันยายน 2566 ตุลาคม 2566 คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 28.50 47.60 23.90 28.70 47.70 23.60 36.70 44.40 18.90
2. รายได้จากการทำงาน 27.40 46.10 26.50 27.60 45.80 26.60 34.70 51.70 13.60
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 30.40 48.80 20.80 31.20 47.90 20.90 32.80 54.10 13.10
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 28.60 45.20 26.20 28.90 45.20 25.90 39.70 45.10 15.20
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 27.40 47.50 25.10 27.60 47.80 24.60 37.40 45.20 17.40
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 25.10 46.50 28.40 25.60 46.80 27.60 36.10 52.00 11.90
7. การออมเงิน 26.20 45.10 28.70 26.50 45.60 27.90 36.20 47.60 16.20
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 27.90 46.70 25.40 27.90 46.70 25.40 36.70 51.30 12.00
9. การลดลงของหนี้สิน 27.80 47.90 24.30 27.90 48.50 23.60 34.60 45.20 20.20
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 26.80 47.60 25.60 27.20 46.80 26.00 30.40 48.90 20.70
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 25.50 46.40 28.10 25.10 46.50 28.40 33.50 46.80 19.70
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 27.30 45.70 27.00 27.30 45.70 27.00 34.10 48.20 17.70
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 28.60 47.80 23.60 28.80 48.20 23.00 37.10 42.60 20.30

  

             ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม 2566

รายการข้อคำถาม 2566
สิงหาคม กันยายน ตุลาคม
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 48.20 48.90 49.50
2. รายได้จากการทำงาน 43.30 43.10 43.40
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 58.90 59.10 59.30
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 48.10 48.50 49.90
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 49.90 50.40 50.60
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 42.50 42.20 42.80
7. การออมเงิน 40.80 40.70 41.00
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 39.10 39.50 39.50
9. การลดลงของหนี้สิน 47.40 47.90 48.10
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 44.00 44.30 44.40
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 39.70 40.20 39.60
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 35.20 35.90 35.90
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 36.00 39.60 39.80
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม 44.10 45.10 45.50

          ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนตุลาคม (45.50) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบกับเดือนกันยายน (45.10) และเดือนสิงหาคม (44.10) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน  รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว  ความสุขในการดำเนินชีวิต ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย)  การลดลงของหนี้สิน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยปัจจัยบวกที่สำคัญ คือ มาตรการช่วยเหลือเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน อาทิ การลดค่าไฟฟ้า ราคาน้ำมันดีเซล การพักหนี้เกษตรกรรายย่อย เป็นต้น  อีกทั้ง การส่งออกของภาคการเกษตรมีแนวโน้มในทิศทางที่ดีขึ้น นอกจากนี้การท่องเที่ยวไทยเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูการท่องเที่ยว (High Season) นักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น ทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยและมีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น

         อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมาถึงแม้เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวและเติบโตมากขึ้น แต่การฟื้นตัวโดยส่วนใหญ่ยังอยู่ในเขตเมืองและบริเวณแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ แต่การขยายตัวของเศรษฐกิจยังไม่กระจายอย่างทั่วถึงในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะพื้นที่รอบนอกตัวเมือง ทั้งในเขตชานเมือง  ชนบท และในชุมชนต่าง ๆ ทั้งนี้ ภาครัฐควรมีมาตรการส่งเสริมเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในพื้นที่รอบนอกตัวเมือง เพื่อให้ความเจริญและการเติบโตของเศรษฐกิจกระจายไปสู่ทุกพื้นที่

จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังและความต้องการของประชาชน มีดังนี้

  1. ประชาชนจำนวนมากต้องการเงินดิจิทัล 10,000 บาท และรอคอยความชัดเจนในนโยบายของรัฐบาล  โดยต้องการให้รัฐบาลทำตามที่ได้หาเสียงไว้ และจากการการสอบถาม พบว่า ประชาชนในหลากหลายสาขาอาชีพมีความต้องการใช้เงิน 10,000 บาทที่แตกต่างกัน โดยประชาชนเสนอให้ภาครัฐปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการใช้เงินดิจิทัล ให้มีความหลากหลายและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน อาทิ
  • ผู้ประกอบการขนาดเล็ก หาบเร่ แผงลอย มีความต้องการให้การใช้จ่ายสามารถครอบคลุมถึงการซื้ออุปกรณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ ในการประกอบอาชีพ
  • เกษตรกรมีความต้องการเงินเพื่อซื้อของใช้ที่จำเป็นทางการเกษตร
  • นิสิต นักศึกษา และพนักงานบริษัท ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นและวัยทำงานมีความต้องการใช้จ่ายเงินสำหรับการท่องเที่ยวในประเทศ จึงเสนอแนะให้สามารถใช้เงินได้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวแบบไทยเพื่อไทย
  • ผู้ที่สุขภาพไม่ดี ผู้ป่วย ผู้สูงอายุส่วนหนึ่ง ต้องการใช้จ่ายเงินเพื่อการรักษาพยาบาล
  • ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานกำลังศึกษามีความต้องการใช้เงินสำหรับการซื้ออุปกรณ์การเรียน และจ่ายค่าเล่าเรียน
  • ผู้ที่มีหนี้ต่าง ๆ ส่วนหนึ่งต้องการใช้เงินสำหรับการชำระหนี้ เพราะไม่ต้องการเสียดอกเบี้ย

         จากความต้องการและปัญหาของประชาชนในการประสงค์ที่จะใช้เงิน 10,000 บาทที่แตกต่างกัน จึงเสนอแนะให้รัฐบาลทบทวนนโยบายการแจกเงิน มิใช่จำกัดการซื้อเพียงอาหาร และของใช้เบ็ดเตล็ดที่จำเป็นเท่านั้น แต่ควรให้การใช้เงินดิจิทัล 10,000 บาท มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยให้ครอบคลุมการใช้จ่ายที่หลากหลาย และสามารถใช้จ่ายได้ทั่วทั้งประเทศ เพื่อให้เงินที่แจก 10,000 บาท เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนอย่างแท้จริง

  1. นักวิชาการส่วนหนึ่งได้เสนอให้ภาครัฐประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำแอปใหม่ในการแจกเงิน 10,000 บาท โดยเสนอให้ภาครัฐแจกเงินผ่านแอปเป๋าตัง ซึ่งมีการทำระบบส่วนหนึ่งรองรับไว้แล้ว อีกทั้ง มีผู้ที่ใช้แอปแล้วประมาณ 40 ล้านคน โดยให้ภาครัฐพัฒนาต่อยอดแอปเป๋าตังให้เป็นซุปเปอร์แอป ทั้งนี้ ภาครัฐอาจจะเปลี่ยนชื่อเป็น “Super App” หรือ “Digital Wallet” เพื่อให้สอดคล้องกับคุณลักษณะของแอป
  2. ในช่วงสิ้นปี ประชาชนจำนวนมากจะเดินทางกลับภูมิลำเนา เดินทางท่องเที่ยว และมีการจับจ่ายใช้สอย ทั้งนี้ ภาครัฐควรมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงสิ้นปี ซึ่งเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น

        ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 36.70 และ 34.70 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 32.80  และ 39.70 ตามลำดับ ในขณะที่ความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น  คิดเป็นร้อยละ 37.40  34.10 และ 37.10 ตามลำดับ

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics