มรภ.สงขลา เดินหน้าปั้นหลักสูตรใหม่ “ประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม”

Spread the love

มรภ.สงขลา เดินหน้าปั้นหลักสูตรใหม่ ประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม
ทันสมัย สอดรับความสนใจคนรุ่นใหม่ ตอบโจทย์ความต้องการชุมชน

 

                มรภ.สงขลา เดินหน้าปั้นหลักสูตรใหม่ สาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม ชูจุดเด่นทันสมัย สอดรับพฤติกรรมและความสนใจคนรุ่นใหม่ ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน

                จากเป้าหมายการนำพาประเทศเข้าสู่โมเดล ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0)” ที่มุ่งปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ เศรษฐกิจ ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” รูปแบบเศรษฐกิจจะเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตปริมาณมากและใช้แรงงานราคาถูก ไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมที่พึ่งพาความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในปัจจุบัน มี กระทรวง ที่มีนโยบายเกี่ยวเนื่องกับการนำประวัติศาสตร์มาใช้ขับเคลื่อนงานในภาคส่วนต่าง ๆ คือ 1. กระทรวงศึกษาธิการ 2. กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ 3. กระทรวงวัฒนธรรม

ล่าสุด นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ติดตามความคืบหน้าการบรรจุหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์กลับมาเป็นวิชาบังคับในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกระทรวงศึกษาธิการรายงานการดำเนินการเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เบื้องต้นกำหนดจัดทำหลักสูตรเป็นเฉพาะช่วงชั้น ได้แก่ หลักสูตรชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา ส่วนระดับอุดมศึกษายังไม่ได้ระบุให้เป็นหนึ่งในวิชาบังคับเรียน สอดคล้องกับนโยบายการอ่าน การเขียน เรียนประวัติศาสตร์ผ่านการสื่อสารร่วมสมัย ซึ่ง ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. นำร่องแถลงข่าวเปิดตัวไปเมื่อเดือนธันวาคม 2562

สำหรับกระทรวงวัฒนธรรมแสดงเจตจำนงสนับสนุนข้อมูลจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร เน้นเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ให้เกิดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ให้เห็นถึงคุณูปการ และลำดับเหตุการณ์ ความเป็นมาของประวัติศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงของแต่ละยุคสมัยเพื่อนำมาสู่การพัฒนา และเจริญเติบโตของประเทศชาติ ซึ่งไม่เน้นให้เด็กท่องจำวัน เวลา ปี พ.ศ. ดังเช่นในอดีต กำหนดกรอบเวลาการบรรจุเนื้อหาวิชาประวัติศาสตร์ไว้ในปีการศึกษา 2564 แต่ยังไม่ได้ระบุภาคการศึกษาที่ชัดเจน (ที่มาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันพฤหัสบดีที่ มกราคม 2564 หน้า 7)

นอกจากนี้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการ อว. บรรยายพิเศษในหัวข้อ พระมหากษัตริย์กับความเป็นไทย” ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติฯ มรภ.สงขลา เมื่อวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2563 มอบนโยบายเกี่ยวกับทิศทางอุดมศึกษาไทยกับการปรับตัวของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งมีภารกิจหลักในการพัฒนาท้องถิ่นตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ดังนั้น มาตรวัดความสำเร็จที่แท้จริงจึงเป็นการทำงานแก้ปัญหาให้กับท้องถิ่น และอยากให้มหาวิทยาลัยราชภัฏใช้ประโยชน์จากความรู้ความสามารถของคณาจารย์และนักวิจัยให้มาก ดึงจุดแข็งจากการทำงานลงพื้นที่ใกล้ชิดกับชุมชน เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่น รวมทั้งเปิดโอกาสให้อาจารย์ราชภัฏได้มีบทบาทในการทำงานเพื่อท้องถิ่นมากขึ้น เพราะจุดเด่นด้านความเข้าใจพื้นที่และความลุ่มลึกในประวัติศาสตร์ของชุมชนของเมือง เป็นปัจจัยในการเข้าถึงปัญหา มองเห็นปัญหาและแนวทางแก้ไข สามารถบูรณาการทรัพยากร ระดมผู้รู้และองค์ความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่น ให้ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

จากทิศทางที่ปรากฏ สอดรับกับการดำเนินงานของคณะทำงานพัฒนาหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม (หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2564) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ผู้ช่วยศาสตราจารย์วสิน ทับวงษ์ และคณะทำงานฯ กำลังขับเคลื่อนการพัฒนาหลักสูตรใหม่เพื่อมุ่งหมายให้เป็นหลักสูตรที่เน้น Hybrid Skill เชื่อมโยงสิ่งใหม่ผสานเข้ากับทักษะประวัติศาสตร์ที่เป็นฐานเพื่อเพิ่มคุณค่า บูรณาการองค์ความรู้ ก่อให้เกิดความเชี่ยวชาญใหม่ ดังนั้นบัณฑิตที่หลักสูตรฯ ผลิตจะมีทักษะที่ผสมผสานแบ่งออกเป็น 1) Hybrid Technical ซึ่งมีทั้งข้อมูลประวัติศาสตร์ (Historical Data) และสามารถใช้วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Computer Science & I.T.)  2) Hybrid Creative & Power Skills ที่จะประยุกต์องค์ความรู้ประวัติศาสตร์ไปสู่การสร้างสรรค์ต่อยอดเพื่อการสื่อสารกับสังคมในมิติ/แพลทฟอร์มต่างๆ ก่อให้เกิดหลักสูตรความรู้แบบบูรณาการที่เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจ-สังคมไทยและนานาชาติ

การพัฒนาหลักสูตรฯ อาศัยศักยภาพของบุคลากรในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งมีความร่วมมือทางวิชาการกับสาขาวิชาการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ เน้นการบูรณาการศาสตร์ระหว่างประวัติศาสตร์กับศาสตร์อื่นที่จำเป็น โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการออกแบบ คอมพิวเตอร์ ดิจิทัลกราฟฟิกที่จำเป็น สำหรับสร้างหลักสูตรที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ตลาดแรงงาน ยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา และยุทธศาสตร์ชาติ

อาจารย์กัลย์วดี เรืองเดช หนึ่งในคณะทำงานฯ ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม ยังตอบสนองยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ดังที่สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นิยามว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการสร้างและใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และทรัพย์สินทางปัญญา ที่เชื่อมโยงกับพื้นฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ของสังคม เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตสินค้าและบริการใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังผลิตบัณฑิตและพัฒนากำลงคนให้เป็นนักปฏิบัติมีศักยภาพสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ โอกาสของบัณฑิตที่สามารถเป็นผู้ประกอบการหรืออาชีพอิสระ รวมถึงสามารถปฏิบัติงานในองค์กรรัฐและเอกชน เป็นหลักสูตรที่มีโครงการความร่วมมือ ซึ่งสนับสนุนพันธกิจของมหาวิทยาลัยตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการฯ (MOU) และ บันทึกข้อตกลงเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการฯ (MOA)

หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ดำเนินงานตามความต้องการของพื้นที่และผู้ใช้ประโยชน์ผ่านพันธกิจหลักและข้อตกลงความร่วมมือถึง ฉบับ คือ

1. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (เพื่อการพัฒนาเมืองเก่าสงขลา) ระหว่าง 1. จังหวัดสงขลา 2. เทศบาลนครสงขลา 3. สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา 4. ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม 5. บริษัท สงขลา เฮอริเทจ จำกัด 6. แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 7. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) กับ 8. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา นำโดยหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ลงนามเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563

บันทึกข้อตกลงเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่าง 1. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2. มหาวิทยาลัยทักษิณ 3. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 4.มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 5. มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตยะลา 6. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 7.มหาวิทยาลัยฟาฏอนี 8. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 9. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 10. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 11. โรงเรียนเสนาธิการทหารบก 12. กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 13. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า 14. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 15.มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ลงนามวันที่ 15 กันยายน 2563

สาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม จึงมุ่งผลิตบัณฑิตที่สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย ทั้งงานที่อยู่ภายใต้สังกัด ภาครัฐ เอกชน และประกอบอาชีพอิสระ หรือเป็นอาชีพเสริมจากงานประจำ โดยมีต้นทุนจากทักษะความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ผนวกกับความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารสังคม ซึ่งในปัจจุบันมีช่องทาง/แพลตฟอร์มการสื่อสารร่วมสมัยหลากหลาย เพื่อบูรณาการศาสตร์ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ตลาดแรงงาน ยุทธศาสตร์จังหวัด ไปจนถึงยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฯ และตระหนักถึงความสอดคล้องกับทักษะพื้นฐานตลอดจนความสนใจของผู้เรียนในยุคปัจจุบัน 

 

ในระหว่างศึกษา นักศึกษามีโอกาสได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และกรณีศึกษาเพื่อการสื่อสารสังคมเชิงพื้นที่ จากวงเล็กที่เปรียบเสมือนไข่แดงหรือจุดกึ่งกลางของเป้าลูกดอก คือ เมืองเก่าสงขลา ที่สามารถเข้าถึงและเรียนรู้ได้สะดวก มีโอกาสจากภาคีความร่วมมือทางวิชาการและเป็นพื้นที่สำคัญสร้างสรรค์งานวิชาการที่บูรณาการเพื่อรับใช้สังคมซึ่งสอดรับกับยุทธศาสตร์ฯ จังหวัด ขณะที่เชื่อมโยงแล้วขยายวงออกไปสู่พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ภาคใต้ และภูมิภาคอื่นของประเทศ รวมทั้งบริบทในต่างประเทศ บัณฑิตของหลักสูตรจะมีองค์ความรู้ที่หลากหลาย รอบรู้และรู้รอบ พร้อมก้าวสู่การทำงานในหลายมิติ

อนึ่ง หนึ่งในยุทธศาสตร์ของจังหวัดสงขลาที่ขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาสงขลาสู่เมืองมรดกโลก (จากการประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563) ยังเปิดโอกาสให้บุคลากรของหลักสูตรฯ สามารถสร้างสรรค์ผลงานวิชาการและรับการสนับสนุนการศึกษาวิจัยที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ดังกล่าว อันถือเป็นบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาที่เน้นการรับใช้พื้นที่ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น รวมถึงผลงานวิชาการเหล่านั้นจะเป็นพลวปัจจัย (ปัจจัยอันมีกำลัง) เพื่อพัฒนาตนเองเข้าสู่การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในระดับที่สูงขึ้น อีกทั้งผลงานของนักศึกษาในหลักสูตรจะเป็นพลังของเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาสงขลาสู่เมืองมรดกโลก ทั้งนี้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการฯ (MOU) และบันทึกข้อตกลงเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการฯ (MOA) จะเป็นเครื่องมือสำคัญของการดำเนินงานหลักสูตรโดยอาศัยความร่วมมือกันอย่างเป็นทางการในด้านต่าง ๆ ตามพันธกิจหรือกรอบความรับผิดชอบของแต่ละองค์กร

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics