ค่าเหยียบแผ่นดิน ประเทศอื่นเก็บเท่าไหร่กัน?

Spread the love

จากกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายเรียกเก็บเงิน “ค่าเหยียบแผ่นดิน” หรือ “ภาษีนักท่องเที่ยว” เป็นค่าบริหารจัดการค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวที่เรียกเก็บจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเมื่อเดินทางเข้ามาสู่ประเทศ เปรียบเสมือนค่าบัตรผ่านเข้าสู่ประเทศไทยที่จะต้องจ่ายเพิ่มเติมจากค่าใช้จ่ายปกติ โดยของไทยจะเริ่มเก็บนักท่องเที่ยวต่างชาติคนละ 300 บาทตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นไปนั้น

วันนี้ “เดลินิวส์” ขอพามาดูค่าเหยียบแผ่นดินของประเทศต่างๆ กันบ้างว่า เขาคิดกันแบบไหน มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่กันบ้าง?

สหรัฐอเมริกา : หลายๆ รัฐในสหรัฐอเมริกา มีการเก็บภาษีการเข้าพัก ทั้งในโรงแรมขนาดเล็กและโรงแรมขนาดใหญ่ โดยมีอัตราการเรียกเก็บที่แตกต่างกัน ซึ่งมีอัตราเรียกเก็บที่สูงที่สุดถึง 17% เลยทีเดียว

อิตาลี : ค่าธรรมเนียมของกรุงโรม มีตั้งแต่ 3 ยูโรถึง 7 ยูโร ( ประมาณ 110 บาท ถึง 260 บาท)

ญี่ปุ่น : มีการเรียกเก็บภาษีซาโยนาระ โดยจะมีค่าธรรมเนียมประมาณ 1,000 เยน (300 บาท) ที่นักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายเมื่อเดินทางออกนอกประเทศ

เยอรมนี : เก็บภาษี 5 ยูโร (ประมาณ 190 บาท) ต่อคนต่อวัน หรือ 5% ของราคาบิลโรงแรม

สเปน : ค่าธรรมเนียม 4 ยูโร (ประมาณ 150 บาท) ต่อวันต่อคน นอกจากนี้สถานที่บางแห่งอาจเรียกเก็บเงินพิเศษสำหรับผู้มาเยือน โดยในบาร์เซโลนา ผู้เข้าชมจะถูกเรียกเก็บเงินสูงถึง 2.50 ยูโร (ประมาณ 95 บาท) ต่อวัน

© สนับสนุนโดย เดลินิวส์

กรีซ : ภาษีนักท่องเที่ยว อิงตามจำนวนดาวของโรงแรมหรือจำนวนห้องที่เช่า มีตั้งแต่ 0.50 ยูโรถึง 4 ยูโร (ประมาณ 19 บาท ถึง 152 บาท) ต่อห้อง

สวิตเซอร์แลนด์ : ภาษีที่ถูกเรียกเก็บของนักท่องเที่ยวจะแตกต่างกันออกไปตามโลเคชั่นของที่พัก ยิ่งที่พักเล็กก็จะยิ่งถูกเก็บในราคาถูกลง โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ 2.50 ฟรังก์สวิส (ประมาณ 90 บาท)

ออสเตรีย : เก็บภาษีที่พักค้างคืน 3.02% สำหรับบิลโรงแรมต่อคนต่อคืน

ภูฏาน : ภาษีนักท่องเที่ยวสำหรับการเยี่ยมชมภูฏานคือค่าธรรมเนียมคงที่ 200 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6,600 บาท) หรือ 250 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน (ประมาณ 8,300 บาท) ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาใดของปี

บัลแกเรีย : ภาษีนักท่องเที่ยว เก็บตั้งแต่ 0.20-3 เลฟ (ประมาณ 4-58 บาท) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเขตเทศบาล

มาเลเซีย : เก็บภาษีนักท่องเที่ยว 10 ริงกิตมาเลเซีย (ประมาณ 81 บาท) ต่อคนต่อคืน

อินโดนีเซีย : เกาะบาหลี เก็บภาษีนักท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการ 10 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 330 บาท) นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังกำหนดภาษีขาออกซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละสนามบิน

© สนับสนุนโดย เดลินิวส์

สำหรับ ประเทศไทย มีการแจกแจงการใช้เงินค่าเหยียบแผ่นดินจำนวน 300 บาท ต่อคนไว้ดังนี้

1.เก็บ 50 บาท เพื่อนำไปซื้อประกันภัยสำหรับนักท่องเที่ยว

2.ส่วนที่เหลือ 250 บาท นำไปพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศ เช่น การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เป็นต้น

สำหรับรูปแบบการเรียกเก็บเงินค่าเหยียบแผ่นดินนั้น ทาง ททท. ได้ประสานกับทางสายการบินต่างๆ ให้จัดเก็บเงินส่วนนี้รวมกับค่าตั๋วเครื่องบินสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งคาดว่าน่าจะดำเนินการเรียบร้อยทุกสายการบินในช่วงเดือนมีนาคม 2565 นี้ นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่า การเก็บค่าเหยียบแผ่นดินนี้จะมีรายได้ในส่วนนี้เข้าสู่ประเทศไทยประมาณ 1.5 พันล้านบาทอีกด้วย..

CR/เดลินิวส์ 

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics