ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมกราคม 2565      

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมกราคม 2565      
Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมกราคม 2565               

                ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

 

              ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมกราคม 2565 เปรียบเทียบ

เดือนธันวาคม 2564 และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

 

รายการข้อคำถาม ธันวาคม 2564 มกราคม 2565 คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 25.80 46.70 27.50 25.40 46.10 28.50 34.50 49.40 16.10
2. รายได้จากการทำงาน 25.30 45.60 29.10 25.10 44.70 30.20 34.80 50.30 14.90
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 25.90 46.30 27.80 26.40 45.20 28.40 32.80 35.70 31.50
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 35.90 46.70 17.40 34.30 45.60  20.10 35.60 45.80 18.60
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 26.70 48.50 24.80 26.40 47.80 25.80 36.50 50.40 13.10
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 26.90 45.60 27.50 26.70 45.70 27.60 35.40 48.30 16.30
7. การออมเงิน 26.50 46.80 26.70 26.20 47.30 26.50 37.10 48.50 14.40
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 32.60 45.30 22.10 31.30 45.70 23.00 33.50 49.40 17.10
9. การลดลงของหนี้สิน 30.70 48.10 21.20 30.40 47.60 22.00 30.10 54.60 15.30
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 25.60 45.60 28.80 25.20 45.30 29.50 34.20 57.20 8.60
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 28.20 47.40 24.40 28.30 45.50 26.20 30.30 48.60 21.10
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 27.20 45.10  27.70 27.40 45.30 27.30 34.60 45.20 20.20
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 31.70 47.70 20.60 30.80 46.40 22.80 32.10 50.70 17.20
                       

 

 ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนพฤศจิกายน ธันวาคม 2564 มกราคม 2565

รายการข้อคำถาม 2564 2565
พฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 42.40 42.70 42.30
2. รายได้จากการทำงาน 39.00 39.20 38.70
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 49.80 49.90 52.20
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 39.80 40.30 39.70
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 47.30 47.40 47.00
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 38.50 38.80 38.40
7. การออมเงิน 39.80 39.90 39.60
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 44.10 43.60 42.30
9. การลดลงของหนี้สิน 49.40 49.30 49.20
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 35.30 35.80 35.20
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 47.70 47.50 47.40
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 36.60 36.50 36.80
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 32.70 32.90 32.60
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม 41.60 42.20 41.30

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมกราคม 2565      

                ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมกราคม 2565 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนมกราคม 2565 (41.30) ปรับตัวลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2564 (42.20)  เดือนพฤศจิกายน (41.60) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ความสุขในการดำเนินชีวิต ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) การออมเงิน การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ การลดลงของหนี้สิน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การแก้ปัญหายาเสพติด และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยปัจจัยลบจากสถานการณ์ค่าครองชีพที่ทยอยปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสินค้าในหมวดอาหาร ค่าเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า ค่าเดินทาง ฯลฯ ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของประชาชนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน  ซึ่งปัญหาข้าวของแพงที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของประชาชนเป็นอย่างมาก ทำให้ประชาชนต้องปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย โดยเลือกใช้จ่ายสินค้าเท่าที่จำเป็น ลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย ลดกิจกรรมสังสรรค์ และหันไปเลือกใช้สินค้าทดแทนที่ราคาถูกลง เช่น กลุ่มเนื้อสัตว์ที่ถูกกว่า สินค้ามือสอง หรือสินค้าแบรนด์รอง เป็นต้น ซึ่งแนวโน้มปัญหาค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้นนั้น อาจจะยังคงแพงต่อเนื่องมากกว่า 1 ปี  ดังนั้น ในระยะสั้น ภาครัฐควรออกมาตรการช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพของผู้บริโภคอย่างเร่งด่วน รวมถึงช่วยลดต้นทุนของภาคธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจสามารถตรึงราคาสินค้าให้ได้มากที่สุด อีกทั้ง ภาครัฐควรออกมาตรการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค และกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคให้เพิ่มขึ้น เพื่อให้เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง  ในระยะยาว ภาครัฐควรเร่งแก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา และรีบเร่งในการแก้ปัญหาตั้งแต่เนิ่น ๆ อย่าปล่อยให้ปัญหาลุกลามปานปลาย นอกจากนี้ ภาครัฐควรรับฟังปัญหาโดยตรงจากประชาชน และสั่งการให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วนและทันท่วงที รวมถึงไม่ปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้นซ้ำซาก ยืดเยื้อ จนเกิดความเสียหายในวงกว้าง ยากต่อการแก้ไขให้เสร็จสิ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น

ท่ามกลางความเสี่ยงที่มีมากขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในประเทศไทย ซึ่งสามารถแพร่เชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลต้า  อีกทั้งยังเป็นเชื้อที่ต่อต้านวัคซีน และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้  ถึงแม้ความรุนแรงของสายพันธุ์โอมิครอนจะมีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์อื่น แต่ประชาชนจำนวนมากก็ยังคงมีความกังวลต่อการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน รวมถึงการกลายพันธุ์และการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ B.1.1.529 ที่เริ่มพบมากขึ้นในทวีปแอฟริกา และยังคงมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม ซึ่งนักวิชาการทางด้านสาธารณสุขส่วนหนึ่งคาดว่าไวรัสอาจจะดื้อต่อวัคซีนและแพร่กระจายติดได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อาจส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย  ดังนั้น ภาครัฐควรมีมาตรการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยจากเชื้อโควิด-19 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และนักท่องเที่ยวในประเทศ เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้แก่ภาคธุรกิจการท่องเที่ยว และสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น  แนวทางการแก้ไข และความคิดเห็นต่อมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมถึงข้อเสนอแนะต่าง ๆ มีดังนี้

  1. จากค่าครองชีพที่ทยอยปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีแนวโน้มว่าราคาสินค้าอุปโภคบริโภคน่าจะยังคงสูงเช่นนี้อีกหลายเดือน ส่งผลให้ประชาชนที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลางได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ซึ่งประชาชนมองว่า สาเหตุดังกล่าวเกิดจากการแก้ปัญหาของภาครัฐที่ผิดพลาด ล่าช้า และมักแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทั้งนี้ ประชาชนเสนอให้ภาครัฐและข้าราชการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน “จากทำงานเชิงรับ เป็นการทำงานเชิงรุกมากขึ้น” โดยมีช่องทางการเปิดรับปัญหาโดยตรงจากประชาชน รวมถึงรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องควรรีบสั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน และรายงานตรงต่อรัฐมนตรีภายในเวลาที่กำหนด
  2. ประชาชนมีความกังวลการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มจังหวัดที่เริ่มมีกิจกรรมธุรกิจและการท่องเที่ยว รวมทั้งความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของโควิดสายพันธุ์ B.1.1.529 ที่กระจายไปแล้วหลายประเทศ ดังนั้น ภาครัฐควรมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างจริงจังและสร้างความตระหนักให้ประชาชนเข้มงวดในการดูแลป้องกันตนเอง ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 อย่างเข้มงวด
  3. ประชาชนส่วนหนึ่งเสนอให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีคำสั่งให้สถานศึกษาประกาศยกเลิกคำสั่งไม่ให้เด็กอายุ 5-11 ปี ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนห้ามเข้าเรียนในห้องเรียน เนื่องจากผู้ปกครองของเด็กส่วนหนึ่งมีความกังวลว่าเด็กในช่วงอายุดังกล่าว อาจจะเกิดอันตรายจากการฉีดวัคซีนได้ และไม่เห็นด้วยกับมาตรการของสถานศึกษา เพราะเป็นการละเมิดสิทธิ์ของเด็กในการเข้าถึงการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะและพัฒนาการของเด็ก โดยเสนอให้สถานศึกษาใช้วิธีอื่นที่เหมาะสมและปลอดภัยกับเด็กทุกคนในการมาเรียนในชั้นเรียน

               

               

 

                ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 34.50 และ 34.80 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 32.80 และ 35.60 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 36.50

34.60 และ 32.10 ตามลำดับ

                ปัจจัยที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ามีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันมากที่สุด คือ ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ36.90 รองลงมา คือ การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์             โอมิครอน และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ คิดเป็นร้อยละ 24.50 และ 22.80 ตามลำดับ ขณะที่ปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ารัฐบาลควรรีบดำเนินการและให้ความช่วยเหลือ อันดับแรก คือ การแก้ปัญหาค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น รองลงมา คือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ  การเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ  และการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกอบการ ตามลำดับ

 

 

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics