ข้าวทนเค็ม

ข้าวทนเค็ม
Spread the love

ข้าวทนเค็มมาแล้วจ้า…….

เป็นการทดลองปลูกข้าวสายพันธุ์ทนความเค็มในแปลงสาธิตจริงพื้นที่ หมู่ 8 บ้านท่าหิน ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ทีมวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.มีชัย เซี่ยงหลิว และ ดร.โจนิซ่า แอล เซี่ยงหลิว ร่วมกับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ดร.ณัฐพล แก้วทอง และ ผศ.ชยณัฐ บัวทองเกื้อ และตัวแทนเกษตรอำเภอสทิงพระ นางสาวจริยา สุวรรณรัตน์ พร้อมด้วยตัวแทนกลุ่มเกษตรกรบ้านท่าหิน นายพรชัย ก่งเซ้ง

ข้าวทนเค็ม
เมื่อวันอังคารที่ 29 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมาได้ลงพื้นที่ปักดำกล้าข้าวทนเค็มในแปลงสาธิตทดลอง พื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ หมู่ที่ 8 ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ประกอบด้วยพันธุ์ข้าวทั้งหมด 9 สายพันธุ์ ที่มีอายุต้นกล้าประมาณ 1 เดือน ได้แก่

ข้าวเบอร์ที่ 1 เป็นข้าวทนแล้ง ต้านทานโรคใบไหม้ ,

ข้าวเบอร์ที่ 2 , 3 , 4 เป็นข้าวทนเค็มต้านทานโรคใบไหม้

ข้าวเบอร์ที่ 5 , 6 เป็นข้าวทนน้ำท่วม ต้านทานโรคใบไหม้ โรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดน,

ข้าวเบอร์ที่ 7 , 9 เป็นข้าวไม่ทนเค็ม,

และข้าวเบอร์ที่ 8 เป็นข้าวทนเค็ม ซึ่งหลังจากนี้อีกประมาณ 60 – 70 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อทำการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวทนเค็มที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ต่อไป

ข้าวทนเค็ม
ในปัจจุบันบริเวณพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระประสบปัญหาน้ำเค็มลุกตัว ทำให้เกษตรกรไม่สามารถนำน้ำมาใช้เพื่อการเกษตรได้ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ และผลผลิตลดต่ำลง ทางทีมวิจัยได้เล็งเห็นถึงสภาพปัญหาในพื้นที่ จึงได้ร่วมกันทดลองพัฒนาสายพันธุ์ข้าว พร้อมทำแปลงสาธิตปลูกข้าวทนเค็มในพื้นที่ของเกษตรกร บนเนื้อที่ประมาณ 1 งาน เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับเกษตรกรที่มีปัญหาน้ำมีค่าความเค็มแต่ต้องการปลูกข้าวในพื้นที่ และในอนาคตพื้นที่นาร้างบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ อาจสามารถนำกลับมาเป็นพื้นที่นาข้าวได้อีกครั้ง และสามารถเพิ่มความมั่นคงทางอาหารและรายได้ให้กับเกษตรกรด้วย

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics