ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนธันวาคม 2565              

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนธันวาคม 2565              
Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนธันวาคม 2565              

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

              ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนธันวาคม เปรียบเทียบเดือนพฤศจิกายน และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

 

รายการข้อคำถาม พฤศจิกายน 2565 ธันวาคม 2565 คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 27.70 48.80 23.50 27.90 47.20 24.90 34.70 51.70 13.60
2. รายได้จากการทำงาน 26.90 45.30 27.80 27.20 45.10 27.70 34.60 45.20 20.20
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 28.70 47.70 23.60 28.40 47.50 24.10 36.20 47.60 16.20
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 26.80 45.90 27.30 26.40 46.30 27.30 36.70 51.30 12.00
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 26.70 48.50 24.80 26.90 48.70 24.40 32.60 39.50 27.90
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 26.90 45.50 27.60 26.70 46.80 26.50 37.80 47.50 14.70
7. การออมเงิน 25.60 48.80 25.60 25.80 48.60 25.60 36.10 52.00 11.90
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 28.60 45.50 25.90 28.90 46.50 24.60 35.80 52.10 12.10
9. การลดลงของหนี้สิน 28.30 46.20 25.50 28.10 47.40 24.50 37.40 45.20 17.40
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 26.40 45.50 28.10 26.50 46.70 26.80 32.10 46.30 21.60
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 27.40 42.10 30.50 27.20 42.50 30.30 32.10 50.70 17.20
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 27.80 43.60 28.60 27.40 42.70 29.90 37.10 48.50 14.40
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 29.60 44.50 25.90 29.80 44.70 25.50 36.20 52.10 11.70
                       

   

 ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม 2565

รายการข้อคำถาม 2565
ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 46.30 47.10 47.80
2. รายได้จากการทำงาน 42.50 42.70 43.20
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 56.90 57.20 57.60
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 48.20 48.30 49.40
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 49.60 49.80 49.90
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 41.10 41.30 41.70
7. การออมเงิน 39.90 40.40 40.50
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 39.60 39.50 39.70
9. การลดลงของหนี้สิน 47.70 47.50 47.80
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 43.00 42.90 43.10
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 41.80 41.00 40.70
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 36.10 35.60 35.50
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 33.40 33.50 34.20
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม 43.10 43.70 44.30

ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนธันวาคม 2565 (44.30) ปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2565 (43.70) และเดือนตุลาคม (43.10) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ความสุขในการดำเนินชีวิต ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) การออมเงิน การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ การลดลงของหนี้สิน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยปัจจัยบวกที่สำคัญ ได้แก่  การท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ กลับมามีบรรยากาศคึกคักอีกครั้งในรอบ 2 ปี ทั้งจากคนไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น และชาวต่างชาติที่มีแผนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยในช่วงปลายปี ซึ่งในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ในปีนี้เป็นช่วงเวลาที่คนไทยเดินทางท่องเที่ยวข้ามจังหวัดจำนวนมาก มีทั้งกลุ่มที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวพักค้างในพื้นที่ การเดินทางท่องเที่ยวแบบไปเช้า-เย็นกลับ รวมถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางกลับบ้านเพื่อเยี่ยมญาติ และมีการท่องเที่ยวระหว่างเส้นทางทั้งในและนอกพื้นที่  อีกทั้ง นักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และคาดว่าในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2566 ชาวต่างชาติจะเดินทางเข้ามาประเทศไทยมากขึ้น เพราะหลายจังหวัดเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวของการมาเฉลิมฉลอง Countdown อาทิ ภูเก็ต หาดใหญ่ สมุย เป็นต้น และในปีนี้ทางหน่วยงานรัฐและเอกชนได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในช่วงปลายเดือนธันวาคมในหลายพื้นที่ ซึ่งทำให้การท่องเที่ยวมีความคึกคักมากขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและบริการต่าง ๆ รวมถึงผู้ที่ประกอบอาชีพค้าขายเริ่มฟื้นตัวจากการประกอบกิจการ อีกทั้ง สถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายลงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่กลับมาทำกิจกรรมนอกบ้าน และเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น

จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น  แนวทางการแก้ไข และความคิดเห็นต่อมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมถึงข้อเสนอแนะต่าง ๆ มีดังนี้

  1. ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันมีการปรับลดลง ทำให้ค่าใช้จ่ายและต้นทุนของสินค้าลดลง ส่งผลให้ภาวะเงินเฟ้อลดลงตามไปด้วย แต่ราคาสินค้าและบริการที่มีการปรับราคาเพิ่มขึ้นนั้น ยังคงอยู่ในระดับราคาสูงเช่นเดิม โดยไม่มีการปรับราคาลง จึงเสนอแนะให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องยังคงควบคุมราคาสินค้าและบริการ รวมถึงให้ผู้ประกอบการบางประเภทลดราคาสินค้าและบริการลง เพื่อลดภาระค่าครองชีพของประชาชนให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริง
  2. ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เศรษฐกิจในภาพรวมยังฟื้นตัวไม่เต็มที่มากนัก ผู้ประกอบการส่วนหนึ่งยังไม่ฟื้นตัว ซึ่งส่วนใหญ่มองว่าค่าใช้จ่ายโดยรวมยังคงสูงขึ้น จากภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น จึงเสนอแนะให้รัฐบาลควรมีมาตราการส่งเสริม สนับสนุนการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น โดยการให้สินเชื่อฟื้นฟูกลุ่มธุรกิจ และกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน  เช่น โครงการคนละครึ่ง  เป็นต้น
  3. การเดินทางท่องเที่ยวและจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุที่จะนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน จึงเสนอแนะให้ภาครัฐควรมีมาตรการดูแลป้องกันที่สร้างสรรค์และเป็นรูปธรรม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะทำให้ประชาชนเกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

                ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 34.70 และ 34.60 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 36.20 และ 36.70 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 32.60   37.10 และ 36.20 ตามลำดับ

                สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการได้รับจากภาครัฐเป็นของขวัญปีใหม่ คือ 1) โครงการคนละครึ่งเฟส 6  2) การลดค่าไฟฟ้า และสาธารณูปโภค และ 3) การเพิ่มเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุ  ในส่วนของปัญหาที่ประชาชนต้องการได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ  คือ 1) การช่วยเหลือและเยียวยาให้กับครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในภาคใต้  2) การเพิ่มรายได้ให้กับผู้ที่มีรายได้น้อย  และ 3) การช่วยเหลือภาระหนี้สินของประชาชน 

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics